NKB จัดสัมมนาเนื้อวากิว รู้จักราชาเนื้อวัวจากรายการทีวีแชมป์เปี้ยน

ข่าวบันเทิง Monday January 20, 2014 16:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 ม.ค.--ดาต้า แอนด์ คอมมูนิค เอ็กซ์เพรส งานสัมมนาเนื้อวากิวที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นณ กรุงเทพมหานครวันพุธที่ 15 – วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม 2557โดย ราชาเนื้อวัวจากรายการทีวีแชมป์เปี้ยนคุณ อิชิฮาระ ทาคาชิ (Ishihara Takashi) กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงของรัฐบาลญี่ปุ่น (Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries: MAFF) ได้มอบหมายให้บริษัท NKB จัดโครงการเผยแพร่ “เนื้อวากิว” ราชาแห่งเนื้อจากญี่ปุ่นให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยมากขึ้น โดยหวังให้สื่อมวลชนเป็นผู้ช่วยเผยแพร่ให้ผู้บริโภคได้รับรู้ถึงคุณภาพของเนื้อวากิวแท้ๆ และวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นไปพร้อมๆ กัน คุณอิชิฮาระ เป็นนักวิจารณ์เกี่ยวกับ ละคร ดนตรี Theater planner นักวิจารณ์อาหาร และ food planner ทั้งยังเป็นทูตประชาสัมพันธ์ด้านอาหารให้กับเมืองโอนัน จังหวัดชิมาเนะ อีกด้วย เมืองโอนัน นั้นมีฉายาว่าเป็น เมืองแห่ง Gourmet Grade A ซึ่งคุณอิชิฮาระ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้ทุกๆ เมืองในโลกนี้เป็นเมืองแห่งอาหารเช่นกัน คนญี่ปุ่นรับประทานเนื้อวัวมาตั้งแต่สมัยเมจิ และเริ่มแพร่หลายมากในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื้อวัวเข้าได้ดีกับวัตถุดิบต่างๆของประเทศญี่ปุ่น เช่น ข้าว น้ำตาล โชวยุ เมื่อรัฐบาลเปิดเสรีธุรกิจเนื้อวัวในปีค.ศ.1991 การแข่งขันทางธุรกิจทำให้เนื้อวัวพัฒนาคุณภาพอย่างมาก การเลี้ยงดูวัวที่ดีของญี่ปุ่นมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก บางฟาร์มมีเสื้อกันหนาว และตั้งชื่อให้วัวแต่ละตัวโดยเฉพาะการเลี้ยงดูวัวในฟาร์มจะเริ่มเลี้ยงลูกวัวที่มีอายุตั้งแต่ 7 – 10 เดือน วัวจะได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการซึ่งได้รับการคัดสรรเป็นพิเศษเพื่อให้เนื้อวัวมี Mable (ชั้นไขมันที่แทรกตัวอยู่ในชิ้นเนื้อด้านใน ซึ่งเป็นลายที่สวยงาม คล้ายหินอ่อน) ซึ่งวิธีการเลี้ยงดูอย่างพิถีพิถันแบบตัวต่อตัวนี้เองที่ทำให้เนื้อวากิวของญี่ปุ่นมีรสชาติดีที่สุดในโลก เนื้อวัวในประเทศญี่ปุ่นมีหลายพันธุ์ โดยพันธุ์ที่แพร่หลายมากคือพันธุ์ Holstein ซึ่งเป็นพันธ์ที่ให้น้ำนมมาก่อน แต่เนื้อวากิวมีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆ แต่แตกเป็นเนื้อวากิวโดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น จะมี 4 สายพันธุ์ คือ พันธุ์เขาสั้น (Japanese Shorthorn) พันธุ์ขนสี (Japanese Polled) พันธุ์ขนสีน้ำตาล (Japanese Brown) และพันธุ์ขนดำ (Japanese Black) ซึ่งมีมากที่สุด การจัดอันดับเนื้อวากิวมาจากคณะกรรมการสมาคมมาตรฐานที่มีชื่อว่า Japan Meat Grading Association ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลญี่ปุ่น คณะกรรมตัดสินคุณภาพของวากิวจาก 2 องค์ประกอบ คือ คุณภาพของเนื้อ การคัดเลือกคุณภาพวากิวมีมาตรฐานที่ต้องตรวจดังนี้ คือ มาเบิ้ล หรือไขมันสีขาวที่แทรกอยู่ในเนื้อวากิว สี และความเงางามของเนื้อวัว ความแน่นของเนื้อวัว และองค์ประกอบสุดท้ายคือ สีของมาเบิ้ลที่แทรกอยู่ในเนื้อวากิว อีกองค์ประกอบหนึ่งคือสัดส่วนของเนื้อกับชั้นไขมัน องค์ประกอบเหล่านี้ได้รับคะแนนเป็นตัวเลขตั้งแต่ 1 คือดีน้อย ไปจนถึงเลข 5 คือดีมาก ในขณะที่สัดส่วนของเนื้อกับชั้นไขมันคณะกรรมการจะให้คะแนนเป็นตัวอักษรจาก A คือดีที่สุด ไปจนถึง C คือได้รับคะแนนน้อยที่สุด อาจเคยได้ยินมาแล้วว่าประเทศออสเตรเลีย และที่อื่นมีการเลี้ยงวากิวด้วยเช่นกัน แต่วากิวดังกล่าวเป็นคนละสายพันธุ์กับประเทศญี่ปุ่น วิธีการขุนโคของประเทศญี่ปุ่นดังที่ได้กล่าวมาแล้วคือการเลี้ยงแบบตัวต่อตัวเอาใจใส่ในทุกรายละเอียดในขณะที่ประเทศอื่นๆปล่อยให้โคหากินเองตามทุ่งซึ่งเป็นการเลี้ยงแบบเป็นกลุ่ม การปรุงอาหารจากส่วนต่างๆของเนื้อวัว 1. เนื้อส่วนบริเวณหัวไหล่ เนื้อส่วนหัวไหล่ : แข็งเล็กน้อย สามารถทำเนื้อย่างได้ เนื้อสันไหล่ : แข็งเล็กน้อย สามารถทำสเต็ก และสุกียากี้ 2. เนื้อส่วนสันนอก : สเต็ก อาหารประเภทย่าง ชาบูชาบู เนื้อซี่โครง เนื้อส่วนสันนอก เนื้อสันใน (ไม่เหมาะกับชาบูชาบู) 3. เนื้อบริเวณต้นขา เหมาะสำหรับทำอาหารว่างสไตล์ญี่ปุ่น เช่นซูชิ เนื้อส่วนที่อยู่ระหว่างสันนอก และสะโพก : สเต็ก เนื้อย่าง เนื้อส่วนสะโพกใน : สเต็ก เนื้อย่าง เนื้อส่วนสะโพกนอก : สเต็ดสไตล์ญี่ปุ่น เนื้อทอด เนื้อย่าง เนื้อส่วนที่อยู่ระหว่างสะโพกกับน่องขา : สเต็ก เนื้อย่าง และอื่นๆ 4. บริเวณส่วนอกถึงท้อง : เนื้อย่าง ข้าวหน้าเนื้อ สตูว์ เนื้อส่วนท้อง : เสื้อร้องไห้ 5. ส่วนอื่นๆ เนื้อส่วนคอ : สตูว์ แกงกะหรี่ญี่ปุ่น เนื้อบด เนื้อส่วนน่องขา : น้ำซุป สตูว์ เนื้อบด สตูว์มันฝรั่ง และเนื้อ เนื้อตุ๋น หมายเหตุ: เนื้อวากิวเกรด A4 จากจังหวัดนางาซากิยังไม่มีจำหน่ายที่ซุปเปอร์มาเก็ตทั่วไป แต่มีจำหน่ายที่บริษัท ไทย โอโออิ ยามาโมโต้ จำกัด (หากสั่งตั้งแต่ 2 กิโลกรัมเป็นต้นไป) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติ่ม คุณ วิมลสิริ เกียรติชีระนันท์ (หญิง)คุณ รัศมี แสนบุญ (มะดัน) โทร 0-2392-2598, 0-2381-7119

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ