สัมมนาสร้างองค์ความรู้เสริมความเข้มแข็งผู้ประกอบการธุรกิจพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในไทย ก่อนเข้าสู่สนาม AEC

ข่าวทั่วไป Thursday February 13, 2014 11:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 ก.พ.--พพ. พพ. ย้ำภาพผู้นำด้านองค์ความรู้พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน จัดสัมมนาสร้างองค์ความรู้เสริมความเข้มแข็งผู้ประกอบการธุรกิจพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในไทย ก่อนเข้าสู่สนาม AEC ชี้ภาคธุรกิจของไทยยังมีความเข้มแข็งสูง พร้อมแข่งขันทุกชาติในอาเซี่ยน นายประมวล จันทร์พงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นประธานเปิดงาน สัมมนาในหัวข้อ “แนวทางการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการด้านพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)” โดยมีผู้ประกอบการจากภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเข้าร่วมและจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประมาณ 200 นายประมวล กล่าวว่า การสัมมนาครั้งนี้ พพ. ต้องการให้เกิดการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมถึงมุมมองแนวคิดเกี่ยวกับโอกาสและภัยคุกคามจากการเข้าสู่ AEC สำหรับธุรกิจด้านพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานจากตัวแทนทั้งภาครัฐภาคเอกชน และนักวิชาการ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเกิดความตื่นตัวในการเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ AECโดยมีเนื้อหาสำคัญได้แก่ การให้ข้อมูลผลการศึกษาโดยนำเสนอโอกาสและภัยคุกคามที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับภาคธุรกิจด้านพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานของผู้ประกอบการไทย จากการวิเคราะห์ปัจจัยเกื้อหนุนทางการตลาดและศักยภาพในการแข่งขันเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน ทั้งนี้ ภายในงานสัมมนา จะได้มีการนำเสนอผลการจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการในการเข้าสู่ AECอาทิ 1. โอกาสในการดำเนินการเชิงรุกประเทศไทยมีโอกาสในการขยายการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (เอทานอล และไบโอดีเซล) และการส่งออกบริการด้านการอนุรักษ์พลังงาน (ให้คำปรึกษาและฝึกอบรม) รวมถึงการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตพลังงานทดแทน (ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ แสงอาทิตย์ พลังงานจากขยะ ฯลฯ) ซึ่งไทยมีความเชี่ยวชาญและผู้ประกอบการชาวไทยมีประสบการณ์ในระดับแนวหน้าของอาเซียน ประกอบกับแนวโน้มที่ในอนาคตประเทศสมาชิกอาเซียนจะหันมาให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานทดแทนและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากการที่ประเทศในอาเซียนเริ่มดำเนินนโยบายลดการอุดหนุนราคาเชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ) ในประเทศลงอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับมีนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นโดยเฉพาะประเทศไทยมีการสนับสนุนธุรกิจพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานอย่างจริงจัง เช่น ธุรกิจ ESCO เป็นต้น 2. ภัยคุกคามที่ต้องเตรียมการตั้งรับ คือภาคอุตสาหกรรมการผลิตวัสดุอุปกรณ์ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้รับผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในด้านการเปิดตลาดเสรีเนื่องจากไทยมีต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูง และสินค้าประสิทธิภาพมีคุณภาพสูง เช่น เครื่องปรับอากาศ เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในอาเซียน ดังนั้น จึงควรสนับสนุนการปรับมาตรฐานสินค้าประสิทธิภาพสูงให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งอาเซียน เพื่อให้ไทยสามารถขยายตลาดการผลิตและส่งออกสินค้าเหล่านี้ได้ในอนาคต

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ