เจาะลึกคำพิพากษาฎีกาในคดีแรงงาน | สัญญาจ้าง เลิกจ้าง ค่าจ้าง วินัย ไล้ออก , 27-28 มีนาคม 2557

ข่าวทั่วไป Tuesday February 25, 2014 10:17 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 ก.พ.--Omegaworldclass สถาบันวิจัยโอเมก้าเวิลด์คลาสจะจัดการประชุมสัมมนาผู้บริหารเรื่อง เจาะลึกคำพิพากษาฎีกาในคดีแรงงาน | สัญญาจ่าง เลิกจ่าง ค่าจ่าง วินัย ไล่ออก วันที่ 27-28 มีนาคม 2557 มืออาชีพด้านแรงงานสัมพันธ์ที่ต้องใช้กฏหมายแรงงานและกฏหมายการจ้างงานอย่างจริงจัง ย่อมทราบดีว่าคำพิพากษาศาลฎีกาคดีแรงงานเป็นคำพิพากษาของศาลสูงสุดของประเทศ และคำพิพากษาของศาลฎีกา จึงเป็นบรรทัดฐานที่ศาลแรงงานใช้เทียบเคียงกับเหตุการณ์เรื่องราวที่คล้ายคลึงกันในคดีที่เกิดขึ้นภายหลัง เมื่อศาลแรงงานใช้แนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินคดีความต่อไป โดยเฉพาะกับคดีที่มีเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นอาจคล้ายคลึงกับข้อพิพาทในคดีที่ศาลฎีกาได้วางบรรทัดฐานไว้ ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านจะได้เรียนรู้แบบเจาะลึกทำความเข้าใจในคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงาน ในประเด็นสำคัญต่างๆ ให้ทะลุปรุโปร่งและรู้วิธีใช้ความเข้าใจนี้ให้เกิดผลดีต่อการวางแผนการบริหารแรงงานสัมพันธ์ การเตรียมต่อสู้คดีในศาลแรงงาน ย่อมจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อท่าน และเป็นสิ่งที่ท่านควรเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้าก่อนจะเกิดปัญหาคดีแรงงาน ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ที่จะได้เปรียบในคดีแรงงานคือ ผู้ที่สามารถนำแนวคำพิพากษาฎีกาคดีมาสนับสนุนกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้เกิดประโยชน์แก่ฝ่ายตนได้และสามารถกล่าวอ้างยกขึ้นมาให้ศาลแรงงานพิจารณา Course Leader| Mr. Kreangkri Jiamboonsri, Consultant - Baker & McKenzieผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงานสัมพันธ์และการใช้กฎหมายแรงงานด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปี เรียนรู้อย่างเข้มข้นเพื่อเข้าใจคำพิพากษาศาลฎีกาให้ทะลุปรุโปร่ง - บรรทัดฐาน ความชัดเจน ความเหมือน ความแตกต่างที่สำคัญของคำพิพากษาในคดีแรงงานแต่ละประเด็นสำคัญ - เจาะลึกลักษณะเงื่อนไขที่แตกต่างในแต่ละคดีแรงงานภายใต้ประเด็นสำคัญ - วิเคราะห์ในบทเรียนของกรณีที่มักเป็นปัญหา วิธีป้องกันแก้ไข - เจาะลึกพิเศษในประเด็นกฎหมายและวิธีการบริหารการจ้างงานตามกฎหมายสำคัญๆ - กรณีตัวอย่าง วิเคราะห์เชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์เชิงประยุกต์ในการบริหารแรงงานสัมพันธ์และการใช้กฎหมายแรงงาน KEY SESSIONS ON 27 - 28 MARCH 2014 1. นายจ้าง ลูกจ้าง สภาพการจ้าง 2. สัญญาจ้างงาน เงื่อนไขสภาพการจ้าง 3. ค่าจ้าง สวัสดิการ ผลประโยชน์ การจ่าย 4. ข้อบังคับการทำงาน การกระทำผิดต่อนายจ้าง การดำเนินการทางวินัย 5. การลาออก การเลิกจ้าง ข้อพิพาท ค่าชดเชย KEY LEARNING OBJECTIVES - เตรียมต่อสู้คดีในศาลแรงงานให้ได้เปรียบและเกิดผลดีต่อธุรกิจอย่างแท้จริง - เตรียมพร้อมป้องกันข้อพิพาทแรงงาน ไม่ให้ถูกฟ้องร้องภายหลัง - วางแผนเชิงรุกการบริหารแรงงงานสัมพันธ์และการจ้างงาน - ลดความเสี่ยงทางกฎหมาย ความรับผิดทางอาญาและทางแพ่งของนายจ้าง ครอบคลุม อ้างอิงและเชื่อมโยงกับกฎหมายจ้างงานที่มืออาชีพต้องรู้ - ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการจ้างแรงงาน - พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 - พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 - พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 - พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 - พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 - พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 ถึงเวลาเจาะลึกคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแรงงาน เตรียมให้ยิ่งกว่าพร้อม ซักซ้อมประเด็นจนแม่นยำ ตอกย้ำแนวคดีแรงงานที่คล้ายคลึง ขอเชิญเข้าร่วมกัน 'เรียนรู้แบบเป็นทีมตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไป' เพื่อให้สามารถร่วมกันนำกลับมาถ่ายทอดในองค์กรได้อย่างทรงพลัง สมัครพร้อมกันเป็นกลุ่ม ได้รับส่วนลดพิเศษค่าลงทะเบียนถึง 4000 บาท ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 200% รับสมัครจำนวนจำกัด สนใจกรุณาติดต่อ คุณศตพร สถาบันวิจัยโอเมก้าเวิลด์คลาส 252/119 อาคารเมืองไทย-ภัทร คอมเพล็กซ์ 2 ชั้น 24 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทร: 022754511, 026931474, 0896929900 Email:conference@omegaworldclass.org
แท็ก ศาลฎีกา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ