ฟรอสต์ฯ เปิดบันทึกเหตุการณ์ในอดีต เผยปม 6 ข้อ เหตุใด สายการบินมาเลเซียMH370 หายไปอย่างไร้ร่องรอย

ข่าวทั่วไป Wednesday March 12, 2014 14:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 มี.ค.--ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน เป็นข่าวดังไปทั่วโลกเมื่อ สายการบินมาเลเซีย เที่ยวบินที่ MH370 ซึ่งได้เดินทางออกจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และมุ่งหน้าไปยังกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 8 มีนาคม ได้ขาดการติดต่อกับหอบังคับการบินในขณะที่บินอยู่ที่ความสูงที่ 35,000 ฟุต และสภาพอากาศปกติ โดยไม่มีสัญญาณการขอความช่วยเหลือจากนักบินแต่อย่างใด จนถึงขณะนี้ นับเป็นเวลาเกือบ 5 วันหลังจากการสูญเสียการติดต่อ นาย ราวี มาดาวาราม นักวิเคราะห์ด้านอุตสาหกรรมการบิน จากบริษัท ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ ว่า ปัจจุบันข้อมูลที่ได้รับยังไม่เพียยงพอต่อการตัดสินว่าเกิดอะไรขึ้นกับเหตุการณ์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานเก่าๆ ทางด้านประวัติศาสตร์การบิน มีข้อสันนิษฐาน 6 ข้อสำหรับการหายไปในครั้งนี้ 1. ความผิดพลาดทางด้านเทคนิคและความผิดพลาดของนักบินซึ่งนำไปสู่ผลกระทบที่เรียกว่า snowballing effect - ความผิดพลาดเพียงประการใดประการหนึ่งเพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอกับการทำให้เครื่องบินตก แต่การผสมผสานระหว่างความบกพร่องทางเทคนิคและการตัดสินใจของนักบินอาจทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันดังกล่าวได้ และมักจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและนับไปสู่อุบัติภัยที่ใหญ่หลวง อย่างที่เกิดขึ้นกับสายการบิน Air France 447 ที่นักบินไม่ทราบถึงสัญญาณการเกิดอุบัติเหตุเลยจนกระทั่ง 10 วินาที ก่อนที่เครื่องจะกระเทก 2. การสลายตัวของโครงสร้าง (Structural Disintegration) - ข้อสันนิษฐานนี้อ้างถึงความล้มเหลวของโครงสร้างของเครื่องบินที่ทำให้เกิดนักบินสูญเสียการควบคุมของเครื่องบิน จากเหตุการณ์เกิดขึ้นกับ ไชน่าแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 611 ในระหว่างการบินที่ความสูง 35,000 ฟุตในปี 2545 เที่ยวบินดังกล่าวบินโดยเครื่องบินโบอิ้ง 747 และเหตุผลที่ก่อให้เกิดความผิดพลาดนั้นคาดกันว่าเป็นความผิดพลาดที่เกิดจากการซ่อมแซม เครื่องบินโบอิ้ง 747 เป็นเครื่องบินที่ใช้เทคโนโลยีแบบเก่า (สมัยเมื่อ 20 ปีก่อน) เมื่อเทียบกับเครื่องบินโบอิ้ง 777 (โบอิ้ง 747 เข้ามาให้บริการในปี 2518 ในขณะที่โบอิ้ง 777 เข้ามาให้บริการในปี 2538) โดยเครื่องบินรุ่นใหม่มีการใช้วัสดุที่ดีกว่า รวมถึงมีเทคโนโลยีและตารางการบำรุงรักษาที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องบินรุ่นเก่าๆ 3. ความผิดพลาดจากตัวบุคคล (Human Error) – การกระทำการใดๆ ที่เกิดจากผู้โดยสาร หรือ นักบินเครื่องบิน อาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้เช่นกัน ดังเช่นเหตุการณ์สะเทือนโลกอย่าง เหตุการณ์ 9/11 ที่เวิร์ดเทรดเซนเตอร์ ปี พศ. 2544 ประเทศสหรัฐอเมริกา 4. สภาพอากาศที่เลวร้าย - สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยเช่นหิมะ, หมอก, ฝน, น้ำแข็งจะมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องบินซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดความผิดพลาด โดยสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อขั้นตอนที่สำคัญของอากาศยานเช่น การเชื่อมโยงไปถึงสนามบิน อย่างไรก็ตาม เที่ยวบินที่ MH370 มีสภาพอากาศที่ดี ดังนั้น จึงไม่น่าเป็นสาเหตุของการเกิดเหตุการณ์ในครั้งนี้ 5. ระบบไฟฟ้าล้มเหลวทั้งระบบ – เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเครื่องบินพาณิชย์ (Aviation Aircrafts ) กล่าวคือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าในเครื่องบินมี 3 ประเภท 2 แหล่งกำเนิด คือ APU (Auxiliary Power Unit) และRAT (Ram Air Turbine) – สำหรับเครื่องบินที่จะมีความล้มเหลวไฟฟ้าทั้งสามระบบจะมีการล้มเหลวในเวลาเดียวกัน ซึ่งความเป็นไปได้นี้เกิดขึ้นค่อนข้างยาก แต่ก็เคยเกิดกับการบินแควนตัสในปี 2551 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ซึ่งในครั้งนั้น แควนตัสได้ลงจอดอย่างปลอดภัย โดยใช้พลังงานไฟฟ้าสำรองจาก APU ความล้มเหลวไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นเหตุการณ์ที่เมื่อเกิดขึ้นจะต้องมีการรายงานกลับไป ATC และขอเปลี่ยนเส้นทาง 6. Hijack หรือการจี้บนเครื่องบิน – นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าเครื่องบินอาจถูกจี้ไปยังสถานที่ที่ไม่รู้จัก แต่ความเป็นไปได้นี้ สามารถตัดออกไปได้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ - การหายไปจากจอเรด้าร์ จุดที่เครื่องบินหายไป เป็นจุดเชื่อมต่อพรมแดนของหลายประเทศ และเครื่องบินมีขนาดใหญ่ - การหายไปของเครื่องบินและผู้โดยสารเป็นเวลาถึง 5 วัน \ - ไม่มีหลักฐานการขอใช้รันเวย์ / สนามบินอื่นๆ - ไม่มีกลุ่มใดออกมาเคลมถึงการกระทำในครั้งนี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ