ประกาศผลประกอบการ คาเธ่ย์ แปซิฟิค ปี 2556

ข่าวท่องเที่ยว Thursday March 20, 2014 10:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 มี.ค.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ ผลประกอบการ 2556 2555 เปลี่ยนแปลง (งบการเงินฉบับ ปรับปรุง) รายได้ ล้านเหรียญฮ่องกง 100,484 99,376 +1.1% ผลกำไรของคาเธ่ย์ แปซิฟิค ล้านเหรียญฮ่องกง 2,620 862 +203.9% กำไรต่อหุ้น เซ็นต์ฮ่องกง 66.6 21.9 +204.1% เงินปันผลต่อหุ้น เซ็นต์ฮ่องกง 0.22 0.08 +175.0% คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป แถลงผลกำไรประจำปี2556 มูลค่า 2,620 ล้านเหรียญฮ่องกง เทียบกับผลกำไรประจำปี2555 ซึ่งอยู่ที่ 862 ล้านเหรียญฮ่องกง (งบการเงินฉบับปรับปรุง) ในขณะที่กำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 66.6 เซ็นต์เทียบกับกำไรต่อหุ้นในปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ 21.9 เซ็นต์ (งบการเงินฉบับปรับปรุง) และรายได้ในปี2556 เพิ่มขึ้นร้อยละ1.1 อยู่ที่ 100,484 ล้านเหรียญฮ่องกง ธุรกิจของคาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป ในปี2556 มีการปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากความเติบโตทางธุรกิจของผู้โดยสารและผลลัพธ์ในทางบวกของมาตการต่างๆที่คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป นำมาใช้ในปี2556 เพื่อลดผลกระทบต่อราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับธุรกิจการขนส่งสินค้ายังคงได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่สูงขึ้นแต่ความต้องการในการใช้บริการลดลง อย่างไรก็ตามยังคงมีความต้องการใช้บริการในการขนส่งสินค้าในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 ธุรกิจโดยรวมยังได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง ส่วนแบ่งกำไรของบริษัทย่อยที่ไม่ใช่ธุรกิจการบินและบริษัทร่วมลดลงที่ 781 ล้านเหรียญฮ่องกงจาก 1,126 ล้านเหรียญฮ่องกง (งบการเงินฉบับปรับปรุง) รายได้จากผู้โดยสารในปี2556 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 อยู่ที่ 71,826 ล้านเหรียญฮ่องกง ปริมาณการรองรับผู้โดยสารลดลงร้อยละ 1.8 เนื่องจากการลดเที่ยวบินระยะไกลและการปลดระวางเครื่องบินโดยสารรุ่นโบอิ้ง 747-400 อย่างไรก็ตาม ปริมาณการรองรับผู้โดยสารเริ่มที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีเนื่องจากการกลับมาบินของเที่ยวบินที่เคยลดจำนวนลงและการเพิ่มเส้นทางการบินใหม่ ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 2.1 จุดเป็นร้อยละ 82.2 ในขณะที่ราคาต่อหน่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เป็น 68.5 เซ็นต์ ปริมาณความต้องการของผู้โดยสารในเที่ยวบินระยะไกลยังคงแข็งแกร่งในทุกชั้นการเดินทาง แต่ความต้องการการเดินทางในภูมิภาคไม่สอดคล้องกับการเพิ่มปริมาณการรองรับผู้โดยสาร ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบต่อราคาต่อหน่วย ธุรกิจการขนส่งสินค้าของคาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป ยังคงได้รับผลกระทบต่อความต้องการใช้บริการที่ลดลงตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 ถึงแม้ว่าจะยังมีความต้องการการใช้บริการเพิ่มขึ้นในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี2556 แต่ธุรกิจการขนส่งสินค้ายังคงชะลอตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2555 รายได้จากการขนส่งสินค้าของ คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป ในปี2556 อยู่ที่ 23,663 ล้านเหรียญฮ่องกงหรือลดลงร้อยละ 3.6 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า ราคาต่อหน่วยของคาเธ่ย์ แปซิฟิคและดรากอนแอร์ลดลงร้อยละ 4.1 อยู่ที่ 2.32 เซ็นต์ ระวางของการบรรจุสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 แต่ปริมาณสินค้าลงลง 2.4 จุด ที่ร้อยละ 61.8 ระวางของการบรรจุสินค้าได้รับการปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของปี2556 โดยสินค้าส่วนใหญ่จะได้รับการขนส่งในท้องเครื่องบินโดยสารเพื่อลดต้นทุน ทั้งนี้ อาคารระวางสินค้าของคาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป ณ ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ที่ได้เปิดปฏิบัติการอย่างเต็มศักยภาพเมื่อเดือนตุลาคม 2556 จะช่วยพัฒนาศักยภาพและลดต้นทุนในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ค่าน้ำมันยังคงเป็นรายจ่ายส่วนใหญ่ที่สุดของ คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ปรวมถึงบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมการบินโดยรวม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39 ของค่าใช้จ่ายในการจัดการการบินในปี 2556 เดือนเมษายน คาเธ่ย์ แปซิฟิคได้ทำสัญญาซื้อน้ำมันล่วงหน้าถึงปี2559 เพื่อใช้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ลดลงในระยะสั้น ค่าน้ำมันในปี2556 นั้นลดลงร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับปี2555 (เมื่อตัดผลกระทบจากการทำสัญญาซื้อน้ำมันล่วงหน้าออกแล้ว) ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการต่าง ๆ ที่บริษัทนำมาใช้ รวมถึงการเปลี่ยนตารางการบิน การลดระวางของการบรรจุสินค้า การยกเลิกเครื่องบินสินค้าที่เก่าและไม่ประหยัดน้ำมันและเปลี่ยนเครื่องบินใหม่ที่ประหยัดน้ำมันได้มากกว่า ในปี 2556 คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาเครื่องบิน โดยบริษัทได้รับมอบเครื่องบินใหม่จำนวน 19 ลำ เครื่องบินรุ่นแอร์บัส A330-300 จำนวน 5 ลำ (ซึ่งรวมดรากอนแอร์ 1 ลำ) เครื่องบินรุ่นโบอิ้ง 777-300ER จำนวน 9 ลำ เครื่องบินขนส่งสินค้ารุ่นโบอิ้ง787-8F จำนวน 5 ลำ และสายการบินได้ปลดระวางเครื่องบินโดยสารรุ่นโบอิ้ง 747-400 จำนวน 5 ลำในช่วงเดียวกัน เดือนมีนาคม 2556 บริษัทได้ร่วมลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับฝูงบินเครื่องบินขนส่งสินค้าโดยเป็นข้อตกลงระหว่าง บริษัทโบอิ้ง คาเธ่ย์ แปซิฟิค แอร์ไชน่า คาร์โก้ และแอร์ไชน่า ในการซื้อเครื่องบินขนส่งสินค้ารุ่น โบอิ้ง 747-8F จำนวน 3 ลำ (ได้รับเครื่องในเดือนธันวาคม 2556) ยกเลิกการสั่งซื้อเครื่องบินขนส่งสินค้ารุ่น โบอิ้ง 777-200F จำนวน 8 ลำ ยื่นข้อเสนอในการซื้อเครื่องบินขนส่งสินค้ารุ่นโบอิ้ง 777-200F จำนวน 5 ลำ และตกลงขายเครื่องบินขนส่งสินค้าดัดแปลงรุ่น โบอิ้ง 747-8F ใหม่ จำนวน 4 ลำ นอกจากนี้ในเดือนธันวาคม 2556 บริษัทยังประกาศการสั่งซื้อเครื่องบินรุ่นโบอิ้ง 777-9X จำนวน 21 ลำ (จัดส่งในปี 2563) เครื่องบินรุ่น 777-300ER ใหม่ จำนวน 3 ลำ และเครื่องบินขนส่งสินค้ารุ่น โบอิ้ง 747-8F ใหม่ จำนวน 1 ลำ และขายเครื่องบินขนส่งสินค้ารุ่น โบอิ้ง 747-400F จำนวน 6 ลำ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป มีจำนวนเครื่องบินทั้งหมด 95 ลำที่จะส่งมอบในปี 2567 ทั้งนี้ คาเธ่ย์ แปซิฟิค และดรากอนแอร์ จะได้รับเครื่องบินจำนวน 16 ลำในปี 2557 โดยหนึ่งลำได้รับการส่งมอบแล้วในเดือนมกราคม 2557 คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป ยังคงพัฒนาเครือข่ายการบินอย่างต่อเนื่องในปี 2556 โดยนำเส้นทางระยะไกลสู่เมือง ลอส แอนเจลิส โตรอนโตและนิวยอร์ค ที่ยกเลิกไปในปี 2555 กลับสู่เส้นทางการบินอีกครั้ง เดือนมิถุนายน เพิ่มความถี่ในการบินไปยังกรุงลอนดอนเป็น 5 เที่ยวบินต่อวัน เดือนตุลาคม แนะนำเที่ยวบินสู่เมืองมาเล่ในมัลดีฟส์ 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ คาเธ่ย์ แปซิฟิค ประกาศให้บริการเที่ยวบินไปยังกรุงนิวยอร์ค ณ สนามบินนานาชาตินวร์ก ลิเบอร์ตี้ที่ได้เริ่มให้บริการแล้วในเดือนมีนาคมปีนี้ และจะให้บริการเที่ยวบินรายวันไปยังกรุงโดฮาในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2557 รวมถึงจะเพิ่มเที่ยวบินไปยังเมืองลอส แอนเจลิสและชิคาโกในหน้าร้อนของปี 2557 นอกจากนี้ สายการบินยังให้บริการเที่ยวบินสินค้าไปยังเมืองกวาดาลาฮาราเดือนตุลาคม 2556 ขยายการบริการไปยังกรุงเม็กซิโก ซิตี้ในเดือนมีนาคม 2557 และจะเพิ่มการบริการขนส่งสินค้าไปยังเมืองโคลัมบัส สหรัฐอเมริกาในเดือนช่วงปลายเดือนมีนาคม 2557 สำหรับดรากอนแอร์ได้ให้บริการเที่ยวบินไปยังกรุงดานัง เสียมเรียบ เหวินโจว ย่างกุ้งและเจิ้งโจว ในปี 2556 และจะเริ่มให้บริการเที่ยวบินไปยังกรุงเดนปาซาห์ บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย สัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน ในเดือนเมษายน 2557 ในส่วนของผลิตภัณฑ์ คาเธ่ย์ แปซิฟิคเปิดให้บริการชั้นประหยัดพรีเมี่ยมในเที่ยวบินระยะไกลและระยะกลางจำนวน 85 ลำในปี2556 ในขณะที่การติดตั้งที่นั่งชั้นธุรกิจสำหรับการบินในภูมิภาคจะเสร็จสิ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี2557 รวมถึงการติดตั้งห้องโดยสารชั้นหนึ่งที่ได้รับการออกแบบและปรับปรุงใหม่ในเครื่องบินรุ่นโบอิ้ง 777-300ER และการติดตั้งที่นั่งในชั้นธุรกิจใหม่และชั้นประหยัดของดรากอนแอร์ ห้องพักผู้โดยสารชั้นหนึ่ง เดอะ วิง ได้รับการปรับปรุงใหม่ซึ่งเปิดให้บริการแล้วในเดือนกุมภาพันธ์ นอกจากนี้ยังเปิดให้บริการ เดอะ บริดจ์ ซึ่งเป็นห้องพักผู้โดยสารแห่งที่ 5 ณ ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงในเดือนตุลาคม 2556 ส่วนแบ่งกำไรของบริษัทย่อยที่ไม่ใช่ธุรกิจการบินและบริษัทร่วมลดลงร้อยละ 30.6 อยู่ที่ 781 ล้านเหรียญฮ่องกง ที่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่แสดงถึงค่าเงินลงทุนเริ่มต้นของอาคารระวางสินค้าแห่งใหม่ของคาเธ่ย์ แปซิฟิค ที่เปิดให้บริการในเดือนตุลาคม 2556 หลังจากที่เปิดให้บริการส่วนหนึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบจากผลประกอบการของแอร์ไชน่า คาร์โก้ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับแอร์ไชน่า ผลการดำเนินการทางการเงินของอาคารระวางสินค้าแห่งใหม่จะได้รับประโยชน์จากการไม่นับรวมค่าใช้จ่ายเบื้องต้นของเงินลงทุนเริ่มต้น ส่วนผลการดำเนินการทางการเงินของแอร์ไชน่า คาร์โก้ในปี 2557 จะได้รับประโยชน์จากมาตรการการพัฒนากำไรที่กล่าวไว้ด้านล่าง คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป ยังคงพัฒนามุ่งมั่นในการพัฒนากลยุทธ์การเป็นพันธมิตรกับแอร์ไชน่า โดยมาตรการในการปรับปรุงผลประกอบการทางการเงินของแอร์ไชน่า คาร์โก้รวมถึงการซื้อเครื่องบินขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพในการประหยัดน้ำมันรุ่น โบอิ้ง 777-200F บริษัทเซี่ยงไฮ้ อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์พอร์ท เซอร์วิส ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการด้านภาคพื้นดินเริ่มเข้ามาปฏิบัติงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2556 บริษัทนี้เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค แอร์ไชน่า การท่าอากาศยานเซี่ยงไฮ้และบริษัทเซี่ยงไฮ้ อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์พอร์ท จำกัด โดยจะให้บริการภาคพื้นดิน ณ สนามบินนานาชาติเซี่ยงไฮ้ทั้งสองแห่งได้แก่ สนามบินฮงเฉียวและสนามบินผู่ตง นายคริสโตเฟอร์ แพรทท์ ประธานของคาเธ่ย์ แปซิฟิค กล่าวว่า “การดำเนินธุรกิจในปี 2556 ยังคงท้าทายทั้งสำหรับคาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ปและอุตสาหกรรมการบินโดยรวม นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ผลกระกอบการของเราดีขึ้นในทุกด้าน ความแข็งแกร่งในธุรกิจการให้บริการผู้โดยสารของเราแสดงถึงการลงทุนพัฒนาเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการให้บริการผู้โดยสารและผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจการขนส่งสินค้ายังคงเป็นปัญหา ยังไม่มีสัญญาณในทางบวกของตลาด และการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่เกิดขึ้นดูเหมือนว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นระบบมากกว่าวัฏจักรแบบขึ้นลง ดังนั้นเราจึงต้องลดขนาดของเครื่องบินขนส่งสินค้าและในขณะเดียวกันก็ต้องเพิ่มประสิทธิภาพด้วย” “เรายังคงมั่นใจในอนาคตของฮ่องกงในการเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ การที่เราปรับเปลี่ยนขนาดของเครื่องบินขนส่งสินค้าและสถานีขนส่งแห่งใหม่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการแข่งขันในระยะยาว สำหรับภาพรวมของธุรกิจของปี2557 มีความสดใสมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับปี2556 และเรายังคงลงทุนในธุรกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อความแข็งแกร่งทางการเงิน เราขอยืนยันว่าเรามุ่งมั่นในการสร้างความแข็งแกร่งของฮ่องกงซึ่งเปรียบเสมือนบ้านของเรา ให้เป็นศูนย์กลางการทางการบินชั้นนำในระดับโลกด้วย” สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ วไลเกล้า คุ้มวงศ์ บริษัท ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ ประเทศไทย โทร: 0-2627-3501 ต่อ 217 The Cathay Pacific Website can be found at www.cathaypacific.com/TH www.facebook.com/cathaypacificTH

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ