คู่มือเพื่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย 2014 - ผู้นำสำหรับการโปรโมตที่อยู่อาศัยสำหรับชาวต่างชาติในประเทศยอดฮิตของชาวต่างชาติอย่างประเทศไทย

ข่าวอสังหา Friday March 28, 2014 10:25 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 มี.ค.--Thai-Swedish Chamber of Commerce ประเทศไทยกำลังเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการเดินทางมาเยี่ยมเยียนหรือการย้ายเข้ามาอยู่ในประเทศไทย และมันก็ยืดหยุ่นมากสำหรับการย้ายบ้านมาในเมืองไทย และนี่ยังแสดงให้เห็นเด่นชัดในภาคอสังหาริมทรัพย์และการสำรวจความคิดเห็นของชาวต่างชาติที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงติดอันดับต้น ๆ เมื่อเทียบกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพ ชาวต่างชาติต่างตระหนักในข้อนี้ดีและกำลังมุ่งหน้ามายังประเทศไทยเพื่อแสวงหาโอกาส ประสบการณ์ และบ่อยครั้งคือการแสวงหาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับประเทศต้นกำเนิดของเขา และชาวสแกนดิเนเวียก็มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ทั้งความกระตือรือล้นในการสร้างอุตสาหกรรมการบินมีบ้านที่สองในต่างประเทศ หรือการเป็นผู้ซื้อบ้านครั้งแรกในตลาดใหม่ ๆ และเริ่มพัฒนาตลาดที่นี่ ทุกวันนี้มีชาวสแกนดิเนเวียหลายหมื่นคน (ซึ่งรวมถึงผู้ที่มาอยู่ทั้งครอบครัว) เป็นเจ้าของบ้านและใช้เวลาอย่างเต็มที่ที่นี่และยังคงมีการย้ายเข้ามาอยู่ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ความนิยมในประเทศไทยในหมู่ชาวลูกครึ่งชาวไทยสแกนดิเนเวียที่้ย้ายมายังประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อราวสิบปีก่อนในหมู่ผู้สูงอายุในวัยทองและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2008 ความนิยมทำให้ชาวสแกนดิเนเวียค้นพบเสี้ยวหนึ่งของสวรรค์และเริ่มตัดสินใจเข้ามาอยู่และพัฒนาที่พักอาศัยของตน ในบางกรณีการพัฒนาเกิดขึ้นในพื้นที่ที่แทบไม่เคยมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยมาก่อน โดยรวมแล้วชาวสวีเดนถือเป็นหัวหอกในการย้ายเข้ามาอาศัยในพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักเช่นที่แม่พิมพ์และห้วยยาง ชุมชนชาวสวีเดนขนาดใหญ่ยังมีอยู่ที่เกาะลันตาในจังหวัดกระบี่ ที่ซึ่งครอบครัวชาวสวีเดนเข้ามาพักผ่อนและใช้ชีวิตแบบไทย ๆ ซึ่งรวมถึงการตัดสินใจที่จะเข้ามาสร้างชีวิตใหม่ที่นี่ ด้วยโรงเรียนสำหรับชาวสวีเดนและลูกครึ่งไทยสวีเดนที่พักอยู่ในแถบชายฝั่งตะวันออก (บ้านแพ) เกาะลันตา และภูเก็ต ชุมชนเหล่านี้มีจำนวนมาก และพื้นที่เหล่านี้กำลังกลายเป็นประเทศสแกนดิเนเวียย่อย ๆ ในประเทศไทย ซึ่งในขณะเดียวกัน พวกเขามีความต้องการแหล่งข้อมูลที่เป็นกลางและมีจำนวนมากพอ หอการค้าไทยสวีเดนจึงเห็นความจำเป็นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในภาคส่วนนี้ จากการเปิดตัวหนังสือคู่มือสำหรับผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ( The best practices, a guideline for potential property buyers) เมื่อ 6 ปีก่อน การมีส่วนร่วมนี้ยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่องและตอนนี้ศูนย์ธุรกิจยุโรปอาเซียนในประเทศไทยก็กำลังเปิดตัวคู่มือเพื่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย 2014 ด้วยมุมมองของชาวยุโรป โดยหอการค้าไทยสวีเดนเป็นพันธมิตรสำคัญจากผลงานที่ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องในอดีต จุดมุ่งหมายของคู่มือเล่มใหม่นี้ก็เพื่อแบ่งปันมุมมองและกรณีศึกษา เผยแพร่ข้อมูลที่สำคัญ และเปิดโอกาสให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีศํกยภาพสามารถโปรโมตโครงการที่พักอาศัยของตนในตลาดนานาชาติได้ คู่มือฉบับนี้มีข้อมูลสำคัญและคำแนะนำที่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยกำลังมองหา และยังมีข้อมูลการใช้ชีวิตในประเทศไทย รวมถึงบริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทยด้วย จุดประสงค์สำคัญคือการนำเสนอข้อมูลที่ครบถ้วนสำหรับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และการใช้ชีวิตในประเทศไทย ด้วยการขยายตลาดเป้าหมายไปยังประเทศทุกประเทศในยุโรป โดยในขณะที่ชาวสวีเดนยังคงมีความฝันและพยายามทำความฝันในการหาบ้านที่ประเทศที่อบอุ่นให้เป็นจริง (จากผลการสำรวจโดย The Real Estate Agency มีชาวสวีเดนถึง 65% กำลังมองหาบ้านในเขตอบอุ่น) ชาวยุโรปในประเทศอื่น ๆ ก็ต่างกำลังมองหาสิ่งเดียวกัน คู่มือเพื่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยยังคงเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับใครก็ตามที่สนใจจะลงทุนในที่พักอาศัยในประเทศไทย โดยคู่มือมีช่องทางการเผยแพร่ผ่านเครือข่ายของหอการค้าในยุโรปและในหมู่ชาวต่างชาติในประเทศไทย รวมถึงการเปิดขายที่ร้าน Asia Books การสำรวจความคิดเห็นของชาวต่างชาติในปี 2013 เปิดเผยอีกครั้งว่าประเทศไทยอยู่ในลำดับแรกของประเทศที่ชาวต่างชาติต้องการมาใช้ชีวิต ซึ่งเป็นผลมาจากการเริ่มต้นชีวิตในประเทศไทยที่ง่ายขึ้น ความสามารถในการเข้ากับสังคมอย่างกลมกลืน และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ประเทศไทยยังคังก้าวเข้ามาเป็นจุดหมายยอมนิยมสำหรับชาวต่างชาติที่กำลังมองหาทั้งคุณภาพชีวิตที่ดีและฐานะทางการเงินที่มั่นคงขึ้น ประเทศไทยยังคงอยู่ในลำดับแรกของจำนวนรายได้หลังหักภาษีเงินได้ส่วนบุคคล หลังจากการย้ายที่อยู่ ชาวต่างชาติในประเทศไทยส่วนใหญ่จะพูดว่าพวกเขามีรายได้หลังหักภาษีเพิ่มขึ้น โดยเกือบ 8 ใน 10 (76%) ของชาวต่างชาติได้รับผลดีนี้ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยนานาชาติ (49%) นอกจากนั้น ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศหลักที่ทุกคนมองหาในการใช้ชีวิตในวัยทองอีกด้วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ