สรพ.เผย ปัญหาการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรง 3 จังหวัดชายแดนใต้คงที่ แต่ยังขาดแคลนบุคลากร และงบประมาณสนับสนุนโครงการฯ จากภาครัฐอยู่มาก

ข่าวทั่วไป Tuesday April 29, 2014 14:52 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 เม.ย.--สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล นางสาวกัญญานาถ สุวรรณชาตรี นักจิตวิทยา หน่วยงานสุขภาพจิต โรงพยาบาลรามัน เปิดเผยว่าจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพจิตของประชาชนในพื้นที่ และหากไม่ได้รับการดูแลเยียวยาจิตใจอย่างเหมาะสมจะทำให้ประชาชนในพื้นที่ประสบปัญหาสุขภาพจิต และโรคจิตเวชที่เรื้อรังได้แก่ โรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรง (Posttraumatic stress disorder) โรคเครียดฉับพลันภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Acute stress disorder) โรคแพนิค (Panic disorder) โรคซึมเศร้า (Depressive episode) ทั้งนี้ ศูนย์เยียวยาฟื้นฟูสุขภาพจิต หน่วยงานสุขภาพจิต โรงพยาบาลรามัน จึงได้มีโครงการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านจิตใจจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ซึ่งวัตถุประสงค์ของโครงการนี้เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงดังกล่าว ให้ได้รับการดูแลเยียวยาทางด้านจิตใจอย่างทันท่วงที ส่วนวิธีการดำเนินงานโดยการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมบ้านผู้ที่ได้รับผลกระทบและใช้กระบวนการในการประเมินผลคัดกรองภาวะสุขภาพจิตจากทีมงานที่ลงตรวจเยี่ยมโดยจะประเมินผู้ที่ได้รับผลกระทบและครอบครัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบ และนำผลประเมินที่ได้มาช่วยเหลือในชุมชน โดยหน่วยงานฯได้ร่วมมือกับเครือข่ายในพื้นที่ในการปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในพื้นที่ และเฝ้าระวังการเกิดปัญหาสุขภาพจิตโดยการตรวจสอบในพื้นที่ค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งทำให้สามารถดูแลและเยียวยารักษาได้อย่างทันท่วงที โดยจะมีการตรวจเยี่ยมในพื้นที่สุ่มเสียงในการเกิดปัญหาฯเพื่อประเมินผลและติดตามอาการแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ครั้งที่ 1 ภายใน 2 สัปดาห์ ครั้งที่ 2 ระหว่าง 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือน และครั้งที่ 3 ระหว่าง 1 เดือนถึง 3 เดือน และมีการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูจิตใจรวมถึงการบำบัดรักษาในรูปแบบต่างๆเช่น กลุ่มจิตบำบัดในหญิงหม้ายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีการนำศาสนาเข้ามาช่วยในการบำบัด เป็นต้น สำหรับการพัฒนาการบริการเยียวยาจิตใจและบริการในชุมชนโดนในบริการเชิงรุกในการเยี่ยมบ้าน ซึ่งกระบวนการเยียวยาจิตใจประกอบด้วย การปฐมพยาบาลจิตใจเบื้องต้น การประเมินและคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต รวมถึงการบำบัดและดูแลช่วยเหลือทางจิตใจโดยใช้เครื่องมือในการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตทางเวชระเบียน ทั้งนี้กรมสุขภาพจิตได้มีแบบประเมินผลกระทบทางจิตใจหลังเกิดเหตุการณ์วิกฤติ หรือ Disa.M1 ซึ่งมีเกินประเมินเช่น การมีคะแนนรวมตั้งแต่ 13 คะแนนขึ้นไปถือว่ามีความเสี่ยงและต้องมีการเฝ้าระวังฯ รวมถึงการตรวจเยี่ยมเพื่อประเมินและติดตามผลอาการตามเกณฑ์ จากผลของการดำเนินโครงการดังกล่าว พบว่าการพัฒนากระบวนการบริการเยียวยาจิตใจ ทำให้สามารถส่งเสริมการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช รวมถึงภาวะเสี่ยงทางด้านสุขภาพจิต โดยการประเมินปัญหาสุขภาพจิตของผู้ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่ในปี 2555 และปี 2556 มีแนวโน้มลดลงและครอบคลุมทุกครอบครัว 100 % ส่วนอาการทั่วไปป่วยจะเป็นอาการนอนไม่หลับ นอนฝันร้าย กลัว หวาดระแวง โดยวิธีการดูแลบำบัดก็จะมีการใช้ยา และวิธีการการจิตบำบัดด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยนให้กำลังใจในระหว่างผู้ป่วยด้วยกัน ซึ่งจากผลที่ได้รับหลังจากการดำเนินโครงการนั้นทำให้ทราบว่าแม้สถานการณ์ความรุนแรงจะมีแนวโน้มเพิ่งขึ้นทุกขณะ แต่ตัวเลขเฉลี่ยผู้ที่ได้รับผลกระทบยังไม่มีแนวโน้มที่เพิ่งขึ้น แสดงให้เห็นว่าการที่ผู้ได้ผลกระทบที่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีทำให้โอกาสในการเป็นโรคจิตเวชลดลง “และในการตรวจเยี่ยมบ้านผู้ที่ได้รับผลกระทบนี้ยังเป็นการสร้างความไว้วางใจ ลดความรุนแรง และยังเป็นการสร้างความสมานฉันท์ให้ในชุมชนอีกด้วย เพราะอย่างน้อยก็ในการลงพื้นที่ก็ทำให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบได้รู้ว่ายังมีหน่วยงานที่เห็นความสำคัญและคอยดูแลห่วงใยอยู่” อย่างไรก็ตามด้านการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่เสี่ยงภัยจากความรุนแรงนั้น ทางหน่วยงานฯก็ได้มีการประสานกับหน่วยงานในพื้นที่ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สถานีอนามัย เป็นต้น โดยให้หน่วยงานในพื้นที่ประสานงานกับผู้ที่ได้รับผลกระทบในการนัดประเมินและลงตรวจเยี่ยม ส่วนปัญหาทางด้านบุคลากรที่ปฏิบัติงานมีจำนวนไม่เพียงพอในการปฏิบัติงานในพื้นที่ นอกจากนี้ ปัญหาการขาดแคลนด้านบุคลากรแล้ว ปัจจุบันยังมีการขาดแคลนในงบประมาณในสนับสนุนโครงการงบการเยียวยาต่างๆไม่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการในพื้นที่ ซึ่งยังทางโครงการยังขาดการสนับสนุนความร่วมมือจากหน่วยการต่างๆโดยเฉพะจากทางภาครัฐอยู่มาก แต่ก็คาดว่าจากในอนาคตเมื่อสังคมคมมีการตระหนึกถึงปัญหาจากผลกระทบดังกล่าวจะทำให้มีการร่วมมือและสนับสนุนเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ