AMD เปิดตัวหน่วยประมวลผลชิปฝังตัว Embedded G-Series รุ่นล่าสุด

ข่าวเทคโนโลยี Thursday June 5, 2014 12:59 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 มิ.ย.--พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส หน่วยประมวลผล AMD Embedded G-Series ได้รับเลือกจาก HP และ Advantech เพื่อใช้สำหรับ Thin client และแอพพลิเคชั่นด้านอุตสาหกรรม AMD เปิดตัวผลิตภัณฑ์กลุ่ม AMD Embedded G-Series รุ่นล่าสุด ซึ่งได้แก่นวัตกรรมชิปฝังตัว x86 แบบ SoC และหน่วยประมวลผลกลาง ออกแบบขึ้นสำหรับแอพพลิเคชั่นระบบชิปฝังตัว ซึ่งรวมถึงโซลูชั่นที่ HP เลือกนำไปใช้กับระบบ Thin Client ด้านสาธารณสุข ด้านการเงิน การศึกษาและการค้าปลีก และที่ Advantech นำไปใช้กับแอพพลิเคชั่นด้านอุตสาหกรรมด้วย สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์รุ่นล่าสุดนี้ถือเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมในกลุ่มแพลตฟอร์ม AMD Embedded G-Series ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการันตี โดยผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้จะเน้นประสิทธิภาพระดับสูงแต่มีการใช้พลังงานต่ำ สำหรับผลิตภัณฑ์ล่าสุดของกลุ่มนั้นจะรองรับหน่วยความจำแบบ ECC (enterprise-class error-correction code) และสามารถใช้ได้ทั้งกับแกนประมวลผลแบบสองและสี่แกน นอกจากนี้หน่วยประมวลผล G-Series ยังมีลักษณะเป็น Pin-compatible ระหว่าง AMD G-Series SoC และกลุ่มหน่วยประมวลผลกลางอีกด้วย ชิปฝังตัวกลุ่ม AMD Embedded G-Series SoC นั้นถือเป็นหนึ่งในรูปแบบแพลตฟอร์มชิปฝังตัวที่มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ชิป SoC และหน่วยประมวลผลรุ่นล่าสุดจะช่วยส่งมอบประสิทธิภาพด้านกราฟฟิกและการประมวลผลระดับสูงสุด พร้อมโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยให้แก่วิศวกรออกแบบระบบชิปฝังตัว AMD Embedded G-Series SoC (โค้ดเนม ‘Steppe Eagle’) เหมาะสำหรับการใช้งานท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ยากลำบาก รวมถึงแอพพลิเคชั่นการควบคุมและระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม (IC&A) มาพร้อมโซลูชั่นประหยัดพลังงาน โดยลดค่า TDP อยู่ที่ 5 วัตต์ และฟีเจอร์ cTDP มีประสิทธิภาพการทำงานระดับสูง ศักยภาพโดยรวมสูงกว่ารุ่นก่อน 53% นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มคุณสมบัติด้านการรักษาความปลอดภัยไว้ด้วย โดยมีการใช้ AMD Platform Security Processor (PSP) หรือหน่วยประมวลผลสำหรับรักษาความปลอดภัยบนสถาปัตยกรรม ARM TrustZone? เพื่อช่วยป้องกันการลักลอบเข้าถึงข้อมูลสำคัญและระบบการปฏิบัติการในระดับฮาร์ดแวร์ ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานโซลูชั่น Thin Client บนระบบคลาวด์ AMD Embedded G-Series CPU (โค้ดเนม ‘Crowned Eagle’) เนื่องจากศูนย์ข้อมูล (Datacenter) มีการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบรับกับความต้องการอันเกิดจากการใช้ระบบคลาวด์และจำนวนอุปกรณ์เครื่องมือที่เพิ่มขึ้น ปัจจัยด้านราคาและการใช้พลังงานจึงมีความสำคัญมากขึ้น กลุ่มองค์กรไอทีต่างหวังที่จะรวมการประมวลผลเข้าด้วยกันบนสถาปัตยกรรมเดียวที่มีประสิทธิภาพสูง แต่มีค่าใช้จ่ายและอัตราการใช้พลังงานที่ต่ำ ด้วยเหตุนี้ AMD G-Series CPU หน่วยประมวลผลแบบ 64 บิตรุ่นล่าสุด ซึ่งใช้สถาปัตยกรรม x86 รองรับแกนประมวลผลแบบสองแกนและสี่แกนจึงเป็นตัวเลือกสำหรับแอพพลิเคชั่นระบบเครือข่ายและโครงข่ายการสื่อสาร ทั้งนี้หน่วยประมวลผล AMD G-Series CPU มีความเร็ว 1.2 – 2.0 GHz มาพร้อมฟีเจอร์ PCI-E Gen 2.0, พอร์ต USB 3.0, พอร์ต SATA และช่องสำหรับติดตั้งหน่วยความจำ DDR3-1600 พร้อมรองรับ ECC ชิป PSP นั้น มีฟังก์ชั่น IPsec (Internet Protocol Security) สำหรับการรักษาความปลอดภัยในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย IP (Internet Protocol Security ช่วยให้การทำงานของ Control plane และ Data plane ง่ายขึ้น ส่งผลให้ได้อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยทางไอที Storage controller และ Network Attached Storage ที่มีราคาคุ้มค่า ด้วยการประสานรวมระหว่างอุปกรณ์ต่อพ่วงที่หลากหลาย รวมถึงประสิทธิภาพ CPU-centric performance-per-dollar ที่มากกว่าอินเทลถึง 34% ทำให้หน่วยประมวลผล AMD G-Series CPU รุ่นล่าสุดนี้เป็นตัวเลือกในอุดมคติสำหรับแอพพลิเคชั่น Control plane บนเราเตอร์และ Switch line card คุณสมบัติ ประโยชน์และการรองรับต่างๆ - โซลูชั่นด้านความปลอดภัย: ด้วยสถาปัตยกรรม ARM TrustZone เอเอ็มดีได้สร้างการรักษาความปลอดภัยด้านการประมวลผลยุคใหม่สำหรับข้อมูลดิจิทัล E-commerce และการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบคลาวด์ นอกจากนี้ชิป PSP ของเอเอ็มดีซึ่งสร้างบนสถาปัตยกรรม TrustZone? นั้นยังได้รับการออกแบบให้ช่วยป้องกันการลักลอบเข้าถึงข้อมูลสำคัญและระบบการปฏิบัติการในระดับฮาร์ดแวร์บน API มาตรฐาน หรือ API ที่สามารถทำงานร่วมกับ API ได้ - การเพิ่มประสิทธิภาพ Performance-per-watt: AMD Embedded G-Series SoC มาพร้อมฟีเจอร์ด้านการจัดการพลังงานอย่าง cTDP - ระบบ Pin compatibility: สำหรับ AMD G-Series SoC และ CPU รุ่นล่าสุดนี้ สามารถใช้บอร์ดร่วมกันระหว่างกลุ่ม AMD G-Series SoC ได้ - การพัฒนาระบบ Linux: ในฐานะสมาชิกโครงการ Yocto Project และจากข้อตกลงความร่วมมือกับ Mentor Graphics เมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มนักพัฒนาระบบอุปกรณ์ฝังตัวสามารถเข้าถึงการพัฒนาแบบเฉพาะ Customized embedded Linux การสนับสนุนทางด้านธุรกิจของกลุ่มผลิตภัณฑ์ AMD G-Series ผ่าน Mentor Embedded Linux และ Sourcery CodeBench รวมถึง Mentor Embedded Linux Lite ได้ เกี่ยวกับ AMD - เอเอ็มดี เป็นผู้ออกแบบและประสานเทคโนโลยีที่ใช้ขับเคลื่อนอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แท็บเล็ต เกมคอนโซล และคลาวด์เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์แห่งยุค Surround Computing ยุคใหม่ โซลูชั่นของเอเอ็มดีจะทำให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากแอพพลิเคชั่นและอุปกรณ์ชิ้นโปรดอย่างไร้ข้อจำกัด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่ www.amd.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ