รายงานล่าสุดชี้ว่าคู่สมรสไทยควรคาดการณ์ระยะเวลาหลังเกษียณให้ยาวนานขึ้นราว 7 ถึง 11 ปี ในการวางแผนเพื่อการเกษียณอายุ

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday June 27, 2014 16:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 มิ.ย.--บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแมนูไลฟ์ Manulife Asset Management ออกรายงานผลศึกษาที่พบว่า คู่สมรสจำนวนมากในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย ประเมินช่วงเวลาวัยเกษียณไว้สั้นกว่าที่ควรจะเป็นมาก ทำให้มีโอกาสสูงที่จะเก็บเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณไม่เพียงพอ รายงานฉบับดังกล่าว ซึ่งมีชื่อว่า “Live long and prosper? Retirement and longevity risk" (อายุยืนยาวแล้วทำให้มั่งคั่งจริงหรือ? การเกษียณกับความเสี่ยงของการมีอายุยืนยาว) เป็นรายงานฉบับที่ห้าในชุด “Aging Asia” ของ Manulife Asset Management โดยคาดการณ์ช่วงอายุวัยเกษียณและประเมินความเสี่ยงที่อายุจะยืนยาวหรือความเสี่ยงที่ผู้เกษียณจะยังมีชีวิตหลังไม่มีแหล่งรายได้แล้ว สำหรับคู่สมรสในสิบประเทศแถบภูมิภาคเอเชีย ซึ่งได้แก่ จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เวียดนามและไทย Mr. Michael Dommermuth, President, International Asset Management, Manulife Asset Managemnet อธิบายว่า “เรารู้สึกว่า สถานะสมรสมักจะไม่นำมาพิจารณาในการวางแผนเกษียณกัน คนไทยส่วนใหญ่ยังคงเข้าสู่วัยเกษียณโดยมีคู่สมรสจึงจำเป็นต้องพิจารณาความเป็นไปได้ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (ซึ่งปกติจะเป็นฝ่ายภรรยาเนื่องจากผู้หญิงมีอายุขัยเฉลี่ยยาวนานกว่าผู้ชาย) จะมีอายุยืนกว่าอีกฝ่าย การไม่นำปัจจัยความเป็นไปได้ที่ฝ่ายหนึ่งจะมีอายุขัยยาวนานกว่าอีกฝ่ายมากมาพิจารณาอาจเพิ่มระดับความเสี่ยงของการยังมีชีวิตที่ยืนยาวกว่าเงินออมที่เก็บไว้ใช้หลังเกษียณ” นายต่อ อินทวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด อธิบายว่า “รายงานฉบับนี้ระบุผลศึกษาที่ว่า คู่สมรสในประเทศไทยโดยเฉลี่ยแล้วจะใช้ชีวิตวัยเกษียณร่วมกันถึง 30.2 ปี ซึ่งชี้ให้เห็นความเสี่ยงของอายุยืนยาวในระดับสูงกว่าตลาดอื่นๆ ในเอเชีย โดยส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการที่คนไทยเกษียณค่อนข้างเร็ว เนื่องจากลูกจ้างทั้งภาคเอกชนและภาครัฐจำนวนมากอยู่ภายใต้ข้อบังคับของการเกษียณเมื่ออายุครบ 60 ปี อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงอายุยืนยาวอยู่ในระดับค่อนข้างสูงในหลายตลาดเนื่องจากพบว่าค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขผลผลิตมวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per capita) ของประเทศ กับอายุขัยเฉลี่ยของคนในประเทศนั้นมีค่าสูงถึงร้อยละ 66[1] ดังนั้น อายุขัยและความเสี่ยงของการมีอายุยืนยาวในประเทศไทยอาจเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตได้ เนื่องจากคาดการณ์ว่าเป็นประเทศที่จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งและมีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นอีกหลายปีข้างหน้านี้ 2” Mr. Dommermuth กล่าวเสริมว่า “เป็นเรื่องสำคัญที่ควรตระหนักว่า แต่ละคนจะมีโอกาสถึงร้อยละ 50 ที่จะมีอายุยืนยาวกว่าระยะเวลาเฉลี่ยที่คาดไว้ ผลวิจัยของเราชี้ว่า สำหรับในไทยนั้น ความเสี่ยงที่เงินออมจะหมดลงก่อนสิ้นอายุขัยจะลดลงอย่างมาก หากคู่สมรสมีการเกษียณอายุช้าลง หรือ เพิ่มตัวแปรด้านระยะเวลาในการวางแผนทางการเงินให้ยาวนานขึ้นอีก 7 ถึง 11 ปี” อย่างไรก็ตาม หน่วยงานกำหนดนโยบายในภูมิภาคนี้ได้ดำเนินการเพื่อช่วยลดความเสี่ยงด้านการมีอายุยืนยาวของประชาชนบ้างแล้ว โดยมีรัฐบาลหลายแห่งพิจารณาเพิ่มอายุเกษียณราชการ ซึ่งแนวทางนี้อาจนำมาใช้ในไทยด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ งานวิจัยชุด “Aging Asia” ได้แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบในเรื่องความมั่นคงของรายได้ช่วงวัยเกษียณจะตกอยู่กับประชาชนมากขึ้น และหากมีการบริหารทรัพย์สินในครัวเรือนอย่างมีประสิทธิภาพโดยการแสวงหาโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร จะทำให้ช่วยลดความเสี่ยงสำหรับการมีเงินออมไม่เพียงพอไว้ใช้ยามเกษียณหากมีอายุยืนยาวได้ นายต่ออธิบายเพิ่มเติมว่า “ในฐานะผู้ให้บริการทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) ได้เป็นส่วนหนึ่งที่คอยช่วยเหลือลูกค้าในการบริหารความมั่งคั่งและสร้างโอกาสในการรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นผ่านทางเลือกการลงทุนที่สำคัญ คือ กองทุนรวม ซึ่งมีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกองทุนต่างประเทศ กองทุนหุ้นไทย และกองทุนตลาดเงิน เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถกระจายเงินลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศได้อย่างเหมาะสม ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน รวมทั้งความผันผวนของตลาดไทยในปัจจุบัน เราจึงอยากแนะนำให้ผู้ลงทุนพิจารณากระจายการลงทุนจากในประเทศไปยังตลาดต่างประเทศด้วย โดยผู้ลงทุนสามารถเลือกกองทุนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และตรงตามวัตถุประสงค์การลงทุนของผู้ลงทุนแต่ละราย ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนมีโอกาสในการสร้างมูลค่าเงินลงทุนให้สูงขึ้นสำหรับเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณ หรือ ช่วยเพิ่มแหล่งรายได้ของครัวเรือนจากโอกาสในการได้รับเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ” รายงานชุด “Aging Asia” ของ Manulife Asset Management และเอกสารที่เกี่ยวข้องอ่านรายละเอียดได้ที่ www.manulife.com/agingasia
แท็ก เอเชีย   ลาว   SET  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ