เตือนระวังเด็กเป็นคางทูมในช่วงนี้

ข่าวทั่วไป Tuesday February 3, 1998 11:24 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--3 ก.พ.--กระทรวงสาธารณสุข
ผลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ช่วงมกราคม-มีนาคม และสิงหาคม-กันยายนของทุกปีเด็กวัยเรียนและวันก่อนเรียนมีโอกาสเสี่ยงสูงเป็นคางทูม ป้องกันได้โดยนำบุตรหลานฉีดวัคซีนป้องกันที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน
นายแพทย์สมศักดิ์ วัฒนศรี ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยผลการเฝ้าระวังโรคคางทูมทางระบาดวิทยา ตั้งแต่ปี 2534-2539 มีรายงานผู้ป่วยโรคคางทูมสูงส่วนใหญ่เป็นในเด็กเล็กก่อนวัยเรียน และวัยเรียน พบมากในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม และสิงหาคม-กันยายน ซึ่งเป็นช่วงเปิดภาคเรียนของทุกปี เฉพาะปี 2540 ตั้งแต่ต้นปีถึงธันวาคม มีรายงานผู้ป่วยคางทูมจำนวน 2,477 ราย และเสียชีวิต 5 ราย
โรคคางทูม (Mumps) เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อโดยการหายใจเอาเชื้อเข้าไป และสัมผัสโดยตรงกับน้ำลายของผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำ ๆ สำหรับอัตราการตายของผู้ป่วยมักขึ้นกับการมีภาวะแทรกซ้อน และทำใหมีไข้สูง เช่น เยื่อหุ้นสมองอักเสบ เนื้อสมองอักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้มีอาการสำคัญของผู้ป่วยโรคคางทูม คือ ต่อมน้ำลายมีการอักเสบ ทำให้คางบวมโต และจะปวดบริเวณดังกล่าว ในผู้ขายบางรายอาจมีอัรฑะอักเสบ ในผู้หญิงอาจมีรังไข่อักเสบได้
เนื่องโรคคางทูมติดต่อได้ง่าย ดังนั้นการอยู่ร่วมกับผู้ป้วยจึงมีโอกาสเสี่ยงสูงติดโรคง่าย หากเป็นช่วงเปิดภาคเรียนโอกาสที่จะแพร่เชื้อสู่เพื่อนนักเรียนอื่น ๆ จึงมีมาก ดังนั้นหากมีเด็กนักเรียนเป็นคางทูม ควรให้เด็กพักการเรียนในระยะที่จะแพร่เชื้อสู่คนอื่นได้ คือ หลังจากมีอาการประมาณ 9 วัน หรือในรายที่สัมผัสหรือคลุกคลีกับผู้ป่วยควรพักอยู่บ้านประมาณ 12-25 วัน
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคคางทูม ซึ่งรวมกับวัคซีนป้องกันโรคหัดและหัดเยรมัน ที่เรียกว่าวัคซีนเอ็ม เอ็ม อาร์ (MMR) ผู้ปกครองควรนำบุตรหลานรับวัคซีนดังกล่าว เมื่อเด็กอายุ 9 เดือน และฉีดซ้ำเมื่อเด็กเริ่มเข้าาเรียนชั้นประถมปีที่ 1 ได้ตามที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน หรือตามที่แพทย์นัด ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดแผนการฉีดวัคซีนดังกล่าวไว้ในแผนการสร้างเสริมภูมิคุมกันโรคตั้งแต่ปี 2540 เพื่อเป็นการป้องกันโรค และทำให้อัตราการเกิดโรคคางทูมลดลง--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ