ส.อ.ท. หนุน สถาบัน SMI เดินเครื่องต่อเนื่อง ชูธงภารกิจสำคัญ “ยกระดับ SMEs สู่วาระแห่งชาติ”

ข่าวทั่วไป Thursday August 21, 2014 14:18 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (SMALL AND MEDIUM INDUSTRIAL INSTITUTE : SMI) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ชูธงเดินหน้าขับเคลื่อน SMEs สู่วาระแห่งชาติ พร้อมเสนอ 5 แนวทาง คือ ปรับโครงสร้างหน่วยงานที่กำกับดูแล SMEs, ด้านภาษี, ด้านกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค, ด้านการเงิน และด้านการส่งเสริมด้านการตลาด เพื่อนำไปสู่การพัฒนา SMEs ไทยอย่างยั่งยืน นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวในฐานะประธานสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต หรือ SMI ถึงภารกิจที่สำคัญ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายของการดำเนินงานของสถาบัน SMI ภายใต้การกำกับดูแลของ สภาอุตสาหกรรมฯ นั่นก็คือ “การยกระดับ SMEs สู่วาระแห่งชาติ” โดยสภาอุตสาหกรรมฯ มีความเห็นว่าการที่จะพัฒนาศักยภาพ SMEs ไทย ให้เกิดความยั่งยืนได้นั้น จะต้องให้ความสำคัญและดำเนินการดูแล SMEs 5 เรื่อง ประกอบด้วย 1. ปรับปรุงกลไกการส่งเสริม SMEs ดังนี้ 1.1 การบูรณาการการทำงานภาครัฐในการพัฒนายกระดับ SMEs โดยให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรี 1.2 สสว. ควรมีบทบาทในการกำหนดยุทธศาสตร์ของภาครัฐที่ให้การส่งเสริม SMEs อย่างชัดเจน 1.3 พิจารณาปรับปรุงกลไกการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริม SME โดยจำแนกออกเป็นหน่วยงานด้านนโยบาย (Policy Maker) หน่วยปฏิบัติ (Implementer) และหน่วยงานสนับสนุน (Support Service Provider) 1.4 กำหนดหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานให้ชัดเจน และจัดทำตัวชี้วัด SME KPI เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ว่าเป็นไปตามยุทธศาสตร์และแผนส่งเสริม SMEหรือไม่ อย่างไร 1.5 ให้แต่ละหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน บูรณาการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน (Support Program) ตามช่วงของการดำเนินธุรกิจ (Life Cycle) ของผู้ประกอบการ SMEs ผ่านแผนงานและโครงการต่างๆ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริม SMEs 1.6 จัดสรรงบประมาณแบบบูรณาการและต่อเนื่องเพื่อการส่งเสริม SMEs โดยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในหลักการงบประมาณผูกพันระยะยาว 3-5 ปี สำหรับกองทุนส่งเสริม SMEs หรืออาจพิจารณาออกกฎหมายพิเศษเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินนอกงบประมาณ เพื่อสร้างหลักประกันระยะยาวในการส่งเสริม SMEs อย่างต่อเนื่อง 1.7 ปรับแก้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินจากกองทุนส่งเสริม SMEs ให้เอื้อต่อการส่งเสริม SMEs และการทำงานร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชน โดยมุ่งให้เกิดความคล่องตัวบนพื้นฐานของธรรมภิบาลที่ดี โปร่งใส และตรวจสอบได้ 1.8 เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนแก่ผู้ประกอบการ SMEs โดยให้กระจายอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานส่งเสริม SMEs ไปสู่ภูมิภาค เพื่อให้ผู้ประกอบการในส่วนภูมิภาคสามารถเข้าถึงการให้บริการส่งเสริม SMEs ได้ง่ายและสะดวกขึ้น 2. ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา SMEs 2.1 ปรับปรุงภาษีกฎระเบียบและกฎหมายธุรกิจที่เป็นอุปสรรคภาครัฐต่อการดาเนินธุรกิจของSME · ผลักดันให้นำภาษีเงินได้นิติบุคล 1% มาใช้เป็นกองทุนในการขับเคลื่อนธุรกิจ SMEs · ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือ 10-15% ให้กับผู้ประกอบการ SMEs 2.2 สนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้ SMEs เข้าสู่ระบบ เพื่อให้ SMEs สามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐได้ง่ายขึ้น เช่น มีระยะเวลาผ่อนปรนการลงโทษให้กับ SMEs นอกระบบเพื่อให้เข้าสู่ระบบ 2.3 แก้ไขนิยามของ SME ให้เป็นนิยามเดียวกันทุกหน่วยงาน เพื่อความสะดวกในการให้บริการ 2.4 อำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนต่างๆ อาทิ การจดทะเบียน รง.4 การขึ้นทะเบียนอาหาร การจดทะเบียนพาณิชย์ เป็นต้น 2.5 การปรับลดค่าธรรมเนียมหรือค่าเบี้ยปรับต่างๆ การอำนวยความสะดวกและปรับเปลี่ยนรูปแบบการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับธุรกิจ SMEs 3. ส่งเสริมให้ SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงิน 3.1 เสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับบทบาทและเงื่อนไขการให้สินเชื่อหรือผลิตภัณฑ์ทาง การเงินของ SME Bank ให้สามารถอนุมัติสินเชื่อให้กับ SMEs ได้มากขึ้น 3.2 ปรับหลักเกณฑ์การค้ำประกันเงินกู้ของ บสย. จาก 18% เป็น 30-50% 3.3 ปรับปรุงประวัติเครดิตบูโร ของ SMEs ที่ประสบปัญหาจากการชุมนุมทางการเมืองหรือ ภัยพิบัติต่างๆ สำหรับในส่วนของสภาอุตสาหกรรมฯ เองนั้น กำลังร่วมกับสถาบันการเงินทั้งภาครัฐและเอกชน จัดทำระบบสนับสนุนทางการเงินให้กับ SMEs โดยเฉพาะสมาชิกสภาอุตสาหกรรมฯในการเข้าถึงแหล่งเงินได้ง่ายขึ้น 4. พัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจ 4.1 เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่การลดต้นทุนพลังงาน และการพัฒนาฝีมือแรงงาน 4.2 ยกระดับการผลิตสินค้าและบริการของSMEให้ได้มาตรฐาน ทั้งมาตรฐานบังคับตามที่กฎหมายกำหนดในแต่ละธุรกิจและมาตรฐานในระดับสากล 4.3 พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการและสร้างระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยี นวัตกรรมสำหรับ SME เพื่อบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน 4.4 ผลักดันให้มีการรวมกลุ่มและมีกิจกรรมที่เกื้อหนุนให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน และการดำเนินงานระหว่าง SME ด้วยกัน รวมทั้งเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการรายใหญ่ 4.5 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ทั้งงานวิจัยขั้นพื้นฐาน และงานวิจัยประยุกต์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งเร่งรัดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความสาคัญต่อการพัฒนา SME ในอนาคต 4.6 พัฒนาตราสินค้าและส่งเสริมการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา 5. สร้างโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่SME 5.1 จัดกิจกรรมแสดงและจำหน่ายสินค้า SME ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกิดการรับรู้สินค้าและกระตุ้นยอดขาย 5.2 พัฒนาและสนับสนุนให้ SME นำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ การสื่อสารการตลาด การประชาสัมพันธ์ และระบบการค้ารูปแบบใหม่ 5.3 พัฒนาศักยภาพของSME ในการเข้าสู่การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ 5.4 สนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้SME ที่มีศักยภาพให้มีโอกาสในการแสวงหาลู่ทางการค้าและการลงทุนในต่างประเทศ 5.5 ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตเศรษฐกิจชายแดนและพื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสามารถใช้ประโยชน์จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน 5.6 ส่งเสริมย่านการค้าเพื่อส่งเสริม SME ที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยสถาบัน SMI มีกิจกรรมที่เป็นแผนงานและกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่แล้วในการส่งเสริมและพัฒนา SMEs โดยอาศัยความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการผลักดันให้ SMEs เป็นวาระแห่งชาติดังนี้ เพิ่มผลิตภาพของธุรกิจ การนำเสนอ Best Practice Sharing ของสมาชิก ส.อ.ท. ในรายที่ประสบความสำเร็จจากการเพิ่มผลิตภาพในด้านต่างๆเพื่อให้ SMEs ได้เรียนรู้กระบวนการนั้นๆจากธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากประสบการณ์ตรง การสร้างเครือข่ายระบบที่ปรึกษา / SMEs Clinic เพื่อให้คำแนะนำปรึกษา SMEs เฉพาะด้าน ในเรื่องต่างๆทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้างทั่วไป เพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่SME การตลาดในประเทศ - จัดงาน SMEs Outlet Fair เพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขายให้ผู้ประกอบการ SMEs และกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ - เชื่อมโยงผู้ประกอบการ SME เข้าสู่ช่องทางการตลาดขนาดใหญ่ เช่น CP All การตลาดต่างประเทศ - ส่งเสริมให้ SMEs ขยายตลาดไปต่างประเทศมากขึ้น โดยผ่านโครงการ SMEs Pro-Active ร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับเสียงตอบรับจาก SMEs เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้สภาอุตสาหกรรมฯได้เสนอต่อคณะกรรมการโครงการฯ ร่วมกับหน่วยร่วมอื่นๆในการขอให้ทางคณะกรรมการโครงการฯ มีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์บางประการ เพื่อให้ SMEs ส่วนใหญ่เข้าถึงโครงการได้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้มีการปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว - ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน ASEAN SME Expo ในเวที ASEAN-SME Advisory Board เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเป็นผู้นำ SMEs ของไทยใน ASEAN ทั้งนี้สภาอุตสาหกรรมฯ ได้เสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ในการผลักดันให้สสว.ปรับปรุงโครงสร้างการทำงานให้บูรณาการกับหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ SMEs โดยขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว ซึ่งอย่างไรก็ตามในระหว่างรอมาตรการ หรือนโยบายในการช่วยเหลือ SMEs ที่เริ่มทยอยออกมานั้น สถาบัน SMI ในฐานะภาคเอกชนซึ่งมีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการดูแล ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ในภาคการผลิต ได้เริ่มเดินหน้าผลักดันในการพัฒนาศักยภาพ SMEs ไทยใน 6 เรื่องข้างต้นแล้ว นายศักดิ์ชัย ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า บทบาทของสถาบัน SMI คือ เป็นหน่วยงานภายใต้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2551 และเริ่มดำเนินงานในปี 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการดูแล ส่งเสริมและพัฒนา ผู้ประกอบการ SMEs ในภาคการผลิต โดยมุ่งเน้นไปที่สมาชิกของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนสมาชิกกว่าร้อยละ 85 ที่เป็นผู้ประกอบการ SMEs และปัจจุบันทางสถาบันฯ ยังได้ทำหน้าที่ดูแลครอบคลุมไปยัง SMEs ทั่วประเทศด้วย ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา สถาบัน SMI ได้ร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนา SMEs ไทย มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งความร่วมมือจากหน่วยงานจากภาครัฐ เอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษา ผ่านการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรม Workshop พารวย ที่มุ่งเพิ่ม Productivity ให้กับ SMEs กิจกรรม SME Clinic ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่ SMEs โดยมีผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของประเทศกว่า 30 คนให้คำปรึกษา และมีการลงไปให้คำปรึกษาเชิงลึกภายในโรงงานให้กับสถานประกอบการกว่า 50 โรงงานทั่วประเทศมีกิจกรรมการเตรียมพร้อมเข้าสู่ AEC เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมด้านข้อมูลสำหรับ SMEs ในการเข้าสู่ AEC โดยการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปิด AEC ให้กับ 30 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 10 จังหวัดเชื่อมโยงการค้าชายแดน การผลักดัน SMEs ขยายธุรกิจสู่ International Marketing ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เตรียมความพร้อมเรื่องการค้าและการลงทุนในต่างประเทศให้กับ SMEs ในประเทศอาเซียนและกลุ่มประเทศ BRICs อาทิ รัสเซีย และอินเดีย เป็นต้น “ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา สถาบัน SMI เดินหน้าด้วยเจตนารมย์อันแน่วแน่ที่จะเป็นศูนย์กลางในการดูแล ส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ในภาคการผลิตไม่เพียงเฉพาะสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมฯ แต่เรามองถึง SMEs ทั้งหมดของไทย และในปี 2557 นี้ สถาบัน SMI ยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นกำลังเสริมให้แก่ SMEs ไทย ผ่านการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ SMEs ในรูปแบบต่างๆ อาทิ กิจกรรม Workshop พารวยปีที่ 3 ที่มุ่งส่งเสริม SMEs ทั่วประเทศให้สามารถวิเคราะห์ศักยภาพ/ต้นทุน รวมถึงมีแผนงานในการลดต้นทุน Logistics ในสถานประกอบการของตนเองได้ กิจกรรม SMEs Pro-Active ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุน SMEs ในการขยายฐานลูกค้าไปยังต่างประเทศผ่านงานแสดงสินค้าทั่วโลกในรูปแบบของ Thailand Pavilion กว่า 270 งาน โดยในปี 2557 นี้ มี SMEs ยื่นความจำนงค์ขอเงินสนับสนุนถึง 1,300 ราย งบประมาณกว่า 100 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีโครงการเชื่อมโยงกลุ่มอุตสาหกรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน ภายใต้โครงการสร้างเครือข่ายกลุ่มอุตสาหกรรมและยกระดับความร่วมมือคุณค่าโซ่อุปทาน เพื่อสร้างโอกาสและเตรียมความพร้อมเรื่องการค้าและการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน ให้กับ SMEs โดยการผลักดันในรูปแบบของคลัสเตอร์ โดยเลือก พม่า และเวียดนาม เป็นประเทศนำร่อง และเลือกอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมเครื่องจักรโลหะการ เป็นอุตสาหกรรมนำร่อง โครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพกลาง สาขาผลิตภัณฑ์ยางพารา (อุตสาหกรรมยางล้อและชิ้นส่วนยางสำหรบยานยนต์และงานวิศวกรรม) ให้กลุ่มอาชีพมีมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตขององค์กร รวมถึงโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการของสถานประกอบการ เพื่อพัฒนาศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบการด้านการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ให้สามารถลดต้นทุนและเพิ่มกำไรได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 โดยดำเนินการใน 68 โรงงานในพื้นที่ 4 จังหวัดคือ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี และนนทบุรี ซึ่งในอนาคตมีเป้าหมายในการขยายพื้นที่ดำเนินการให้มากขึ้นด้วย” นายศักดิ์ชัย กล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ