1.3 หุ้นสามัญของบริษัทสยามเหล็กรีดเย็นครบวงจร จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 264 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเพิ่มทุน จำนวน 66 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 10 บาท รวม 3,300 ล้านบาท โดยคณะ กรรมการฯ ได้กำหนดเงื่อนไขการรับหลักทรัพย์ ดังนี้ - กำหนดจำนวนการห้ามขายหุ้นของผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นจำนวนรวมกันเท่ากับร้อยละ 55 ของทุนชำระแล้ว (3,300 ล้านบาท) จนกว่าบริษัทจะมีการลงทุนครบตามต้นทุน โครงการ และมีรายได้เชิงพาณิชย์จากการประกอบธุรกิจครบ 1 ปี - เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต + กำหนดให้ผู้ถือหุ้นและผู้บริหารหลักของบริษัท ได้แก่ นายสม ศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล รับรองต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าจะไม่ประกอบธุรกิจผลิตนำเข้าและจำหน่ายเหล็กแผ่นรีด เย็นใด ๆ ที่เป็นการแข่งขันกับธุรกิจของบริษัทภายใต้การดำ เนินงานของบริษัทอื่น นอกจากบริษัทสยามเหล็กรีดเย็นครบวง จร จำกัด (มหาชน) เท่านั้น + กำหนดให้บริษัทรับรองว่ารายการธุรกรรมระหว่างบริษัท กับบริษัทที่เกี่ยวข้องหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกรรมการ หรือ ผู้บริหาร จะเป็นไปตามราคาตลาด ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้ กับรายการที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอกและ ไม่ทำให้ผู้ถือหุ้น รายย่อยเสียผลประโยชน์ โดยให้กรรมการอิสระของบริษัท เป็นผู้ดูแลรายการดังกล่าว พร้อมทั้งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบ รายการดังกล่าว และรายงานในงบการเงินประจำปี - กำหนดให้บริษัทแก้ไขและ Update ข้อมูล ตลอดจนเปิดเผยข้อ มูลให้ผู้ลงทุนได้ทราบในหนังสือชี้ชวนของบริษัทในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ + พิจารณาแก้ไขนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่ระบุว่าบริษัทจะเริ่ม จ่ายเงินปันผลตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นไป เนื่องจากในปี 2542 บริษัทยังมีการขาดทุนสะสมอยู่ ซึ่งไม่น่าจะสามารถจ่าย เงินปันผลได้ + Update เงื่อนไขการกู้ยืมเงินและอัตราดอกเบี้ย ซึ่งได้มา จากสถาบันการเงินต่างประเทศล่าสุด ตลอดจน Update ประมาณการความต้องการ และกำลังการผลิตเหล็กแผ่นรีด เย็นในอนาคต และให้ Verify โดยผู้จัดทำรายงานการ ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ + เปิดเผยข้อมูลให้ผู้ลงทุนทราบที่มาของการคำนวณ Terminal Value ในรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ - กำหนดให้บริษัทวิเคราะห์ความเสี่ยงของอุตสาหกรรมและของ โครงการ และเปิดเผยเพื่อให้ผู้ลงทุนได้ทราบอย่างชัดเจน โดยให้นำเสนอแยกเป็นส่วนพิเศษเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวน ของบริษัทในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ + ความเสี่ยงด้านความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยและอัตรา แลกเปลี่ยนพร้อมทั้งให้จัดทำ Sensitivity Analysis สำ หรับกรณีที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น และอัตราแลกเปลี่ยนเงิน บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐเปลี่ยนแปลงลดลงจากข้อสมมติฐานใน ประมาณการ + ความคืบหน้าของโครงการและความเสี่ยงจากความล่าช้า ของโครงการ - กำหนดให้บริษัทรายงานความคืบหน้าของโครงการ และการใช้ เงินทุนทุกไตรมาสภายใน 45 วัน นับจากวันสิ้นไตรมาส พร้อมกับ การนำส่งงบการเงินรายไตรมาสของบริษัท จนกว่าโครงการจะ สามารถเริ่มมีรายได้เชิงพาณิชย์ - ให้บริษัทดำเนินการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์แจ้งผลการพิจารณาให้ บริษัททราบ และบริษัทจะต้องได้รับอนุมัติ EIA Report เป็นที่ เรียบร้อยก่อนที่ตลาดหลักทรัพย์จะอนุมัติรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน และเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ หากในช่วง เวลาดังกล่าวมีเหตุการณ์ใดที่เป็นผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อ การดำเนินธุรกิจ ตลอดจนผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน ของบริษัท ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาลักษณะของหลักทรัพย์และ คุณสมบัติของบริษัทในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เสมือนหนึ่งในบริษัทที่ยื่นคำขอใหม่ 2. มีมติให้ขยายเวลาผ่อนผันอัตรา Maintenance Margin ตามที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ในการประชุมเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2539 ได้มีมติให้ขยายเวลาการผ่อนผัน Maintenance Margin ใน ส่วนของอัตราที่ต้องเรียกหลักประกันเพิ่มที่เท่ากับร้อยละ 25 และอัตราที่ต้องบัง คับขายที่เท่ากับร้อยละ 15 โดยให้ขยายเวลาออกไปอีกถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2539 เท่านั้น เนื่องจากในปัจจุบันอัตราหลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) ที่กำหนดไว้ ณ ที่ระดับร้อยละ 40 ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลง จึงเห็นควรให้ผ่อนผันอัตรา ที่ตัองเรียกหลักประกันเพิ่มเท่ากับร้อยละ 25 และอัตราที่ต้องบังคับขายเท่ากับ ร้อยละ 15 โดยให้ขยายเวลาการผ่อนผัน ดังกล่าวออกไปอีกจนถึงวันที่ 30 มิ ถุนายน 2540 3. แนวทางดำเนินการของตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับบริษัทจดทะเบียนที่ อยู่ในข่ายถูกเพิกถอนและได้รับผ่อนผันให้ขยายเวลานำส่งแผนดำเนินการ คณะกรรมการการตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2539 ได้อนุมัติผ่อนผันระยะเวลาการส่งแผนดำเนินการให้แก่บริษัทจดทะเบียนที่อยู่ใน ข่ายอาจถูกเพิกถอนจากตลาดหลักทรัพย์ดังนี้ - บริษัทจดทะเบียนที่มีรอบระยะเวลาบัญชีวันที่ 31 ธันวาคม 2538 ให้นำส่งแผนดำเนินการภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2539 - บริษัทจดทะเบียนที่รอบระยะเวลาบัญชี สิ้นสุดหลังวันที่ 31 ธันวา คม 2538 ให้นำส่งแผนดำเนินการไม่เกิน 1 ปี นับจากวันสิ้น สุดรอบระยะเวลาบัญชี หากครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วบริษัท ไม่สามารถนำส่งได้ให้ตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการเพื่อให้มีการ เพิกถอนบริษัทดังกล่าวต่อไปนั้น คณะกรรมการการตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2539 ได้พิจารณาแล้วมีมติให้ดำเนินการในกรณีบริษัทจดทะเบียนไม่สามารถนำส่ง แผนดำเนินการภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2539 หรือภายในกำหนดเวลาที่ได้รับผ่อน ผัน ให้ตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการดังนี้ (ยังมีต่อ)