นิด้าโพล เผยผลวิจัย “สินบนแลกใบสั่งจราจร”

ข่าวทั่วไป Monday October 20, 2014 10:17 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 ต.ค.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “สินบนแลกใบสั่งจราจร” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16 – 17 ตุลาคม 2557 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,249 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับนโยบายให้เงินรางวัล 1 หมื่นบาท แก่ผู้ที่มีหลักฐานการเสนอให้ – รับ สินบน ทั้งผู้ขับขี่และเจ้าหน้าที่ตำรวจ อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็น โดยใช้วิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนโยบายให้เงินรางวัล 1 หมื่นบาท กับตำรวจที่มีหลักฐานว่าผู้ขับขี่ให้สินบนแลกใบสั่งจราจร พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.79 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ถือเป็นหน้าที่ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องปฏิบัติอยู่แล้ว ไม่ควรยึดเอาเรื่องเงินรางวัลเป็นตัวตั้ง และเป็นช่องโหว่ให้กับเจ้าหน้าที่ที่ไม่หวังดีกลั่นแกล้งประชาชนหรือผู้ขับขี่ และหรือถือโอกาสปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตำรวจอาจถูกประชาชนมองภาพลักษณ์ไปในทางที่ไม่ดี ควรปล่อยให้เป็นไปตามกฎหมาย ผิดก็ว่ากันไปตามผิดและหลักฐาน ขณะที่ ร้อยละ 33.97 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ เป็นการช่วยลดปัญหาการกระทำผิดกฎจราจรของผู้ขับขี่ รวมไปถึงการลดปัญหาการเรียกสินบนของเจ้าหน้าที่ การขับขี่และการจราจรจะได้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้นเป็นการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร และ ร้อยละ 4.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อแนวคิดนโยบายให้เงินรางวัล 1 หมื่นบาท กับผู้ขับขี่หรือประชาชนทั่วไป ที่มีหลักฐานตำรวจเรียกสินบนแลกใบสั่งจราจร พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.95 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ เป็นการช่วยลดปัญหาการถูกข่มขู่ รีดไถจากตำรวจ เป็นการช่วยกันสอดส่องดูแลมิให้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจในทางมิชอบ จะได้มีความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย ตำรวจจะได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ขณะที่ ร้อยละ 36.69 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นการสร้างความแตกแยกระหว่างประชาชนกับตำรวจ ควรปล่อยให้เป็นไปตามกฎหมาย ผู้ขับขี่ควรมีวินัยในการขับขี่และปฏิบัติตามกฎจราจร และ ร้อยละ 3.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายที่สุดเมื่อถามถึง กรณีโดนตำรวจเรียกเพื่อออกใบสั่งฐานทำผิดกฎจราจร จะทำอย่างไร พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.25 ระบุว่า จะรับใบสั่งโดยไม่โต้แย้งและนำไปชำระค่าปรับตามกฎหมาย รองลงมา ร้อยละ 13.83 ระบุว่า อธิบายเหตุผลของการทำผิดกฎจราจร และอ้อนวอนตำรวจไม่ให้ออกใบสั่ง ร้อยละ 2.16 ระบุว่า จะเสนอให้สินบนตำรวจ ร้อยละ 0.40 ระบุว่า รับใบสั่งมาแล้วนำไปให้คนรู้จักที่เป็นตำรวจช่วยเพื่อไม่ต้องเสียค่าปรับหรือเสียค่าปรับน้อยลง ร้อยละ 0.64 ระบุว่า อื่น ๆ เช่น อ้างว่ารู้จักหรือเป็นลูกหลานคนใหญ่คนโตในบ้านเมืองหรือในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ยื่นบัตรแสดงตนว่าเป็นคนสำคัญระดับประเทศ เพื่อให้ตำรวจอำนวยความสะดวก ข่มขู่ว่าจะฟ้องฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ สอบถามถึงสาเหตุความผิดตามหลักฐานที่ปรากฎ และ ร้อยละ 1.28 ไม่ระบุ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 19.98 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 19.98 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 20.06 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 19.98 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ร้อยละ 19.98 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 55.48 เป็นเพศชาย และ ร้อยละ 44.52 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 7.69 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 30.69 มีอายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 49.07 มีอายุ 40 – 59 ปี และ ร้อยละ 12.55 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 93.11 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 5.67 นับถือศาสนาอิสลาม และ ร้อยละ 1.22 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 26.28 สถานภาพโสด ร้อยละ 71.05 สถานภาพสมรสแล้ว และร้อยละ 2.68 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 26.36 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.87 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 11.35 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 28.55 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และ ร้อยละ 4.87 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่าง ร้อยละ 15.91 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.26 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.97 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.99 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.80 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.42 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ ร้อยละ 3.65 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 12.63 ระบุว่าไม่มีรายได้ ร้อยละ 22.70 มีรายได้ต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 29.42 มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 12.07 มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.20 มีรายได้ ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 8.95 มีรายได้ต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และ ร้อยละ 9.03 ไม่ระบุรายได้
แท็ก นิด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ