มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สำรวจความพึงพอใจของแกนนำชุมชนต่อผลงานรัฐบาล และของขวัญปีใหม่ที่อยากให้นายกรัฐมนตรี

ข่าวทั่วไป Monday December 22, 2014 13:06 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ธ.ค.--มาสเตอร์โพลล์ รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง สำรวจความพึงพอใจของแกนนำชุมชนต่อผลงานรัฐบาลและของขวัญปีใหม่ที่อยากให้นายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 629 ชุมชน โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 11-19 ธันวาคม 2557 พบว่า สำหรับคะแนนความพึงพอใจโดยเฉลี่ยของแกนนำชุมชนต่อผลการดำเนินงานของรัฐบาลและ คสช. จากการสำรวจครั้งล่าสุดนี้พบว่าได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.46 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน และเมื่อพิจารณาในด้านต่างๆ พบประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณา ดังต่อไปนี้ คะแนนความพึงพอใจต่อผลงานด้านการบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนของประชาชน เมื่อคะแนนเต็ม 10 พบว่า อันดับที่ 1 ได้แก่ การดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้กับประชาชนในพื้นที่ ได้ 8.10 คะแนน อันดับที่ 2 ได้แก่ การปรับปรุงคุณภาพการให้บริการประชาชนของข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ และการดำเนินงานตามเรื่องร้องเรียนของประชาชน ได้ 8.07 คะแนนเท่ากัน อันดับที่ 3 ได้แก่ การแก้ไขปัญหาการเรียกรับผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่รัฐระดับล่าง ได้ 7.94 คะแนน อันดับที่ 4 ได้แก่ การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเรื่องที่ดินทำกิน ได้ 7.83 คะแนน และอันดับสุดท้าย ได้แก่ การแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ทั้งข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย ได้ 7.53 คะแนน ตามลำดับ คะแนนความพึงพอใจต่อผลงานด้านการเมือง พบว่า อันดับที่ 1 ได้แก่ การส่งเสริมความรักความสามัคคีของคนในชาติ ได้ 8.35 คะแนน อันดับที่ 2 ได้แก่ ความพยายามในการยุติความรุนแรงและลดปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ และการบริหารราชการแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้อย่างเป็นรูปธรรม ได้ 8.28 คะแนนเท่ากัน อันดับที่ 3 ได้แก่ ความพยายามในการสร้างความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาล ได้ 8.16 คะแนน และรองๆ ลงมาด้านการเมือง ได้แก่ การเดินทางเยือนต่างประเทศของนายกรัฐมนตรีเพื่อสร้างความเข้าใจและกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ได้ 8.14 คะแนน ความคืบหน้าในการดำเนินงานปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้านของ สปช. ได้ 8.10 คะแนน การขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ประชาชน สื่อสารมวลชน ได้ 8.08 คะแนน การป้อกงันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่างๆ ของรัฐ ได้ 8.07 คะแนน และการจัดการปัญหาการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ได้ 8.03 คะแนน ตามลำดับ คะแนนความพึงพอใจต่อผลงานด้านเศรษฐกิจ พบว่า อันดับที่ 1 ได้แก่ การเตรียมความพร้อมด้านความรู้ การศึกษา วิชาชีพ และความชำนาญของประชาชน เพื่อเตรียมรับประชาคมอาเซียน ได้ 8.13 คะแนน อันดับที่ 2 ได้แก่ มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ ได้ 8.07 คะแนน อันดับที่ 3 ได้แก่ การลงทุนระยะยาวเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและระบบการคมนาคมขนส่ง ได้ 8.06 คะแนน อันดับที่ 4 ได้แก่ การสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน และการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ได้ 8.00 คะแนนเท่ากัน อันดับที่ 5 ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริมการส่งออก และการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ได้ 7.96 คะแนน และรองๆ ลงมาด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องแหล่งเงินทุน และสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ได้ 7.95 คะแนน การตรวจสอบและกำกับดูแลความโปร่งใสในการบริหารจัดการด้านพลังงาน ได้ 7.94 คะแนน การยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน การเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน เพิ่มราคาขาย เพิ่มผลกำไรให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ได้ 7.92 คะแนน และการจัดโซนนิ่งพื้นที่และประเภทของพืชที่จะเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ได้ 7.85 คะแนน ตามลำดับ คะแนนความพึงพอใจต่อผลงานด้านสังคม พบว่า อันดับที่ 1 ได้แก่ การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และการส่งเสริมค่านิยมความเป็นไทย 12 ประการ ได้ 8.50 คะแนน การปราบปรามจับกุมอาวุธสงคราม ได้ 8.22 คะแนน อันดับที่ 3 ได้แก่ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ได้ 8.18 คะแนน อันดับที่ 4 ได้แก่ การป้องกันการลักลอบการค้าสัตว์ป่าและซากสัตว์ ได้ 8.09 คะแนน อันดับที่ 5 ได้แก่ การจัดระเบียบกฎหมายที่ล้าสมัย ปรับปรุงร่างกฎหมายใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและหลักสากล และการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม ให้เป็นที่ยอมรับ ได้ 8.04 คะแนนเท่ากัน และอันดับรองๆ ลงไปด้านสังคม ได้แก่ การบริหารจัดการน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง ได้ 7.91 คะแนน และการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ 7.83 คะแนน ตามลำดับ เมื่อสอบถามตัวอย่างแกนนำชุมชนต่อไปถึงบุคคลใน คสช.และรัฐบาลที่ต้องการจะให้ของขวัญปีใหม่มากที่สุด พบว่า อันดับที่ 1 หรือร้อยละ 93.0 ระบุอยากให้ของขวัญกับนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มากที่สุด รองลงมาหรือร้อยละ 5.0 ระบุอยากให้ของขวัญทั้งคณะ และร้อยละ 2.0 ไม่อยากให้ของขวัญใครเลย และเมื่อถามต่อไปว่าอยากได้รับของขวัญจากใครมากที่สุดใน คสช.และรัฐบาล พบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 85.9 ระบุต้องการได้รับของขวัญจากนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 7.2 ระบุอยากได้ของขวัญจากทั้งคณะ และร้อยละ 6.9 ไม่อยากได้ของขวัญจากใครเลย อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงของขวัญที่อยากจะมอบให้กับนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า อันดับที่ 1 หรือร้อยละ 60.9 อยากให้กำลังใจเป็นของขวัญปีใหม่กับนายกรัฐมนตรี ให้ทำงานเพื่อประเทศชาติให้สำเร็จ อันดับที่ 2 หรือร้อยละ 11.5 อยากให้คำอวยพร ให้มีความสุข อายุยืน สุขภาพแข็งแรง อันดับที่ 3 หรือร้อยละ 10.2 จะเป็นประชาชนที่ดี และรองๆ ลงไป ได้แก่ ให้รอยยิ้ม (ร้อยละ 7.4) ให้ความจริงใจ (ร้อยละ 5.8) ช่วยให้ความหวังของนายกรัฐมนตรีเป็นจริง (ร้อยละ 2.5) และอื่นๆ อาทิ ให้ดอกไม้ ให้พระเครื่อง ให้อาหารบำรุงสุขภาพ กระเช้าของขวัญ (ร้อยละ 1.7) ตามลำดับ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ