สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปประจำสัปดาห์ที่ 15 - 19 ธ.ค. 2557 และแนวโน้มในสัปดาห์ที่ 22 - 26 ธ.ค. 2557

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 22, 2014 15:58 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ธ.ค.--ปตท. สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) ลดลง 5.20 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 55.91 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เบรนท์ (Brent) ลดลง 3.98 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 60.58 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลและราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) ลดลง 5.50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 56.83 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ลดลง 4.69 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 68.33 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลและน้ำมันดีเซลลดลง 5.06 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 73.90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบได้แก่ : ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ นาย Abdullar al-Badri เลขาธิการกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก (OPEC) แถลงว่าสมาชิกกลุ่มOPEC ทั้ง 12 ประเทศยังคงรักษาระดับการผลิตน้ำมันดิบของตนถึงแม้ราคาน้ำมันดิบจะลดลงเกือบ 50% จากเดือน มิ.ย. 57 นอกจากนี้ นาย Suhail Al-Mazrouei รัฐมนตรีพลังงานของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แถลงว่ากลุ่ม OPEC จะไม่ปรับลดเพดานการผลิตลง ถึงแม้ราคาน้ำมันดิบจะอยู่ที่ราคา 40 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยที่ OPEC จะคงยืนราคาไว้อย่างน้อย 3 เดือน จึงจะมีการประชุมฉุกเฉินสำนักวิเคราะห์ทางด้านน้ำมัน JBC Energy รายงานปริมาณผลิตน้ำมันดิบของ OPEC ในไตรมาส 4/2557 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 30.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยที่เพดานการผลิตอยู่ที่ 30.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ผลิตเกินเพดาน 0.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ) อย่างไรก็ตาม JBC คาดการณ์ว่าในไตรมาส 1/2558 OPEC อาจลดกำลังการผลิตลง 0.08 ล้านบาร์เรลต่อวัน กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ รายงานปริมาณผลิตน้ำมันดิบภายในประเทศสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 12 ธ.ค. 57 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 19,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ระดับ 9.14 ล้านบาร์เรลต่อวัน นับเป็นปริมาณการผลิตของสหรัฐฯ ที่สูงที่สุดในรอบ 31 ปี นอกจากนี้สหรัฐฯ นำเข้าน้ำมันดิบลดลงจากเดือนก่อน 560,000 บาร์เรลอยู่ที่ระดับ 7.10 ล้านบาร์เรลต่อวันสำนักสถิติแห่งชาติของจีนรายงานผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) ในเดือน พ.ย. 57 ลดลงจากเดือน ต.ค. 57 ประมาณ 0.5% อยู่ที่ระดับ 7.2% และการลงทุนในสินทรัพย์คงทน (Fixed-Asset Investment)ในช่วงเดือน ม.ค. – พ.ย. 57 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.1% อยู่ที่ระดับ 15.8% ธนาคาร HSBC Holdings Plc. ร่วมกับ Markit Economics รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตเบื้องต้น (Flash Manufacturing Purchasing Managers’ Index - PMI) ของจีนในเดือน ธ.ค. 57 ลดลงจากเดือนก่อน 0.5 จุด อยู่ที่ระดับ 49.5 จุด ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน 15 ธ.ค. 2557 ธนาคารกลางรัสเซียปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (key interest rate) อยู่ที่ระดับ 17% จากระดับก่อนหน้านี้อยู่ที่ 10.5% เพื่อแก้ไขปัญหาอัตราเงินเฟ้อ ล่าสุดรัสเซียประสบปัญหาค่าเงินรูเบิลตกต่ำจนเป็นเหตุให้กระทรวงการคลัง ต้องขายเงินสำรองเงินตราต่างประเทศส่วนหนึ่งเป็นมูลค่ากว่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อพยุงค่าเงินในประเทศ ทั้งนี้รัสเซียประสบปัญหาทางเศรษฐกิจขั้นรุนแรงจากราคาน้ำมันดิบตกต่ำ และการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปส่งผลให้รัสเซียใกล้เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก Intercontinental Exchange (ICE) รายงานการลงทุนสัญญาน้ำมันดิบ Brent ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ICEที่ลอนดอน สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 ธ.ค. 57 นักลงทุนปรับเพิ่มสถานะการเข้าซื้อสุทธิ (Net Long Position) เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 15,024 สัญญา อยู่ที่ 95,479 สัญญา สูงสุดในรอบ 12 สัปดาห์สำนักข่าว Thomson Reuters ร่วมกับUniversity of Michigan รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Preliminary Consumer Sentiment Index) ของสหรัฐฯ เบื้องต้นในเดือน ธ.ค. 2557 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 5.0 จุด มาอยู่ที่ 93.8 จุด สูงสุดในรอบ 8 ปี บ่งชี้ถึงความมั่นใจของผู้บริโภคที่ดีขึ้นหลังจากที่ราคาน้ำมันโลกปรับตัวลดลงและดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่ากระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ รายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ธ.ค. 57 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 6,000 ราย อยู่ที่ระดับ 289,000 ราย แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 19 ธ.ค. 57 ปรับลดลงโดยระดับราคาน้ำมันที่ลดลงนั้นจูงใจให้การบริโภคเพิ่มขึ้นในเอเชีย ขณะที่ผู้บริโภคในสหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะซื้อรถยนต์ขนาดใหญ่ที่กินน้ำมันมากขึ้นทั้งนี้ภาวะอุปทานล้นตลาดยังเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมัน และสำนักข่าว BBC รายงานอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันดิบในทะเลเหนือประสบปัญหาอย่างรุนแรงเพราะการลงทุนใหม่ถูกระงับ และลดการจ้างงานหลายตำแหน่ง นอกจากนั้นWoodMckenzie ระบุบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ทั่วโลกได้ประกาศลดวงเงินลงทุน (spending cut) ในปี 57 แล้วกว่า 9พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และวงเงินรวมที่มีแผนต้องปรับลดในปี 58 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลง 37% จากปี 57 อย่างไรก็ตามวันศุกร์ที่ 19 ธ.ค. นักลงทุนเข้าซื้อเก็งกำไรจาก short position หลังราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมาลดลงต่ำสุดในรอบ 5 ปี ขณะที่ผู้ว่าการรัฐ North Dakota ซึ่งเป็นมลรัฐที่ผลิตน้ำมันดิบใหญ่อันดับ 2 ของสหรัฐฯ ที่ระดับ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน แสดงความเชื่อมั่นว่าการผลิตน้ำมันดิบจะไม่ปรับลดลง เพราะจุดคุ้มทุนของแหล่งผลิตในมลรัฐต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน อีกทั้งผู้ผลิตใน North Dakota อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการเว้น Oil Extraction Tax เพราะราคาน้ำมันดิบตกต่ำ เป็นปัจจัยช่วยลดต้นทุนการผลิต แนวโน้มสัปดาห์นี้ทางเทคนิคคาดว่าราคาน้ำมันดิบ Brent เคลื่อนไหวในกรอบ 57.60-63.50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ WTI อยู่ที่ระดับ 49.60-57.80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันเบนซินปรับลดลงจาก โรงกลั่นของประเทศโอมาน Mina Al Fahal 106,000 บาร์เรลต่อวัน กลับมาเดินเครื่องในวันที่ 18 ธ.ค. ภายหลังการซ่อมแซมเหตุเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. และInternational Enterprise Singapore (IES) รายงานปริมาณสำรอง Light Distillates เชิงพาณิชย์ของสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 17 ธ.ค. 57 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.29 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 11.15 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ นอกจากนี้ Petroleum Association Of Japan รายงานปริมาณการผลิตเบนซินในช่วงสัปดาห์ที่ 7-13 ธ.ค. 2557 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 10.3% อยู่ที่ระดับ 7.12 ล้านบาร์เรล โดยญี่ปุ่นส่งออกเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 16.4%อยู่ที่ 512,515 บาร์เรล อย่างไรก็ตามบริษัทน้ำมันแห่งชาติอินเดีย Indian Oil Corp ประกาศลดราคาน้ำมันขายปลีกเบนซิน 2 Rupee/Ltr มาอยู่ที่ 61.33 Rupee/Ltr (31.78 Baht/Ltr) มีผลตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค. 57 สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลงจาก อุปทานในตลาดมีมากรอการขายโดยประเทศผู้ผลิตในตะวันออกกลางอาทิ บาห์เรน คูเวต และอินเดียออกประมูลขาย กอปรกับ PJK รายงานปริมาณสำรอง Gas Oil ในยุโรปบริเวณ ARA สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 ธ.ค. 57 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 3.2% อยู่ที่ 19.8 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม Energy Aspects รายงานอุปสงค์ Gasoil ของอินเดียในเดือน พ.ย. 57 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 3% อยู่ที่ 1.5ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากภาคเกษตร และประมงฟื้นตัวภายหลังจากที่ใด้รับผลกระทบจากพายุไซโคลน Hudhudเมื่อเดือน ต.ค. 57 และ IES รายงานปริมาณสำรอง Middle Distillates เชิงพาณิชย์ของสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่17 ธ.ค. 57 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 0.8 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 7.8 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบเกือบ 1 ปี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ