“การเก็บภาษีสถาบันกวดวิชา”

ข่าวทั่วไป Monday December 22, 2014 16:21 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ธ.ค.--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การเก็บภาษีสถาบันกวดวิชา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15 – 16 ธันวาคม 2557 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,251 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเก็บภาษีสถาบันกวดวิชา ตามข้อเสนอแนะของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อให้เกิดการจัดการระบบการศึกษาทั้งระบบอย่างยั่งยืน อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลกับสถาบันกวดวิชา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.19 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ สถาบันกวดวิชาถือเป็นสถานประกอบการในเชิงพาณิชย์หรือธุรกิจ บางสถาบันเรียกเก็บค่าเรียนสูงมาก เมื่อมีรายได้ ก็ควรจะเสียภาษีให้กับรัฐบาลเพื่อนำภาษีไปพัฒนาประเทศ รองลงมา ร้อยละ 25.90 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ เมื่อมีการเรียกเก็บภาษี สถาบันกวดวิชาอาจจะเก็บค่าเรียนเพิ่มขึ้น จะเป็นการสร้างภาระให้กับผู้ปกครองเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และยังถือเป็นสถาบันการส่งเสริมการเรียนให้กับเด็ก อีกทั้งสถาบันกวดวิชามีค่าใช้จ่ายที่สูงในการจ้างบุคลากร ครู อาจารย์ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ จึงไม่ควรเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม และ ร้อยละ 5.91 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับ ครู/อาจารย์ ที่ไปสอนพิเศษตามสถาบันกวดวิชา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.51 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ ถือเป็นกฎหมายที่บังคับใช้อยู่แล้วกับผู้ที่มีรายได้ในอัตราที่ต้องเสียภาษี โดยเฉพาะ ถ้าหากเป็นการสอนพิเศษแบบประจำตามสถาบันกวดวิชา รองลงมา ร้อยละ 33.09 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ถือเป็นรายได้เสริมของครู/อาจารย์ และปกติก็เสียภาษีอยู่แล้ว อาจเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อน และครู/อาจารย์ บางรายก็มีค่าใช้จ่ายมากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และร้อยละ 6.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุผลของเด็กและเยาวชนไทยที่ต้องไปเรียนพิเศษ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.48 ระบุว่า เป็นเพราะเด็กต้องการความรู้เพิ่มเติม ตลอดจนเทคนิค วิธีการคิด การจดจำ ที่ไม่ได้สอนในโรงเรียน รองลงมา ร้อยละ 26.30 ระบุว่า เป็นเพราะต้องการนำไปใช้ในการสอบแข่งขัน ร้อยละ 21.34 ระบุว่า เป็นเพราะต้องการเพิ่มเกรด ร้อยละ 21.02 ระบุว่า เป็นเพราะเรียนในห้องเรียนไม่ทันเพื่อน ร้อยละ 12.71 ระบุว่า เป็นเพราะครูที่โรงเรียนสอนไม่ดี ร้อยละ 12.55 ระบุว่า เป็นค่านิยมหรือแฟชั่นของเด็กและเยาวชน ร้อยละ 9.83 ระบุว่า ต้องการแข่งขันกับเพื่อน ร้อยละ 9.83 ระบุว่า ผู้ปกครองบังคับให้ไปเรียน ร้อยละ 9.11 ระบุว่า ครูมีพฤติกรรมบังคับให้เด็กนักเรียนเรียนพิเศษกับตน เช่น กั๊กวิชาในห้องเรียนที่โรงเรียน ร้อยละ 1.44 ระบุว่า ต้องการเรียนกับ ครู/อาจารย์ที่ดังๆ หรือมาจากสถาบันดังๆ ร้อยละ 1.04 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ผู้ปกครองไม่มีเวลาทบทวนการเรียนให้กับเด็ก โรงเรียนมีกิจกรรมเยอะ ครูสอนเด็กไม่ทั่วถึง เป็นข้ออ้างของเด็กที่อยากอยู่กับเพื่อน และ ร้อยละ 1.12 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายสุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายให้ทุกโรงเรียนจัดสอนพิเศษให้นักเรียนทุกคนเพื่อจะได้ไม่ต้องไปเรียนพิเศษตามสถาบันกวดวิชา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.37 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ ครู / อาจารย์ที่สอนเด็กอยู่ในโรงเรียน จะรู้พื้นฐานของเด็กเป็นอย่างดี และเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับเด็กสำหรับการเรียนเพิ่มเติมอย่างเท่าเทียมกัน ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในเรื่องของค่าเรียนพิเศษ และครูสามารถสอนให้กับเด็กนักเรียนได้อย่างเต็มที่ รองลงมา ร้อยละ 13.35 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ได้ เวลาเรียนในห้องเรียนก็เพียงพออยู่แล้ว ครูบางคนมีประสิทธิภาพในการสอนน้อย อาจใช้ระบบการสอนแบบเดิม ๆ เด็กอาจจะเบื่อได้ และเด็กบางคนมีศักยภาพในการรับรู้และความสามารถไม่เท่ากัน อีกทั้งเด็กนักเรียนได้อะไรมากกว่าเมื่อไปเรียนพิเศษที่สถาบันกวดวิชา และ ร้อยละ 1.28 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 19.98 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 19.98 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 19.66 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 20.30 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 20.06 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 50.52 เป็นเพศชาย และร้อยละ 49.48 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 8.43 มีอายุ ต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 35.42 มีอายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 44.66 มีอายุ 40 – 59 ปี และร้อยละ 11.49 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.28 นับถือศาสนาพุทธ ตัวอย่างร้อยละ 4.43 นับถือศาสนาอิสลาม และตัวอย่างร้อยละ 1.29 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 28.26 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 68.84 สมรสแล้ว และตัวอย่างร้อยละ 2.90 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่างร้อยละ 25.44 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ตัวอย่างร้อยละ 29.47 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 11.03 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 29.87 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และตัวอย่างร้อยละ 4.19 จบการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 12.74 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 15.08 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่างร้อยละ 24.11 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 13.55 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ตัวอย่างร้อยละ 16.29 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 14.27 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ ตัวอย่างร้อยละ 3.95 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 15.03 ไม่มีรายได้ ตัวอย่างร้อยละ 22.38 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 31.57 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 12.87 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 5.04 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 6.95 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 6.16 ไม่ระบุรายได้ 1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับข้อเสนอให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลกับสถาบันกวดวิชา ความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลกับสถาบันกวดวิชา ร้อยละ เห็นด้วยเพราะ สถาบันกวดวิชาถือเป็นสถานประกอบการในเชิงพาณิชย์หรือธุรกิจ บางสถาบันเรียกเก็บค่าเรียน 68.19 สูงมาก เมื่อมีรายได้ ก็ควรจะเสียภาษีให้กับรัฐบาลเพื่อนำภาษีไปพัฒนาประเทศ ไม่เห็นด้วยเพราะ เมื่อมีการเรียกเก็บภาษี สถาบันกวดวิชาอาจจะเก็บค่าเรียนเพิ่มขึ้น จะเป็นการสร้างภาระให้กับ 25.90 ผู้ปกครองเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และยังถือเป็นสถาบันการส่งเสริมการเรียนให้กับเด็ก อีกทั้ง สถาบันกวดวิชามีค่าใช้จ่ายที่สูงในการจ้างบุคลากร ครู อาจารย์ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ จึงไม่ควรเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 5.91 รวม 100.00 2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับข้อเสนอการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับ ครู/อาจารย์ ที่ไปสอนพิเศษตามสถาบันกวดวิชา ความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับ ครู/อาจารย์ ร้อยละ ที่ไปสอนพิเศษตามสถาบันกวดวิชา เห็นด้วยเพราะ ถือเป็นกฎหมายที่บังคับใช้อยู่แล้วกับผู้ที่มีรายได้ในอัตราที่ต้องเสียภาษี โดยเฉพาะ 60.51 ถ้าหากเป็นการสอนพิเศษแบบประจำตามสถาบันกวดวิชา ไม่เห็นด้วยเพราะ ถือเป็นรายได้เสริมของครู/อาจารย์ และปกติก็เสียภาษีอยู่แล้ว อาจเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อน 33.09 และครู/อาจารย์ บางรายก็มีค่าใช้จ่ายมากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 6.40 รวม 100.00 3. ท่านคิดว่าเด็กและเยาวชนไทยไปเรียนพิเศษด้วยเหตุผลอะไร (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุผลของเด็กและเยาวชนไทยที่ต้องไปเรียนพิเศษ ร้อยละ ต้องการความรู้เพิ่มเติม ตลอดจนเทคนิค วิธีการคิด การจดจำ ที่ไม่ได้สอนในโรงเรียน 51.48 ต้องการนำไปใช้ในการสอบแข่งขัน 26.30 ต้องการเพิ่มเกรด 21.34 เรียนในห้องเรียนไม่ทันเพื่อน 21.02 ครูที่โรงเรียนสอนไม่ดี 12.71 เป็นค่านิยมหรือแฟชั่นของเด็กและเยาวชน 12.55 ต้องการแข่งขันกับเพื่อน 9.83 ผู้ปกครองบังคับให้ไปเรียน 9.83 ครูมีพฤติกรรมบังคับให้เด็กนักเรียนเรียนพิเศษกับตน เช่น กั๊กวิชาในห้องเรียนที่โรงเรียน 9.11 ต้องการเรียนกับ ครู/อาจารย์ที่ดังๆ หรือมาจากสถาบันดังๆ 1.44 อื่น ๆ ได้แก่ ผู้ปกครองไม่มีเวลาทบทวนการเรียนให้กับเด็ก โรงเรียนมีกิจกรรมเยอะ ครูสอนเด็กไม่ทั่วถึง เป็นข้ออ้างของเด็กที่อยากอยู่กับเพื่อน 1.04 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 1.12 4. ท่านเห็นด้วยหรือไม่หากมีนโยบายให้ทุกโรงเรียนจัดสอนพิเศษให้นักเรียนทุกคนเพื่อจะได้ไม่ต้องไปเรียนพิเศษตามสถาบันกวดวิชา ความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายให้ทุกโรงเรียนจัดสอนพิเศษให้นักเรียนทุกคน ร้อยละ เพื่อจะได้ไม่ต้องไปเรียนพิเศษตามสถาบันกวดวิชา เห็นด้วยเพราะ ครู / อาจารย์ที่สอนเด็กอยู่ในโรงเรียน จะรู้พื้นฐานของเด็กเป็นอย่างดี และเป็นการเพิ่มโอกาสให้ 85.37 กับเด็กสำหรับการเรียนเพิ่มเติมอย่างเท่าเทียมกัน ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในเรื่องของ ค่าเรียนพิเศษ และครูสามารถสอนให้กับเด็กนักเรียนได้อย่างเต็มที่ ไม่เห็นด้วยเพราะ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ได้ เวลาเรียนในห้องเรียนก็เพียงพออยู่แล้ว ครูบางคนมี 13.35 ประสิทธิภาพในการสอนน้อยกว่า อาจใช้ระบบการสอนแบบเดิม ๆ เด็กอาจจะเบื่อได้ และเด็กบางคนมีศักยภาพในการรับรู้และความสามารถไม่เท่ากัน อีกทั้งเด็กนักเรียนได้อะไร มากกว่าเมื่อไปเรียนพิเศษที่สถาบันกวดวิชา ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 1.28 รวม 100.00 ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง 1. ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค ภูมิภาค จำนวน ร้อยละ กรุงเทพฯ และปริมณฑล 250 19.98 ภาคกลาง 250 19.98 ภาคเหนือ 246 19.66 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 254 20.30 ภาคใต้ 251 20.06 รวม 1,251 100.00 2. ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ เพศ จำนวน ร้อยละ ชาย 632 50.52 หญิง 619 49.48 เพศทางเลือก - - รวม 1,251 100.00 3. ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ อายุ จำนวน ร้อยละ ต่ำกว่า 25 ปี 105 8.43 25 – 39 ปี 441 35.42 40 – 59 ปี 556 44.66 60 ปี ขึ้นไป 143 11.49 รวม 1,245 100.00 4. ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา ศาสนา จำนวน ร้อยละ พุทธ 1,171 94.28 อิสลาม 55 4.43 คริสต์ และอื่น ๆ 16 1.29 รวม 1,242 100.00 5. ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส สถานภาพการสมรส จำนวน ร้อยละ โสด 351 28.26 สมรส 855 68.84 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ 36 2.90 รวม 1,242 100.00 6. ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา ระดับการศึกษา จำนวน ร้อยละ ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 316 25.44 มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 366 29.47 อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 137 11.03 ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 371 29.87 สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 52 4.19 รวม 1,242 100.00 7. ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก อาชีพหลัก จำนวน ร้อยละ ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 158 12.74 พนักงานเอกชน 187 15.08 เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 299 24.11 เกษตรกร/ประมง 168 13.55 รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 202 16.29 พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 177 14.27 นักเรียน/นักศึกษา 49 3.95 รวม 1,240 100.00 8. ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวน ร้อยละ ไม่มีรายได้ 188 15.03 ไม่เกิน10,000 280 22.38 10,001 – 20,000 395 31.57 20,001 – 30,000 161 12.87 30,001 – 40,000 63 5.04 มากกว่า40,001 ขึ้นไป 87 6.95 ไม่ระบุ 77 6.16 รวม 1,251 100.00
แท็ก นิด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ