กรุงเทพฯ--25 ธ.ค.--เกรลิ่ง
ความต้องการซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในสินค้าประเภทอาหาร ของอุปโภคบริโภคและของตกแต่งบ้าน
ดร. เคเอฟ ไล ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบัซซ์ ซิตี้ กล่าวว่า “การเติบโตของการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตได้รับการสนับสนุนจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในหมู่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือและออนไลน์ในประเทศไทย”
บัซซ์ ซิตี้ เครือข่ายโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือชั้นนำระดับโลก เปิดเผยผลวิจัยพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค ระบุผู้บริโภคชาวไทย 1 ใน 5 ซื้อสินค้าออนไลน์เป็นประจำทุกวัน ซึ่งเหมือนกับผู้บริโภคในหลายประเทศทั่วโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขาสั่งซื้อและซื้อสินค้าต่างๆ อาทิ ของอุปโภคบริโภคและอาหารผ่านทางสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แล็ปท็อปและคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น
ในปี 2557 นี้ สินค้าประเภทอาหาร ซึ่งรวมถึงอาหาร ของอุปโภคบริโภคและอาหารที่มีบริการส่งถึงบ้านมีการเติบโตสูงถึงร้อยละ 148 จากปี 2555 ซึ่งมีการซื้อสินค้าประเภทอาหารนี้เป็นประจำอยู่ที่ร้อยละ 5 ขณะที่ในปีนี้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 12
ความต้องการที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทยเปรียบได้กับแนวโน้มทั่วโลกที่พบว่ามีการซื้อสินค้าประเภทอาหารทางออนไลน์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 100 คือมีการสั่งซื้อสินค้าประเภทอาหารและของอุปโภคบริโภคเป็นประจำจากร้อยละ 8 ในปี 2555 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 16 ในปี 2557
โดยทั่วไปแล้ว “เหล่าผู้ซื้อหน้าใหม่” ซื้อสินค้าที่เหมือนกัน – เพียงแต่ซื้อเมื่อจำเป็นเท่านั้น – และพวกเขาเพลิดเพลินกับความสะดวกสบายในการเรียกดูเว็บไซต์ที่แตกต่างกันเพื่อมองหาข้อเสนอที่ดีกว่า
โดยภาพรวมแล้ว ร้อยละ 19 ของผู้บริโภคชาวไทยที่ตอบแบบสอบถามระบุว่าพวกเขาซื้อสินค้าออนไลน์ทุกวัน อีกร้อยละ 23 บอกว่าพวกเขาซื้อสินค้าออนไลน์เป็นรายสัปดาห์ และร้อยละ 22 เป็นผู้บริโภครายเดือน ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของโลกที่มีผู้บริโภคในสัดส่วน 1 ใน 5 ที่ซื้อสินค้าออนไลน์ในชีวิตประจำวัน
เช่นเดียวกับอาหารและของอุปโภคบริโภค ผู้บริโภคชาวไทยมีการซื้อของตกแต่งบ้านทางอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้าและของตกแต่งบ้านด้วยวัสดุที่มีผิวสัมผัสนุ่ม ซึ่งความต้องการในสินค้าหมวดหมู่นี้ได้เติบโตขึ้นถึงร้อยละ 306 ในปี 2557 จากปี 2555 ที่มีผู้ตอบแบบสอบถามเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่กล่าวว่าพวกเขาจะซื้อของตกแต่งบ้านออนไลน์ โดยที่ในปี 2557 นี้ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13
ในขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 41) และเสื้อผ้า (ร้อยละ 22) ยังคงเป็นหมวดหมู่สินค้าที่อยู่ในความต้องการมากที่สุดสำหรับนักช้อปออนไลน์ชาวไทย โดยที่สินค้าประเภทความบันเทิงได้ลดลงจากร้อยละ 37ในปี 2555 มาอยู่ที่ร้อยละ 23 ในปี 2557
ประสบการณ์ที่ดีส่งเสริมให้เกิดการสนับสนุน
“การเติบโตของการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตได้รับการสนับสนุนจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในหมู่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือและออนไลน์ในประเทศไทย” ดร. เคเอฟ ไล ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบัซซ์ ซิตี้ กล่าวว่า
“การใช้งานสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 3 ปีทีผ่านมาเป็นผลทำให้คนไทยจำนวนมากขึ้นหันมาเป็นนักช้อปปิ้งออนไลน์และแบ่งปันเว็บไซต์ที่ชื่นชอบของพวกเขาและสินค้าที่ลดราคากับเพื่อนๆ ความจริง ร้อยละ 27 กล่าวว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะแนะนำเว็บไซต์ที่ชื่นชอบให้คนอื่น ๆ แม้ว่าพวกเขาจะแค่เรียกดูเว็บไซต์เหล่านั้นเฉยๆ ซึ่งพิสูจน์ว่าบรรดาร้านค้าปลีกและแบรนด์ต่างๆ ที่สร้างสภาพแวดล้อมออนไลน์ในเชิงบวกจะประสบความสำเร็จได้ เพราะเห็นได้ชัดเจนว่ามันช่วยส่งเสริมให้เกิดการบอกต่อ สร้างความภักดีและแนะนำผลิตภัณฑ์ต่อ”
ในประเทศไทยและทั่วโลกแนวโน้มการช้อปปิ้งออนไลน์ในชีวิตประจำวันคาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการพาณิชย์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความทันสมัยมากขึ้น สะดวกและใช้งานง่ายขึ้น
“บริการ Click & Collect บริการสำรองสินค้าและจัดส่งในวันถัดไปที่แบรนด์ส่วนใหญ่ให้บริการอยู่ในตอนนี้ถือเป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าผู้ค้าปลีกสามารถใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการออนไลน์ในฐานะที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งในการช้อปปิ้งที่ร้านค้า ซึ่งเมื่อรวมเข้ากับการที่ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้นในการซื้อสินค้าออนไลน์ทางมือถือยิ่งทำให้เห็นภาพว่าเขตแดนระหว่างการช้อปปิ้งออนไลน์และการเข้าไปซื้อในร้านมันชัดเจนยิ่งขึ้น”
การซื้อของเด็กเล่น เสื้อผ้าและของตกแต่งบ้านคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเทศกาลวันหยุด ขณะที่การเยี่ยมชมเว็บไซต์ออนไลน์ที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นประจำปี โดย 1 ใน 5 (ร้อยละ 19) มีแนวโน้มที่จะเป็นการเยี่ยมชมของผู้ที่วางแผนไว้แล้วว่าจะซื้อ และนักล่าสินค้าลดราคาที่กำลังมองหาข้อเสนอพิเศษในช่วงโปรโมชั่นส่งท้ายปีในหลายประเทศ
การวิจัยในหัวข้อ “การซื้อสินค้าออนไลน์ประจำวัน” ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคจำนวน 4,700 รายใน 25 ประเทศ (รวมถึงประเทศไทย) ครอบคลุม 5 ทวีป ผลการสำรวจโดยละเอียดสามารถชมได้ที่ can be found here