สตอเรจแห่งอนาคต ความเชื่อมโยงของไฮเปอร์-คอนเวอร์เจนซ์ กับ เว็บ-สเกล หรือ “ทำไมไฮเปอร์คอนเวอร์เจนซ์ จึงต้องการ เว็บ-สเกล”

ข่าวเทคโนโลยี Monday December 29, 2014 12:48 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ธ.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง โดย: ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการ นูทานิกซ์ (ประเทศไทย) ระบบต่างๆ ที่เป็นไฮเปอร์-คอนเวอร์จ กำลังเป็นเรื่องที่พูดคุยกันในวงกว้างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในสื่อต่างๆ และกลุ่มนักวิเคราะห์ ผู้ผลิตสตอเรจรายใหญ่ของโลกต่างกำลังพูดถึงการเปลี่ยนไปใช้ระบบไฮเปอร์-คอนเวอร์จ (การผสานรวมการประมวลผลและระบบสตอเรจไว้ด้วยกัน) ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ที่สมบูรณ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่นูทานิกซ์ได้เคยแนะนำไว้เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา ไฮเปอร์-คอนเวอร์เจนซ์ แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานสถาปัตยกรรมดั้งเดิมแบบสามระดับ (three-tier) ซึ่งยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายในดาต้าเซ็นเตอร์ทุกวันนี้ ไฮเปอร์-คอนเวอร์เจนซ์ เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมสำหรับโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่รวมการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูลไว้ด้วยกันเป็นแพ็คเกจเดียวอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก ซึ่งโดยทั่วไปเป็นสถาปัตยกรรมแบบ x86 โครงสร้างระบบไฮเปอร์-คอนเวอร์จ เป็นระบบแบบกระจาย (distributed systems) อยู่แล้วในตัวของมันเอง การสร้างโซลูชั่นไฮเปอร์-คอนเวอร์จ ประกอบด้วย เซิร์ฟเวอร์แบบ x86 ที่มีโปรเซสเซอร์หรือหน่วยประมวลผล หน่วยความจำ และสตอเรจ (รวมถึงแฟลช) ลูกค้าใช้งานโซลูชั่นเหล่านี้ได้ด้วยการซื้อเซิร์ฟเวอร์ลักษณะนี้หลายๆ ตัว หรือหลายๆ โหนด แล้วเชื่อมต่อทุกตัวเข้าไปยังเน็ตเวิร์คสวิตซ์แบบมาตรฐานทั่วๆไป การคาดการณ์ตลาดไพรเวทคลาวด์และพลับลิคคลาวด์ในอีก 5 ปี และ 10 ปี ข้างหน้า ไพรเวทคลาวด์และพลับลิคคลาวด์ในอีก 5 ปี ฮาร์ดแวร์ - ผู้ให้บริการคลาวด์เพียงไม่กี่รายที่เป็นบริษัทที่ใช้ระบบไฮเปอร์-สเกล จะเป็นผู้ควบคุมส่วนแบ่งตลาด พวกเขาจะยังคงพัฒนาสถาปัตยกรรมของตนเอง และสร้างแรงกดดันไปยังผู้ผลิต และให้บริการฮาร์ดแวร์ เพื่อทบทวนบทบาทของฮาร์ดแวร์ที่จะต้องง่ายขึ้น, การสร้างแพลตฟอร์มแบบเปิด, ฮาร์ดแวร์ที่สามารถปรับเปลี่ยนทรัพยากรได้ตามความต้องการ (custom pods) และรวมถึงเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องมีจำนวนคอร์ที่มากขึ้น บริษัทเหล่านี้จะเป็นทัพหน้าในการเปลี่ยนแปลงด้านไอที - สำหรับผู้ให้บริการคลาวด์หลัก ฮาร์ดแวร์ที่ซับซ้อนจะสร้างภาระและต้นทุนในการขยายตัวในอนาคต ดังนั้นการตัดสินใจของผู้ให้บริการเหล่านี้จะพิจารณาจากการที่ว่า เขาควรจะสร้างโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานของตัวเองบนพื้นฐานของซอฟต์แวร์ระบบเปิด เช่น OpenStack Swift/Ceph ดี หรือจะซื้อโซลูชั่นแบบครบวงจรต่างๆ ที่รวมหลักการทำงานของเว็บ-สเกลไว้ด้วย ไม่ว่ากรณีใด คลาวด์ในอนาคตจะเป็นฮาร์ดแวร์ที่หาได้ง่าย พร้อมใช้ และทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ที่มีความชาญฉลาด โดยไม่ต้องกังวล และลดปัญหาเกี่ยวกับการผูกขาดของฮาร์ดแวร์รายใดรายหนึ่งหรือการใช้ฮาร์ดแวร์สำหรับงานประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น ซอฟต์แวร์ - แอพพลิเคชั่นแบบเว็บ-สเกลต่างๆ ที่สร้างอยู่บนแพลตฟอร์มแบบสเกล-เอาท์ จะกลายเป็นเรื่องธรรมดา และถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมด้านการรักษาพยาบาล และการวิจัยทางการแพทย์ อุตสาหกรรมการผลิต การค้าปลีก และการศึกษา แอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่เกิดจากคลาวด์เหล่านี้ จะพัฒนาความยืดหยุ่นของโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์สาธารณะ รวมทั้งการจัดการภายในของไพรเวทคลาวด์ที่สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบสเกล-เอ้าท์ ให้สามารถจัดการกับความต้องการที่ไม่แน่นอนของลูกค้า และเพื่อทำการตัดสินใจในเรื่องที่ข้อมูลมีความสำคัญ - แม้แต่แอพพลิเคชั่นพร้อมใช้แบบดั้งเดิมต่างๆ ก็จะได้รับการออกแบบใหม่ ให้สามารถปรับขนาดได้ตามต้องการ เราจะเริ่มเห็นบริษัทฯ ต่างๆ เช่น ไมโครซอฟต์ นำสถาปัตยกรรมแบบสเกล-เอาท์มาใช้ ในอีก 5 ปีแนวทางใหม่ในการออกแบบซอฟต์แวร์นี้จะเป็นบรรทัดฐาน และโบกมือลากับระบบเสมือนที่ใหญ่โต และสร้างขึ้นมาทำงานบนโครงสร้างพื้นฐานแบบสเกล-อัพ - ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ควบคุมด้วยซอฟต์แวร์ (software-defined datacenter) จะเป็นที่แพร่หลาย และแม้แต่บริการด้านไอทีและดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิม เช่น ระบบความปลอดภัย และการเข้ารหัส การจัดการและการโยกย้ายข้อมูล จะอยู่ในรูปแบบบริการที่ขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์ การตอบสนองแบบเรียลไทม์จากทุกที่ในดาต้าเซ็นเตอร์ หรือเมื่อแอพพลิเคชั่นต้องการ - การนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อให้เข้าใจ, เข้าถึง และคาดการณ์สภาพแวดล้อมของระบบคลาวด์ จะผลักดันนวัตกรรมในการพัฒนาระบบระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้ของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบคลาวด์ที่ดีขึ้น การพัฒนาและการทำงานในองค์กร - ลูกค้าระดับองค์กรสามารถใช้บริการของพลับลิคคลาวด์ทำให้เกิดการทำงานแบบ "Think Globally and Consume Locally" กล่าวอีกนัยหนึ่ง องค์กรต่างๆ จะสามารถวางแผนและจัดการเวิร์กโหลดของพวกเขาบนพลับลิคคลาวด์ทั่วโลก ในขณะที่ใช้ประโยชน์จากความยืดหยุ่นที่ผู้ให้บริการคลาวด์มีให้ เพื่อเก็บข้อมูลของตนไว้ในประเทศหรือภูมิภาคของตน ซึ่งมีกฎระเบียบข้อบังคับที่จำกัดการเคลื่อนไหวของข้อมูลข้ามเขตแดนของประเทศ - เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานได้รับการผสานรวม เป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ และใช้งานง่าย ซึ่งช่วยทำลายข้อจำกัดในการดูแลจัดการแบบแยกเป็นส่วนๆ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในเรื่องของสตอเรจ เน็ตเวิร์กกิ้ง และเวอร์ชวลไลเซชั่น จะกลายเป็นบทบาทของผู้ดูแลทั่วๆ ไป แม้ว่าทีมต่างๆ ที่ดูแลด้านการสำรองข้อมูล การรักษาความปลอดภัย และอื่นๆ จะยังคงมีอยู่ แต่จะเชื่อมประสานการทำงานกันได้ดีขึ้น และมีความคล่องตัวมากขึ้นกว่าเดิม - บริการคลาวด์แบบเฉพาะเจาะจงในแต่ละอุตสาหกรรม เช่น สำหรับบริการด้านการเงิน ภาครัฐ และการรักษาพยาบาล จะรับมือกับข้อกำหนดด้านกฎระเบียบที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละอุตสาหกรรมได้ ในขณะเดียวกันก็ยังนำเสนอรูปแบบทางธุรกิจต่างๆ ที่ปรับให้เหมาะสมอย่างเฉพาะเจาะจงให้ตรงกับความต้องการของพวกเขาด้วย - ในอีก 5 ปีข้างหน้า ความกังวลด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวบนคลาวด์จะลดลงอย่างมากหรือได้รับการแก้ไขแล้วเสร็จ ไพรเวทคลาวด์และพลับลิคคลาวด์ในอีก 10 ปี ภายในเวลาอีก 10 ปี จะไม่มีการพูดถึงคลาวด์อีก กล่าวอีกนัยหนึ่งพลับลิคคลาวด์จะเป็นที่แพร่หลายและสมบูรณ์แบบถึงจุดที่โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีจะเป็นทรัพยากรที่มองไม่เห็นเหมือนการได้มาและใช้กระแสไฟฟ้า อุปสรรคต่างๆ ระหว่างพลับลิคคลาวด์และไพรเวทคลาวด์ เช่น การเข้ากันไม่ได้ของไฮเปอร์ไวเซอร์และคอนเทนเนอร์จะหมดไป นอกจากนี้ข้อมูลและการบริการต่างๆ จะสามารถส่งผ่านไปมาระหว่างระบบคลาวด์ต่างๆ ได้อย่างราบรื่น ด้วยนวัตกรรมเหล่านี้ และการมีส่วนร่วมกับผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ๆ ของโลก นูทานิกซ์ป็นผู้นำด้านวิวัฒนาการคลาวด์ทั้งในปัจจุบันและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อผลักดันอนาคตของคลาวด์ต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ