ฝ่าวิกฤติขยะล้นเมือง: ทางเลือกใหม่ของการเปลี่ยนขยะสู่พลังงานสะอาด

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 9, 2015 15:30 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 ม.ค.--Mediaplus Connection พลาสมาก๊าซซิฟิเคชั่น เทคโนโลยีสีเขียว แห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า บริษัท เวสต์ทูทริซิตี้ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด และทบวงการค้าและ การลงทุนแห่งสหราชอาณาจักร จัดเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ ด้านเทคโนโลยีพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อันสอดคล้อง กับการประกาศวาระแห่งชาติของรัฐบาล ในการแก้ปัญหาวิกฤติขยะล้นเมืองสนับสนุนพลังงานทางเลือกจากการ นำขยะมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า มร.ทิม โย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมืองซัลโฟล์คใต้ สหราชอาณาจักร และประธานคณะกรรมการกำกับกิจการด้าน พลังงานและการ เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแห่งสหราชอณาจักร ผู้มีประสบการณ์ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ พลังงานทดแทน ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ฝ่าวิกฤติขยะล้นเมือง:ทางเลือกใหม่ของการเปลี่ยนขยะ สู่พลังงาน สะอาด” ว่า มุมมองต่อเรื่องพลังงานทดแทนภายใต้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ของ ประเทศไทยว่า เป็นโอกาสที่ดีทั้งในด้านการเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงาน และการใช้พลังงานทดแทนเป็นการลดการ พึ่งพาพลังงานฟอสซิล ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวการหลักที่ปล่อยคาร์บอน และทำให้เกิดวิกฤติการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รวมไปถึงการสูญเสียต้นทุนทางชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อมจากผลกระทบที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตพลังงานเป็นหลัก ส่วนในด้านการประกาศวาระแห่งชาติของรัฐบาล ในการแก้ปัญหาวิกฤติขยะล้นเมืองโดยสนับสนุนพลังงานทางเลือก จากการนำขยะมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้านั้น ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีและวิธีการจัดการขยะชุมชนใหม่ ๆ ขึ้นมาที่สามารถทำใด้ในเชิงพาณิชย์ โดยเปลี่ยนหลักคิดจาก “การกำจัดขยะ” เป็น “การใช้ประโยชน์จากขยะ” หรือเปลี่ยนขยะเป็นเชื้อเพลิงพลังงานที่สมบูรณ์โดยใช้เทคโนโลยีที่สะอาดเช่น พลาสมาก๊าซซิฟิเคชั่น ซึ่งมีประสิทธิภาพ ในการผลิตพลังงาน ให้ความคุ้มค่าในการลงทุน ควบคู่ไปกับการลดและคัดแยกขยะ ที่ต้นทางดังนั้นจึงจัดการกับปัญหา การจัดการขยะและเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศได้ไปพร้อม ๆ กัน “เป็นโอกาสอันดี ที่ประเทศไทยน่าจะได้นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว ด้วยเทคโนโลยี “พลาสมาก๊าซซิฟิเคชั่น” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุดของศตวรรษที่ 21 ที่ออกแบบมาสำหรับการผลิตพลังงาน ที่สะอาด ปลอดภัยต่อสุขภาพชุมชน ปล่อยคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ” ปัญหาขยะล้นเมืองกำลังเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศในปัจจุบัน ปริมาณขยะครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และได้สร้างภาระในการจัดหาสถานที่สำหรับทิ้งฝังกลบขยะ บ่อฝังกลบขยะส่วนใหญ่เป็นแบบไม่ถูกหลักสุขาภิบาล จึงเป็นแหล่งมลพิษสร้างผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากการปนเปื้อนสารพิษสู่แหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน รวมถึง กลิ่นเหม็น รบกวนจากขยะและความเสี่ยงต่ออุบัติภัยเช่นกรณีไฟใหม้บ่อขยะที่เกิดขึ้น ให้เห็นหลายครั้ง ในช่วงปีที่ผ่านมา “ในอดีตหลายประเทศมีการนำเอา “เตาเผาขยะ (incinerator)” มาใช้เพื่อลดปริมาณขยะ แต่กลับพบว่าวิธีและเทคโนโลยี ดังกล่าวหากขาดซึ่งประสิทธิภาพในการควบคุมการปล่อยมลพิษในระหว่างกระบวนการทำงาน จะกลับสร้างมลภาวะ ยิ่งกว่าเดิม ทั้งมลพิษทางอากาศจากกระบวนการเผาใหม้ ฝุ่นควัน และสารพิษ และการต้องใช้พื้นที่ฝังกลบเถ้าหนัก ที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ถูกหลักสุขาภิบาลเพื่อป้องกันสารพิษไหลซึมลงสู่ดิน และแหล่งน้ำ” “แม้พลาสมา ก๊าซซิฟิเคชั่น จะเป็นเทคโนโลยีที่ลงทุนสูงมากกว่าเตาเผาขยะหลายเท่าตัว แต่ด้วยการจัดการหา วัตถุดิบเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพ ประกอบกับประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า และเงินสนับสนุนอัตราส่วนเพิ่มราคา รับซื้อไฟฟ้าจากภาครัฐ เหล่านี้ทำให้การลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าวมี ความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์โดย ไม่จำเป็นต้อง รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อรับกำจัดขยะ (gate fee) ในทางกลับกัน โครงการจะสามารถจ่ายต้นทุน เล็กน้อยสำหรับวัตถุดิบเชื้อเพลิง คือค่าใช้จ่ายให้กับท้องถิ่นหรือเจ้าของบ่อขยะ สำหรับขยะหรือเศษวัสดุเหลือใช้ และนำมาคัดแยก แปรรูปเป็นเชื้อเพลิงพลังงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์โดยตรงให้กับท้องถิ่นในการ มีงบประมาณ จัดการขยะ คัดแยก เกิดการจ้างงาน และลดปริมาณขยะ ปลายทางในพื้นที่ได้อย่างชัดเจน” “ในสหราชอาณาจักร บริษัทแอร์โพรดักท์ (Air Products) หนึ่งในผู้ผลิตก๊าซอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้มี การลงทุนเกือบ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยระบบพลาสมาก๊าซซิฟิเคชั่น 2 โรงงาน แต่ละที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าถึง 50MW ปัจจุบันสัดส่วนของพลังงานทดแทน ในสหราชอาณาจักรได้เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 15% โดยมีพลังงานไฟฟ้าจากขยะและไบโอแมส ครองสัดส่วนหนึ่งในสามของพลังงานทดแทนทั้งหมด ขยะชุมชนกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศถูกนำเข้าสู่กระบวนการ นำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล และใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า” มร.ทิม สรุป กระบวนการพลาสมาก๊าซซิฟิเคชั่นเป็นกระบวนการที่นำเอาวัตถุที่ให้ความร้อนมา เปลี่ยนให้เป็นก๊าซสังเคราะห์ ในเตาคุมอ๊อกซิเจน ทั้งนี้วัตถุที่ให้ความร้อนสามารถนำมาจาก บ่อฝังกลบขยะเก่าที่ผ่านการย่อยสลาย โดยขุดนำ เอาเศษวัสดุจากบ่อฝังกลบขยะ (landfill mining) หรืออาจคัดแยกเศษวัสดุที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ออกจากขยะครัวเรือน ซึ่งต้องมีส่วนประกอบของวัสดุให้ความร้อน เช่น ถุงพลาสติก บรรจุภัณฑ์ โฟม ยาง เศษกระดาษ เศษไม้ นำมาอัดเป็น แท่งเชื้อเพลิงหรือย่อยขนาดให้เหมาะสมเพื่อเข้าสู่ กระบวนการพลาสมาก๊าซซิฟิเคชั่น กระบวนการพลาสมา ก๊าซซิฟิเคชั่นให้ประสิทธิภาพสูงมากในการผลิตไฟฟ้าและมีความสะอาดในตัวของมันเอง เนื่องจากการเผาด้วยอุณหภมิสูง ในระบบปิด และกระบวนการมีความจำเป็นต้องทำความสะอาดก๊าซที่ได้ จาก เตาหลอมให้เป็นก๊าซสังเคราะห์บริสุทธิ์ ก่อนที่จะนำไปผลิตไฟฟ้าโดยเครื่องยนต์สันดาปภายในหรือกังหันก๊าซ ซึ่งเป็นหลักการที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับเตาเผาขยะ incinerator ที่เพียงเผาเอาความร้อนมาต้มหม้อน้ำ นอกจากนี้ในอนาคตอันใกล้ เมื่อการพัฒนาเทคโลยีฟิวเซลส์ (fuel-cell) ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ จะถูกนำมา ใช้กับพลาสมาก๊าซซิฟิเคชั่น ที่ผลิตก๊าซสังเคราะห์ที่มี “ไฮโดรเจน” เป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งเป็น ก๊าซพลังงานสะอาด ที่สามารถนำมาบรรจุเก็บในฟิวเซลส์ ที่จะนำมาทดแทน ครื่องยนต์สันดาปภายในหรือกังหันก๊าซในการผลิตพลังงาน ไฟฟ้าในปัจจุบัน โดยฟิวเซลส์จะให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าที่สูงขึ้นกว่าร้อยละ 40 จากการนำไฮโดรเจนที่ได้มา เปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าโดยตรงผ่านฟิวเซลส์ ข้อได้เปรียบอีกประการของพลาสมา ก๊าซซิฟิเคชั่น ต่อเตาเผาขยะคือ ผลิตภัณฑ์พลอยได้ จากกระบวนการคือ ตระกรันผลึกแก้ว ที่มีความเสถียรไม่ก่อมลพิษ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง และฉนวนคุณภาพสูงที่สามารถใช้ในอุตสาหกรรมอวกาศยานยนต์ แตกต่างจากเถ้าขยะจากเตาเผาขยะที่เป็นเถ้ามลพิษ สามารถเกิดการรั่วไหล กระจายของโลหะหนัก จึงไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ประโยชน์และต้องนำไปฝังกลบอย่างเดียว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ