ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เดินหน้าพัฒนาคุณภาพ เจาะลึกมาตรฐานการรักษาเฉพาะโรค ล่าสุดได้รับการรับรองมาตรฐานการรักษาผู้ป่วยเปลี่ยนข้อเข่าเทียม “CCPC TKR” เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วยตามมาตรฐานระดับสากล JCI

ข่าวทั่วไป Tuesday February 10, 2015 15:01 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 ก.พ.--มีเดีย พลัส คอนเนคชั่น ก้าวสู่ปีที่ 4 “โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์” เดินหน้าพัฒนาคุณภาพและ ความปลอดภัย สูงสุดของผู้ป่วย ล่าสุดได้รับการรับรองมาตรฐานการรักษาผู้ป่วยเปลี่ยนข้อเข่าเทียม “CCPC TKR” เพิ่มขีดความมั่นใจให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเพื่อการดูแลรักษาที่ครอบคลุมครบวงจรตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการติดตามผลการรักษาหลังผ่าตัด ตามมาตรฐานสากล JCI ตอกย้ำเจตนารมณ์ของการเป็นผู้ให้บริการที่มีคุณภาพ เป็นเลิศทั้งในด้านการแพทย์ และให้บริการด้วยใจ ซึ่งนับเป็นโรงพยาบาลรัฐแห่งแรกในประเทศไทย ที่ได้รับ การรับรองมาตรฐานดังกล่าวนี้ อ.นพ.สมเกียรติ วสุวัฏฏกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารคุณภาพ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ กล่าวว่า หนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของโรงพยาบาลฯ ในปี 2558 นี้ คือ เน้นการการพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยความร่วมมือจากบุคลากรทุกคน และทุกหน่วยงาน ในการ ดำเนินงานและขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาคุณภาพ เพื่อมอบการบริการทางการแพทย์ ที่ดีที่สุดและผู้ป่วยได้รับ ความปลอดภัยสูงสุดตามมาตรฐานสากล ของ JCI (Joint Commission International) ซึ่งโรงพยาบาลฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล JCI เมื่อปลายปี 2556 ที่ผ่านมา “ผู้ป่วยที่เข้ารับการบริการที่โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์จะได้รับการดูแล ตั้งแต่ก้าวแรก ที่เข้ามารับบริการจนกระทั่งกลับออกจากโรงพยาบาล จนถึง มีการติตามผลการรักษา โดยที่ทุกกระบวนการ จะได้รับการตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพ ตามข้อกำหนด ในการรักษามาตรฐาน อย่างสม่ำเสมอ” โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ยังคงเดินหน้ารักษามาตรฐานการบริการทางการแพทย์ และพัฒนาคุณภาพ ให้ลงลึกมากยิ่งขึ้น โดยในปีที่ผ่านมาได้ดำเนินการขอการรับรองคุณภาพมาตรฐาน CCPC เฉพาะโรค โดยเริ่มต้นที่ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ซึ่งได้ผ่านการรับรองไปเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 “โรคเข่าเสื่อมในคนไข้ของโรงพยาบาลเรามีมากจนติดท็อป 5 เป็นโรคที่ต้องการ การรักษาระยะยาว บางรายต้องการการผ่าตัด จึงคิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ ต้องทำให้มีคุณภาพ และปลอดภัย ดังนั้นทางคุณหมอกีรติ เจริญชลวานิช ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ จึงได้ดำเนินการขอการรับรองมาตรฐาน CCPC ซึ่งเชื่อว่าประโยชน์ ที่ผู้ป่วยจะได้รับ คือ การดูแลรักษาที่มีมาตรฐานอย่างดีที่สุด ตามแนวทางเวชปฏิบัติ ที่เป็นมาตรฐานสากล เพื่อ ความปลอดภัยของผู้ป่วย รวมถึงผลลัพธ์ของการรักษาที่ดี และมีความเสี่ยงน้อยที่สุด จากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ของโรงพยาบาลฯ และผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนและหลังการผ่าตัด รวมถึงการฟื้นฟู สภาพภายหลังการผ่าตัด ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น และทำให้ผู้ป่วยมีความเชื่อมั่น ในทีมแพทย์ และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์มากยิ่งขึ้น” อ.นพ.สมเกียรติ กล่าว รศ.นพ. กีรติ เจริญชลวานิช ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (SiPH) กล่าวว่า ทางโรงพยาบาลฯ ได้ให้บริการการผ่าตัดข้อสะโพก และ ข้อเข่าเทียมมาแล้วกว่า 1,000 ราย ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าอย่างปลอดภัย มีคุณภาพ เป็นมาตรฐานเดียวกัน อ้างอิงแนวทางเวชปฏิบัติที่เป็นสากล ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน บรรเทาอาการ เจ็บปวด แก้ไขการทำงานของข้อเข่า ปรับข้อที่ผิดรูปให้คืนสภาพ ผู้ป่วยได้รับความรู้ความเข้าใจครบถ้วน ตลอดการรักษา เสริมสร้างให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดียิ่งขึ้น โดยแนวทางการดูแลรักษาในผู้ป่วย โรคข้อเข่าเสื่อม นั้น แบ่งออกเป็น 3 แนวทางได้แก่ การรักษาโดยไม่ใช้ยา เป็นการรักษาตามอาการ เช่น ทำกายภาพบำบัด การควบคุมน้ำหนัก เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยานาน ๆ?การรักษาโดยใช้ยา และสุดท้าย คือการผ่าตัด การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (TKR) (Total Knee Replacement) ใช้เทคนิค Minimally Invasive Surgery (แผลเล็กเจ็บน้อย) ทำให้คนไข้เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวเร็ว โดยทำให้เกิดความเสียหายเนื้อเยื้อภายในน้อยลง อาการปวดหลังผ่าตัดน้อยกว่า ผู้ป่วยสามารถเดินได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด “โรงพยาบาลฯจะดูแลรักษาคนไข้ตั้งแต่มารับบริการจนถึงกลับบ้าน และให้การติดตามอย่างต่อเนื่อง ไปหลังจากกลับบ้านไปแล้ว โดยการนัดหมายตรวจและโทรศัพท์ติดตามอาการ การปฏิบัติตัว การใช้งานข้อเทียม ซึ่งคนไข้จะปลอดภัยสูงสุด และได้รับการดูแลตามมาตรฐานสูงสุด ไม่ว่าเข้ารับการรักษากับแพทย์คนใดก็ตาม ไม่ว่าจะเลือกใช้วิธีการผ่าอย่างไร คนไข้จะต้องได้ประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุด รวมทั้งต้องปลอดภัย” “นอกจากนี้ภายในปี 2559 โรงพยาบาลฯ ยังเตรียมการ Re-Accredit ตาม JCIA ฉบับ 5th Edition ด้วยแนวทางการพัฒนาคุณภาพให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน โดยการติดตาม KPI และสนับสนุนให้เกิด CQI และเชื่อว่าในอีก 3 ปี จะขอการรับรองมาตรฐานเฉพาะโรคเพิ่มอีก 4 โรค คือ 1 โรคหัวใจขาดเลือด 2 โรคไตวาย เรื้อรังระยะสุดท้าย 3 โรคมะเร็ง และ 4 โรคหลอดเลือดในสมอง ดังนั้น ตัวผู้ป่วยและครอบครัว จึงมั่นใจ ได้ว่า โรงพยาบาลฯ มีการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์และความปลอดภัยอย่างเข้มข้น และวันนี้คนไทย สามารถ เข้าถึงมาตรฐานการ รักษาพยาบาลตามแบบฉบับ ของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ที่สั่งสม ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญมาอย่างยาวนาน ผนวกกับอีกหนึ่งมาตรฐานการให้บริการระดับสากล JCI ทำให้มี ทางเลือก ในการรักษาพยาบาลที่ดีมากอีกทางหนึ่ง” รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารคุณภาพ SIPH กล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ