นิด้าโพล: “วาเลนไทน์ในสไตล์วัยรุ่นไทย”

ข่าวทั่วไป Friday February 13, 2015 10:48 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 ก.พ.--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “วาเลนไทน์สไตล์วัยรุ่นไทย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9 – 10 กุมภาพันธ์ 2558 จากประชาชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อวันวาเลนไทน์ ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของวัยรุ่นไทยต่อความสำคัญของวันวาเลนไทน์ พบว่า ร้อยละ 6.56 ระบุว่า มีความสำคัญมากที่สุด ร้อยละ 26.88 ระบุว่า ค่อนข้างมีความสำคัญ ร้อยละ 45.76 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความสำคัญ และร้อยละ 20.80 ระบุว่า ไม่มีความสำคัญเลย ด้านสิ่งที่วัยรุ่นไทยนึกถึงในวันวาเลนไทน์ พบว่า วัยรุ่นไทยส่วนใหญ่ ร้อยละ 34.72 ระบุว่า นึกถึงดอกกุหลาบ ดอกไม้ ร้อยละ 16.32 ระบุว่า นึกถึงคนรัก แฟน ร้อยละ 13.60 ระบุว่า ไม่นึกถึงอะไรเลย ร้อยละ 10.16 ระบุว่า นึกถึงคนในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ร้อยละ 8.56 ระบุว่า นึกถึงความรัก การดูแลเอาใจใส่ การมอบสิ่งดี ๆ ให้กัน ร้อยละ 8.00 ระบุว่า นึกถึงช็อกโกแลต ร้อยละ 8.64 ระบุว่า อื่น ๆ เช่น หัวใจ สีชมพู ผู้หญิง วัยรุ่น ขนมหวาน ตุ๊กตา สถานที่ท่องเที่ยว การกินข้าว วันพักผ่อน ความเชื่อทางศาสนาคริสต์และโบสถ์ เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2556 พบว่า วัยรุ่นไทยส่วนใหญ่ยังคงนึกถึง ดอกกุหลาบ ดอกไม้ รองลงมา นึกถึงคนรัก แฟนเป็นหลัก ในขณะที่สัดส่วนของผู้ที่นึกถึงคนในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง รวมไปถึง ไม่นึกถึงอะไรเลย มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น แต่การนึกถึงความรัก การดูแลเอาใจใส่ การมอบสิ่งดี ๆ ให้กัน กลับลดลง สำหรับสถานภาพการมีแฟนของวัยรุ่นไทย พบว่า วัยรุ่นไทยส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.56 ระบุว่า มีแฟนแล้ว ขณะที่ร้อยละ 41.44 ระบุว่ายังไม่มีแฟน เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2556 พบว่า วัยรุ่นไทยส่วนใหญ่เป็นโสด (ไม่มีแฟน) เพิ่มมากขึ้น ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการตัดสินใจของวัยรุ่นไทยหากแฟนขอมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ พบว่า วัยรุ่นไทยส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.88 คิดว่าจะไม่ให้ เพราะ ยังอยู่ในช่วงวัยเรียน ไม่เหมาะสม ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร ควรรอถึงวันแต่งงาน ไม่ถูกต้องตามหลักของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย การแสดงออกถึงความรักในรูปแบบดังกล่าวไม่ใช่สาระสำคัญแต่ประการใด รองลงมา ร้อยละ 35.68 ระบุว่า ไม่แน่ใจ เพราะ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ บรรยากาศ และสภาพแวดล้อม ขณะที่ร้อยละ 18.88 ระบุว่า คิดว่าจะให้ เพราะ เป็นการแสดงถึงความรักต่อกัน เป็นเรื่องของคนสองคน ส่วนหนึ่งมองว่า คบกันมานานแล้ว มีวุฒิภาวะเป็นผู้ใหญ่เพียงพอในการตัดสินใจ และเป็นการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และร้อยละ 4.56 ไม่ระบุ เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2556 พบว่า สัดส่วนของผู้ที่ระบุว่าจะไม่ให้มีเพศสัมพันธ์นั้น ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่กลับพบว่า สัดส่วนผู้ที่ระบุว่าไม่แน่ใจกลับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ผู้ที่คิดว่าจะให้นั้น กลับลดลงเล็กน้อย เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 22.64 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 18.72 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 19.12 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 21.12 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 18.40 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.64 เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.04 เป็นเพศหญิง และ ร้อยละ 0.32 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 6.16 มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ร้อยละ 31.44 มีอายุ 18 – 21 ปี และร้อยละ 62.40 มีอายุ 22 – 25 ปี ตัวอย่างร้อยละ 92.88 นับถือศาสนาพุทธ ตัวอย่างร้อยละ 5.92 นับถือศาสนาอิสลาม และตัวอย่างร้อยละ 1.20 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 100.00 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 0.80 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ตัวอย่างร้อยละ 29.85 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 13.03 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 54.79 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และตัวอย่าง ร้อยละ 1.53 จบการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 8.21 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 20.69 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่างร้อยละ 12.56 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 1.05 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ตัวอย่างร้อยละ 7.97 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 4.99 ว่างงาน และ ตัวอย่างร้อยละ 44.52 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 47.52 ไม่มีรายได้ ตัวอย่างร้อยละ 9.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 29.36 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 6.80 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่าง ร้อยละ 2.00 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 0.96 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 3.44 ไม่ระบุรายได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ