มท.1 สั่งการ ปภ.ประสานจังหวัดแก้ไขปัญหาภัยแล้ง – ช่วยเหลือผู้ประสบภัย 10 จังหวัด

ข่าวทั่วไป Tuesday February 17, 2015 16:16 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ก.พ.--กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มท.1 สั่งการ ปภ. ประสาน 10 จังหวัด ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาและวางมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งให้สอดคล้องกับระดับความรุนแรง เน้นวางแผนบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่จำกัดให้เป็นระบบ เกิดประโยชน์สูงสุด และเชื่อมโยงในทุกระดับ รวมถึงแจกจ่ายน้ำทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่ เน้นให้ประชาชนมีน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1) กล่าวว่า ได้รับรายงานจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2557 – ปัจจุบัน มีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) 10 จังหวัด 37 อำเภอ ทั้งนี้ ได้สั่งการให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประสานจังหวัดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาและวางมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งให้สอดคล้องกับระดับความรุนแรงของสถานการณ์ภัยแล้งในแต่ละพื้นที่โดยวางแผนบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่จำกัดให้เป็นระบบ เกิดประโยชน์สูงสุด และเชื่อมโยงในทุกระดับ รวมถึงแจกจ่ายน้ำทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า ระยะนี้บางพื้นที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง โดยตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2557 – ปัจจุบัน มีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) แล้ว 10 จังหวัด ได้แก่ ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ สกลนคร บุรีรัมย์ ลพบุรี มหาสารคาม สุโขทัยนครสวรรค์ ขอนแก่น และชัยนาท รวม 37 อำเภอ 237 ตำบล 2,445 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 3.26 ของจำนวนหมู่บ้านทั่วประเทศ ทั้งนี้ ปภ. ได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง โดยจัดรถบรรทุกน้ำแจกจ่ายน้ำบรรเทา ความเดือดร้อนแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงประสานจังหวัดสำรวจปริมาณน้ำ จัดทำบัญชีแหล่งน้ำในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อสนับสนุนการสูบน้ำดิบเข้าสู่ระบบประปาหมู่บ้านและถังน้ำกลางประจำหมู่บ้านให้ประชาชนได้ใช้อุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอและบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือปัญหาภัยแล้ง โดยจัดหาทำความสะอาด ซ่อมแซมภาชนะกักเก็บน้ำให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี สำรองน้ำไว้อุปโภคบริโภค และใช้น้ำอย่างประหยัด ส่วนเกษตรกรควรเลือกปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อยแทนการทำนาปรัง เพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง 0-2243-0674 0-2243-2200 www.disaster.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ