ภายใต้เขตเศรษฐกิจพิเศษ อัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยของไทยหลังปี พ.ศ. 2558 ไม่ต่ำกว่า 4.5% (หากปัจจัยตัวแปรทางด้านเศรษฐกิจการเมืองอื่นๆไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยสำคัญไปในทิศทางที่เป็นลบอย่างมาก)

ข่าวทั่วไป Thursday February 19, 2015 17:24 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ก.พ.--มหาวิทยาลัยรังสิต เกิดการกระจายตัวของความเจริญทางเศรษฐกิจ เกิดศูนย์กลางทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุนตามจังหวัดชายแดนสำคัญ อย่างไรก็ตาม มีปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่ต้องแก้ไข คือ ราคาที่ดินปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากการเก็งกำไรที่ดิน พื้นที่เกษตรกรรมเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างไม่เหมาะสมหรือขาดการทำโซนนิ่งที่ดี การขาดการวางแผนการใช้พื้นที่อย่างมียุทธศาสตร์และบูรณาการรวมทั้งการพัฒนาเมืองอย่างเป็นระบบ เขตเศรษฐกิจพิเศษโดยภาพรวมแล้วเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจการค้าการลงทุนและสังคมโดยภาพรวม มี Positive Impacts and Externality สูง แต่ทางการจำเป็นต้องมีมาตรการรองรับและแก้ปัญหา Negative Externality ไว้ด้วย ก็จะทำให้การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ประเทศชาติและประชาคมอาเซียนโดยรวม ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้กล่าวในงานสัมมนา เขตเศรษฐกิจพิเศษ:ผลต่อเศรษฐกิจและสังคม ว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษระยะแรกใน 5 พื้นที่ชายแดนหากสามารถจัดตั้งได้ตามที่ประกาศเอาไว้ จะทำให้เศรษฐกิจการค้า การลงทุนและการพัฒนาพื้นที่ชายแดนอันประกอบไปด้วย อ. แม่สอด จ. ตาก อ. อรัญประเทศ สระแก้ว จ. ตราด จ. มุกดาหาร อ. สะเดา จ. สงขลา ขยายตัวอย่างก้าวกระโดดและได้รับประโยชน์จากการลงทุนการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังทำให้การผลิตขับเคลื่อนได้อย่างเต็มที่จากอุปทานแรงงานประเทศเพื่อนบ้านและเป็นการลดการอพยพของแรงงานต่างด้าวเข้าสู่พื้นที่ชั้นในของประเทศ โดยจะทำให้อัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยของไทยหลังปี พ.ศ. 2558 ไม่ต่ำกว่า 4.5% (หากปัจจัยตัวแปรทางด้านเศรษฐกิจการเมืองอื่นๆไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญไปในทิศทางที่เป็นลบอย่างมาก) เกิดการกระจายตัวของความเจริญทางเศรษฐกิจ เกิดศูนย์กลางทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุนตามจังหวัดชายแดนสำคัญ อย่างไรก็ตามมีปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่ต้องแก้ไข คือ ราคาที่ดินปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากการเก็งกำไรที่ดิน พื้นที่เกษตรกรรมเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างไม่เหมาะสมหรือขาดการทำโซนนิ่งที่ดี การขาดการวางแผนการใช้พื้นที่อย่างมียุทธศาสตร์และบูรณาการรวมทั้งการพัฒนาเมืองอย่างเป็นระบบ การจราจรแออัดบริเวณชายแดนไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่ดีพอ ปัญหาการขาดแคลนนักวิชาชีพและแรงงานทักษะสูง ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความอ่อนแอลงของชุมชน ค่านิยมวัฒนธรรมดีงามของท้องถิ่นถูกแทนที่โดยวัฒนธรรมแบบบริโภคนิยม เขตเศรษฐกิจพิเศษโดยภาพรวมแล้วเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจการค้าการลงทุนและสังคมโดยภาพรวม มี Positive Impacts and Externality สูง แต่ทางการจำเป็นต้องมีมาตรการรองรับและแก้ปัญหา Negative Externality ไว้ด้วย ก็จะทำให้การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ประเทศชาติและประชาคมอาเซียนโดยรวม ผศ. ดร. อนุสรณ์ ได้วิเคราะห์ บทเรียนเขตเศรษฐกิจพิเศษในต่างประเทศที่มีการจัดตั้งขึ้นในเวียดนาม มาเลเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน ว่ามีทั้งที่ประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมายและที่ทำให้เกิดผลกระทบข้างเคียงในทางลบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว ปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จของเศรษฐกิจพิเศษ คือ การกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม การดำเนินการในจังหวะเวลาที่เหมาะสม ความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในการกำหนดมาตรการต่างๆและสิทธิประโยชน์ มีระดับการทุจริตคอร์รัปชันและการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจต่ำ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ