กระทรวงแรงงาน เรื่อง ชี้ 3 ปัจจัยของรัฐบาลชุดปัจจุบันแก้ค้ามนุษย์

ข่าวทั่วไป Monday March 30, 2015 11:47 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 มี.ค.--กระทรวงแรงงาน ชี้ 3 ปัจจัยลดปัญหาค้ามนุษย์ด้านแรงงานยันปัญหาประมงผิดกฎหมายแบบ IUUที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ชี้ 3 ปัจจัย แก้กฎกระทรวง บังคับใช้กฎหมาย และเรือต้นแบบ ลดปัญหาค้ามนุษย์ยันปัญหาการประมงผิดกฎหมายแบบ IUU ต่างจากรัฐบาลในอดีตเพราะรัฐบาลปัจจุบันยึดหลัก ทำก่อน ทำจริง ทำทันที ดร.นพดล กรรณิกา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ชี้ 3 ปัจจัยลดปัญหาค้ามนุษย์ด้านแรงงาน แก้แรงงานเด็ก สางปัญหาแรงงานทาส และต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ให้ได้ผลสำเร็จตามหลักการทำก่อน ทำจริง ทำทันที หลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ เร่งแก้กฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเลมีผลบังคับใช้กว่า 2 เดือนที่ผ่านมาและมีการบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลปัจจุบันออกตรวจเรือประมงได้ 869 ลำ แต่รัฐบาลในอดีตออกตรวจเรือประมงในห้วงเวลาเดียวกันได้เพียง 152 ลำ และรัฐบาลปัจจุบันเอาผิดเรือประมงทั้งการดำเนินคดีและการออกคำสั่งจำนวน 65 ลำโดยดำเนินคดีเรื่องการใช้แรงงานเด็ก การสั่งให้จ่ายค่าจ้างและสวัดิการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ลูกจ้างให้อยู่ดีกินดีมีเวลาพักผ่อน ในขณะที่รัฐบาลในอดีตดำเนินการเรือที่ทำผิดได้เพียง ๑ ลำเท่านั้น จึงเห็นได้ชัดเจนว่าการตัดสินใจปรับปรุงกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเลทำให้ได้ผลสำเร็จและความเอาจริงเอาจังของรัฐบาลปัจจุบันแตกต่างไปจากรัฐบาลในอดีต “กฎกระทรวงนี้เป็นมาตรการที่ทำให้พบการกระทำผิดของเรือประมงเพื่อประเทศไทยจะได้หลุดจากการคาดโทษว่าไม่มีมาตรฐานในการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ แต่ตอนนี้เรามีกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานที่เรือประมงทะเลต้องทำตาม เช่น การทำสัญญาจ้าง การจ้างแรงงานขั้นต่ำ ห้ามจ้างคนอายุต่ำกว่า 18 ปี การจัดเวลาพักและเวลาทำงาน ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วย และการนำตัวลูกจ้างมารายงานตัวปีละครั้ง เป็นต้น จะทำให้ช่วยลดปัญหาการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก และแรงงานทาส” ที่ปรึกษา รมว.แรงงาน กล่าว ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลจากการมีกฎกระทรวงนี้เอง วันนี้เรามี “เรือประมงต้นแบบ” ที่มีห้องนอนติดแอร์ ห้องพยบาบาลและบุรุษพยาบาลประจำเรือ มีการติดตั้งระบบติดตามเรือหรือ VMS และเรือประมงต้นแบบยังได้ปฏิบัติตามกฎหมายการทำประมงด้วยการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทำประมงอย่างถูกต้อง ทำประมงเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับสัมปทานและมีการรายงานจำนวนปลาที่จับได้ จะทำให้ประเทศไทยหลุดจากการถูกคาดโทษการทำประมงที่ผิดกฎหมายแบบ IUU ตามกฎระเบียบของสหภาพยุโรปที่ทุกคนในชาติต้องเข้าใจว่า ถ้าเราถูกกีดกันการค้าระหว่างประเทศจะทำให้ทุกคนในชาติเดือดร้อนเรื่องเงินในกระเป๋าของแต่ละคนมากขึ้นไปอีก ดังนั้นทุกคนในชาติต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาแจ้งเบาะแส ผู้ประกอบการนายจ้างต้องทำตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ