หยุด! ร่าง หมกเม็ด พรบ.เศรษฐกิจดิจิทัล ที่ไม่ตอบคำถามสังคม

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday May 6, 2015 17:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 พ.ค.--กสทช. เครือข่ายผู้บริโภคเรียกร้อง กระทรวงไอซีที หยุดยึดเอา ร่าง กฎหมายดิจิทัล เป็นของตน และไม่ฟังเสียงประชาชนที่เรียกร้องให้มีการปรับปรุง แก้ไขร่างนี้ เพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง นางสุวรรณา จิตรประภัสสร์ ที่ปรึกษามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า เป็นที่น่าตกใจอย่างยิ่งว่ากระทรวงไอซีทีจะนำ ร่างกฎหมายดิจิทัล ซึ่งรวมถึง ร่าง พรบ. การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และร่าง แก้ไข พรบ.กสทช.เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ (อังคารที่ 28 เมษายน 2558) โดยยังไม่มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมทบทวน เสนอแนะ แก้ไข ซึ่งถือว่าเป็นการฝืนกระแสสังคมที่ต้องการให้ปรับปรุง ร่าง พรบ.ดิจิทับ ชุดนี้ทุกฉบับนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง ก่อนหน้านี้ ได้มีนักวิชาการ ผู้บริโภคและ ประชาชนที่สนใจ ได้แสดงความคิดเห็นทักท้วง และตั้งคำถาม ต่อ ร่างกฎหมายดิจิทัล ในเวทีรับฟังความคิดเห็น ในหลายประเด็น ซึ่งกระทรวงไอซีทีไม่สามารถตอบต่อสังคมได้ โดยใจความใหญ่สรุปข้อบกพร่องของร่าง พรบ. นี้ไม่ตอบโจทย์ประโยชน์สาธารณะ หรือการคุ้มครองประชาชน ขาดวิสัยทัศน์พัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล แต่เน้นการตั้งหน่วยงานรัฐใหม่ มีการจัดสรรอำนาจ และการยึดอำนาจจากองค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการปฏิรูปสื่อ และล้วงกองทุน กสทช. เพื่อให้ประโยชน์กับการพัฒนาดิจิทัลที่เป็นเรื่องของภาคเอกชน มากกว่าให้กองทุนที่ได้มาจากการประมูลคลื่นสาธารณะ เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง กระทรวงไอซีทียังไม่สามารถอธิบายได้ว่า การแก้กฎหมาย กสทช. ทำไมจึงไม่แตะที่ต้นเหตุของปัญหาที่แท้จริงของ กสทช. คือปัญหาธรรมาภิบาลองค์กร แต่กลับไปลดทอนความเป็นอิสระขององค์กรกำกับดูแลแห่งนี้ และเหตุใดร่างกฎหมายใหม่จึงละเลยการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ทำให้มีการแทรกแซงกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อสาธารณะ ทั้งที่สิทธินี้ เป็นสิทธิของประชาชนที่ได้รับรองไว้ใน พรบ. กสทช. พ.ศ. 2553 “การที่กระทรวงไอซีทีเพิกเฉยต่อการมีส่วนร่วมภาคประชาชน แล้วนำร่างนี้เข้าสู้การพิจารณาของครม. ถือว่าขัดต่อเจตนารมณ์ของการปฏิรูปประเทศที่เน้นการส่วนร่วมภาคประชาชนในทุกกระบวนการการทำงานภาครัฐ เครือข่ายผู้บริโภคจึงเรียกร้องให้กระทรวงไอซีทียุติการนำร่างนี้เสนอต่อครม. แล้วรำกลับมาแก้ไขปรับปรุงร่วมกันกับภาคประชาชนจนกว่าจะได้ร่างที่สมบูรณ์ จึงนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.” นางสุวรรณากล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ