จ๊อบส์ ดีบี เผยผลสำรวจ 5 ปัจจัยที่ส่งผลให้คนทำงานมีความสุข และไม่มีความสุขกับการทำงาน พร้อมเปิดตัวแคมเปญตลาดใหม่

ข่าวทั่วไป Monday May 11, 2015 17:40 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 พ.ค.--จ๊อบส์ ดีบี จ๊อบส์ ดีบี เผยผลสำรวจ 5 ปัจจัยที่ส่งผลให้คนทำงานมีความสุข และไม่มีความสุขกับการทำงาน พร้อมเปิดตัวแคมเปญตลาดใหม่ กระตุ้นให้คนมีความสุขกับงานที่ทำ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด เผยผลสำรวจล่าสุดในหัวข้อ “ความสุขในการทำงานปี2558 โดย จ๊อบส์ ดีบี” พบเกือบ 60 เปอร์เซ็นของคนทำงานในกรุงเทพและปริมณฑลมีความสุขกับการทำงาน และกว่า 40เปอร์เซ็นต์ไม่มีความสุขกับงานที่ทำ พร้อมเปิดตัวแคมเปญการตลาดใหม่ ‘Happy is a better job’ ใช้ชีวิตให้สุข สนุกกับงานที่ใช่” คุณนพวรรณ จุลกนิษฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากปัญหาการขาดแคลนผู้สมัครงาน ประกอบกับตัวเลขการหมุนเวียนของพนักงานบริษัทที่มีสัดส่วนถึง 13% ในปีพ.ศ. 2556 ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำนวนมากต้องประสบปัญหาการทำงานโดยไม่ต่อเนื่อง อีกทั้งยังต้องทำฝึกสอนพนักงานใหม่ให้สามารถรับผิดชอบงานในตำแหน่งงานนั้นได้ จ๊อบส์ ดีบีจึงต้องการทราบถึงเหตุผลที่ทำให้พนักงานมีความสุข สามารถทำงานในองค์กรได้ในระยะยาว จึงได้จัดทำผลสำรวจความสุขในการทำงาน (Happiness Meter) ประจำปีพ.ศ. 2558 เพื่อให้ได้ทราบถึงปัจจัยที่ทำให้พนักงานมีความสุข และไม่มีความสุขในการทำงาน คนทำงานในประเทศไทยเห็นพ้องกันว่า: งานที่มีความสุขคือสิ่งที่ใช่ ? จริงหรือไม่ที่งานที่มีความสุขคืองานที่ใช่? จากผลการสำรวจหัวข้อ “Happiness Meter” ที่จ๊อบส์ ดีบีจัดทำขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ปรากฎว่าความสัมพันธ์ระหว่างความสุขและการจ้างงานที่ดีขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างชัดเจน ข้อมูลจากผลสำรวจระบุว่า 58.3 % ของคนทำงานมีความสุขกับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน โดย 5 ปัจจัยที่ส่งผลให้คนทำงานมีความสุขคือ 1. บทบาทและหน้าที่ที่รับผิดชอบในงานปัจจุบัน 2.ความสัมพันธ์ที่ดีที่เกิดขึ้นกับเพือนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา3.เงินเดือนที่ได้รับ 4.ช่วงเวลาการทำงาน เพราะสามารถจัดการความสมดุลในการใช้ชีวิตและการทำงานได้ 5. สิทธิประโยชน์และผลตอนแทนที่เป็นแรงจูงใจ ในขณะ 41.6% ไม่มีความสุขกับงานที่ทำ โดย 5 ปัจจัยที่ทำให้คนทำงานไม่มีความสุขกับการทำงาน คือ 1.ระบบการทำงานขององค์กร ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการทำงาน 2.เงินเดือนที่ได้รับ 3.บทบาทและหน้าที่ที่รับผิดชอบในงานปัจจุบัน 4.ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา 5.สิทธิประโยชน์และผลตอนแทนที่เป็นแรงจูงใจ 5 เหตุผลที่ทำให้คนทำงานตัดสินใจลาออกจากงานประจำที่เคยทำก่อนหน้านี้คือ 1.ไม่มีโอกาสในการเติบโตในองค์กร 2.เข้ากับเพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชาไม่ได้ 3.ได้การปรับเงินเดือน แต่ไม่เพียงพอ 4.บริษัทหรือองค์กรไม่มีระบบที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพ 5.ไม่ชอบงานที่รับผิดชอบอยู่ รายงานฉบับนี้ระบุว่าพนักงานไทยส่วนใหญ่ตั้งใจทำงานกับองค์กรนั้นๆ ประมาณ 3 ปีเป็นอย่างมาก โดย 38% ระบุว่าจะทำงานกับองค์กรของตัวเองอีกประมาณ 1 ถึง 3 ปี และอีก 27% บอกว่ากำลังมองหาโอกาสที่ดีกว่าให้กับตัวเองภายในปีนี้ 32% ของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับหัวหน้างาน โดยผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุงานประมาณ 1-4 ปีคิดเป็น 31% ของทั้งหมด และเป็นกลุ่มเพิ่งเริ่มทำงานประมาณ 9% นั่นหมายความว่าพนักงานจำนวนมากที่แม้ทำงานมาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่ง หรือมีรายได้หรือผลตอบแทนที่น่าพอใจในระดับหนึ่งก็มองหาโอกาสใหม่ๆ ให้กับหน้าที่การงานระยะสั้นของตัวเอง มีประเด็นที่น่าสนใจจากรายงานฉบับนี้ว่างานดีกว่าเทียบได้กับการทำงานอย่างมีความสุขหรือไม่? ผลการสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนหนึ่งมีความสุขกับงานปัจจุบัน นอกเหนือจากนั้นมากกว่าครึ่งตอบว่ากำลังมองหางานที่ให้ค่าตอบแทนที่ดีกว่าในช่วงหนึ่งถึงสามปีจากนี้ ซึ่งคาดได้ว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีความสุขกับงานปัจจุบัน ซึ่งพนักงานกลุ่มนี้ก็จะไม่รีรอหรือลังเลที่จะเปลี่ยนงานในทันทีที่พวกเขาไม่มีความสุขกับงานอีกแล้ว พร้อมกันนี้ จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) ยังได้เปิดตัวแคมเปญการตลาดใหม่ "‘Happy is a better job’ ใช้ชีวิตให้สุข สนุกกับงานที่ใช่” เพื่อเป็นการกระตุ้นให้คนวัยทำงาน มองเห็นความสุขในการทำงาน และสร้างแรงจูงใจให้รู้สึกอยากทำงานประจำในบริษัทต่างๆ โดยแคมเปญดังกล่าวจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ