จับตาะวาระกสทช. : ถกแผนคืนคลื่นและร่างแผนความถี่วิทยุและมาตรฐาน พร้อมลุ้นรองเลขาธิการด้านบรอดแคส

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday May 20, 2015 17:22 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 พ.ค.--NBTC Rights วาระที่ ๕.๑.๒ แผนความถี่วิทยุและมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับกิจการวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟ.เอ็ม. ระบบเอ.เอ็ม. และระบบดิจิตอล (เอกสารเล่มที่ ๒) “ดิฉันมีข้อสังเกตเพิ่มเติมในการพิจารณาแผนความถี่วิทยุฯ ทั้ง ๔ ฉบับว่า สำนักงานควรดำเนินการจัดทำการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้น (regulatory impact assessment) เนื่องจากแผนความถี่เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าอุตสาหกรรมวิทยุกระจายเสียงของประเทศไทย โดยชี้ให้เห็นว่า หากดำเนินการตามแผนความถี่และมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับกิจการวิทยุกระจายเสียงตามที่ที่ปรึกษาจัดทำข้อเสนอมานั้นจะก่อให้เกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมวิทยุกระจายเสียงอย่างไร, เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคอย่างไร และวิเคราะห์ผลกระทบอันสืบเนื่องจากการดำเนินการสถานีวิทยุคมนาคมเพื่อให้บริการโครงข่ายวิทยุในระบบดิจิตอล นอกจากนี้ยังควรนำเสนอรายงานที่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างแผนความถี่วิทยุและมาตรฐานทางเทคนิคกับแผนดำเนินการในเรื่องการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ซึ่งสำนักกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล (จส.) ได้จัดจ้างสหภาพโทรคมนาคมในการศึกษา Roadmap for the Introduction of Digital Terrestrial Radio Services in Thailand เสร็จลุล่วงไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เห็นภาพรวมและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมและผู้บริโภคในอนาคต ดิฉันเห็นว่า ข้อมูลเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไป” วาระ ๕.๓.๑ เรื่อง กรอบหลักการประกอบการพิจารณาจัดทำหลักเกณฑ์การคืนคลื่นเพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ (เอกสารเล่มที่ ๑) ข้อเสนอ สนง. : - ขอความเห็นชอบกรอบหลักการ (Conceptual Framework) ประกอบการพิจารณาจัดทำหลักเกณฑ์การคืนคลื่นเพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ (ตามข้อ ๔) - ความเร่งด่วนของเรื่องฯ เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดระดับสำนักงานฯ ประจำปี ๒๕๕๗ ข้อสังเกต / ความเห็น : - มีบันทึกข้อสังเกต กสทช.สุภิญญาฯ จากที่ประชุม กสท.ครั้งที่ ๕๔/๒๕๕๗ (เอกสารประกอบวาระ แนบ ๑) - แนวคิดมาตรการเยียวยาหรือบรรเทาผลกระทบกรณีการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ก่อนสิ้นสุดระยะเวลา เป็นไปเพื่อให้ คือ ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการใช้งานคลื่นตามที่ได้รับอนุญาต หรือ ก่อนสิ้นสุดระยะเวลา - มีข้อสังเกตต่อการให้ความเห็นชอบฯ กรอบหลักการเพื่อจัดทำหลักเกณฑ์การคืนคลื่นฯ ดังนี้ o มาตรการเยียวยาหรือบรรเทาผลกระทบกรณีการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ก่อนสิ้นสุดระยะเวลา เป็นกรณีที่อยู่นอกเหนือบทบัญญัติของกฎหมายปัจจุบัน ซึ่ง สนง.ก็ยอมรับฯ ในวาระ (น.๑๒-๑๓) ดังนั้นการเสนอให้กรรมการเห็นชอบฯ เพื่อดำเนินกระบวนการจัดทำหลักเกณฑ์ต่อไป จึงเป็นการเสนอให้ กสทช.กระทำการที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือไม่ (เป็นแค่แนวคิดที่ปรากฏอยู่ในร่างพรบ. กสทช.ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไข) [ข้อ ๔.๕/น.๑๒-๑๓] - มาตรการเยียวยาฯ กรณีการปรับปรุงการใช้คลื่นฯ ควรเป็นมาตรการที่จัดทำภายหลังจากกระบวนการคืนคลื่นและการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการคืนคลื่นเสร็จสิ้นแล้ว เพื่อให้องค์กรกำกับสามารถพิจารณาได้ถึงแผนทั้งหมดในการจัดสรรคลื่นในระบบใหม่ได้ และกำหนดการใช้งานคลื่นในย่านต่างๆ ได้ตามแผนหรือตามวัตถุประสงค์ ซึ่งในขั้นตอนนี้จึงอาจกำหนดมาตรการปรับปรุงการใช้คลื่นให้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้ และอาจใช้ได้หลากหลายวิธี ปัญหาสำคัญของการกำหนดมาตรการเยียวยาฯ ในระหว่างกระบวนการคืนคลื่นนั้นจะก่อให้เกิดปัญหา “หน่วยงานรัฐขายคลื่นคืนรัฐ” ซึ่งจะกลายเป็นมาตรการที่ทำให้เกิดการใช้จ่ายเงินของรัฐโดยสิ้นเปลือง - ทั้งนี้กรณีการคืนคลื่นความถี่ที่ใช้ในการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบสัญญาสัมปทาน/การอนุญาต อีก ๒๓ สัญญา ตลอดจนคณะอนุกรรมการอยู่ระหว่างการพิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่น และการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการคืนคลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (น.๔) กล่าวคือกระบวนการตรวจสอบการถือครองคลื่น ตลอดจนความจำเป็นการถือครองคลื่น(ภายใต้กรอบเวลาคืนคลื่นของแผนแม่บทฯ) และการกำหนดเวลาที่แน่นอนในการคืนคลื่น ตามมาตรา ๘๒-๘๓ ยังไม่แล้วเสร็จ [ในทางปฏิบัติการคืนคลื่นวิทยุภายใน ๕ ปี (๔ เมษายน ๒๕๖๑) ก็มีระยะเวลาลดลงทุกขณะ ปัจจุบันจึงเหลือระยะเวลาไม่ถึง ๒ ปี (การคืนคลื่นโทรทัศน์กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนแล้วที่ ๕ ปี)]
แท็ก กสทช.   SME  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ