บันได 9 ขั้น สู่โครงสร้างพื้นฐานพัฒนาธุรกิจ ตอบสนองการทำงานแบบเรียลไทม์ขององค์กร

ข่าวเทคโนโลยี Friday June 12, 2015 10:48 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 มิ.ย.--คอร์ แอนด์ พีค ปัจจุบันความคาดหวังของลูกค้า และผู้ใช้งานในองค์กร ที่ต้องการบริการแบบเรียลไทม์ กลายเป็นแรงผลักดันความต้องการของธุรกิจให้ต้องทำงานแบบต่อเนื่องตลอดเวลา และเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้ องค์กรจำเป็นต้องใช้นวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่สามารถรองรับทั้ง แนวโน้มการทำงานแบบเคลื่อนที่ และพร้อมบริหารจัดการการขยายตัวของข้อมูลปริมาณมหาศาล รวมทั้งสามารถช่วยลดความเสี่ยงควบคู่ไปกับการลดต้นทุนต่างๆ และเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน เทคโนโลยีด้านดาต้าเซนเตอร์จึงต้องมีพื้นฐานโดยใช้ซอฟต์แวร์เป็นตัวกำหนดการบริหารจัดการแบบอัตโนมัติ มีสมรรถนะสูง พร้อมทำงานตลอดเวลา เป็นระบบเวอร์ชวลไลเซชั่น สามารถรองรับการขยายตัว และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดี บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด มีข้อแนะนำใน 9 ขั้นตอนเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้พร้อมทำงานแบบต่อเนื่องตลอดเวลา ตอบสนองการทำงานแบบเรียลไทม์ของธุรกิจ ดังต่อไปนี้ 1. ประเมินและวิเคราะห์ความสำคัญ โครงสร้างพื้นฐานของระบบสารสนเทศมีการขยายตัว และมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระบบเซิฟเวอร์แบบเวอร์ชวล ระบบจัดเก็บข้อมูล และเครือข่ายที่แยกต่างหากจากกัน จะทำให้องค์กร ไม่สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดและบริหารระบบสารสนเทศที่มีอยู่แบบครบวงจร ฝ่ายไอทีควรทำการประเมินระบบที่มีอยู่นี้ โดยจัดลำดับความสำคัญของแอพลิเคชั่น และข้อมูลที่มีต่อธุรกิจ ต้นทุน และประโยชน์ของโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน และระดับการปกป้องที่เหมาะสม การวิเคราะห์นี้ควรรวมถึง ข้อกำหนดและปริมาณความจุของข้อมูลสำหรับเซิฟเวอร์ระบบเวอร์ชวล NAS และ file sharing ตลอดจนประเมิน footprint และสมรรถนะของเครือข่าย 2. รวมระบบ (Consolidate) เนื่องจากความต้องการการเก็บข้อมูลแบบที่ไม่มีโครงสร้าง (unstructured data) มีเพิ่มขึ้น ทำให้โซลูชั่นระบบจัดเก็บข้อมูลแบบบล็อก และไฟล์ ที่แยกจากกันแบบเดิมๆ ไม่เพียงพออีกต่อไปในการสร้างความคุ้มทุนในเชิงธุรกิจ การทำรวมระบบ หรือ consolidation จึงเข้ามามีบทบาทในการช่วย ลดต้นทุนโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการลดต้นทุนการลงทุน ลดต้นทุนด้านสาธารณูปโภค และลดการใช้พื้นที่ วิธีการรวมข้อมูลแบบบล็อก ไฟล์ และออบเจ็กต์อย่างชาญฉลาดบนแพลตฟอร์มเดียวกัน จะช่วยยืดอายุให้กับอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลต่างๆ นอกจากนี้การลดการเก็บข้อมูลที่แยกในส่วนต่างๆกัน(ไซโล) ยังช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูล การใช้ประโยชน์จากหน่วยความจำที่ไม่ได้ใช้งาน การบริหารจัดการข้อมูล และการตอบสนองต่อเป้าหมายการบริการเป็นไปได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3. ทำทุกอย่างให้เป็นเวอร์ชวล การแปลงข้อมูลในไซโลให้เป็นแบบคอนเวอร์จ และเวอร์ชวล จะช่วยเพิ่มมูลค่าสมรรถภาพ และพื้นที่ความจุสำหรับการใช้งานอื่นๆ การจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการทำเซิฟเวอร์ระบบเวอร์ชวลนั้น ควรจะต้องทำระบบจัดเก็บข้อมูลแบบเวอร์ชวลด้วย เพื่อทำให้เกิดการรวมข้อมูล และประโยชน์ที่ยืดหยุ่นในระดับเดียวกับเซิฟเวอร์ นอกจากนี้ต้องมีการทำ tiering เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบ และการเข้าถึงข้อมูล 4. เพิ่มความเร็วด้วย Flash แอพลิเคชั่นที่สำคัญทางธุรกิจต้องการระบบที่มีความสามารถในการตอบสนองการเข้าถึงข้อมูลได้สูงและรวดเร็ว เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นจึงควรเลือกใช้เทคโนโลยี flash ที่สามารถขยายตัวได้ตามปริมาณการเติบโตที่ต้องการ โซลูชั่น flash ที่เหมาะสมยังช่วยลดความหนาแน่นแบบ cost-per-bit ได้ดีกว่าวิธีการทำ commodity flash รวมถึงมีความยืดหยุ่นในการผสมผสานสื่อต่างๆ ให้สอดคล้องกับต้นทุนและประสิทธิภาพที่เหมาะสม 5. ระบบการทำงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การสร้างโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่พร้อมทำงานแบบต่อเนื่องตลอดเวลา ต้องใช้ระบบอัตโนมัติในการกำหนดระบบการทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งระบบอัตโนมัติในที่นี้หมายถึงการใช้ซอฟแวร์หรืออุปกรณ์ที่ชาญฉลาดฝังตัวอยู่ภายในเพื่อตรวจสอบสถานะที่มีการเปลี่ยนแปลง และจัดการทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุด ระบบอัตโนมัติไม่เพียงช่วยลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน และป้องกันการขัดจังหวะการทำงานโดยคน หากยังช่วยแก้ปัญหาด้านประสิทธิภาพ และการติดขัดของระบบโดยการย้ายข้อมูลไปยัง tier ที่เหมาะสมในช่วงเวลาที่เหมาะสม การแบ่งประเภทข้อมูลแบบ policy-based ยังช่วยลดความซับซ้อนในการจัดการแอพลิเคชั่นและการบริการข้อมูล 6. ปกป้องข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากอุปกรณ์ประเภทต่างๆ ทำให้ระบบการปกป้องข้อมูลรูปแบบเดิมไม่สามารถตอบสนองความต้องการขององค์กรในปัจจุบันได้ การปกป้องข้อมูลและตอบสนองต่อกฎระเบียบต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยการลดปริมาณที่ข้อมูลตามความสำคัญที่ได้รับการปกป้อง เพิ่มประสิทธิภาพในการสำรองและกู้คืนข้อมูล รวมถึงการจัดการข้อมูลที่ง่ายขึ้น การลดปริมาณข้อมูลตามความสำคัญที่ได้รับการปกป้อง เท่ากับเป็นการลดภาระให้กับระบบการทำงานหลัก(production systems) และลดต้นทุนด้านระบบการจัดเก็บหลัก ซึ่งสามารถทำได้โดยการทำ archive หรือ tier แบบ policy-based ให้กับแพลตฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลแบบ self-protected เทคโนโลยีการทำ snapshot, cloning หรือการทำ replicationจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสำรองและกู้คืนข้อมูลได้ การจัดการเทคโนโลยีการทำซ้ำข้อมูลในระบบจัดเก็บจากหน้าอินเตอร์เฟสกลางจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการบริหารและการรายงานด้านการปกป้องข้อมูล 7. สำรองข้อมูลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การสำรองข้อมูลของฐานข้อมูลขนาดใหญ่โดยไม่กระทบต่อการทำงานของผู้ใช้งานและระบบงานขององค์กรเป็นเรื่องยาก การใช้เทคโนโลยี snapshot และการทำซ้ำข้อมูลในระบบจัดเก็บจะช่วยลดความเสี่ยง โดยกำจัดช่องโหว่และเพิ่มความถี่ในการสำรองข้อมูล เทคโนโลยี application-aware snapshot จะช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดการสำรองข้อมูลของแพลตฟอร์มต่างๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันจากศูนย์กลาง และการประสานการกู้คืนในข้อมูล ออบเจ็กต์ และแอพพลิเคชั่น 8. การกู้คืนข้อมูลจากภัยพิบัติและการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง องค์กรต้องเลือกโซลูชั่นที่เหมาะสมต่อปัจจัยต่างๆ ภายในองค์กร โซลูชั่นการกู้คืนข้อมูลจากภัยพิบัติและการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องใหม่ๆที่ทันสมัยสำหรับการทำซ้ำข้อมูลบนฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์มีประโยชน์หลายอย่าง อาทิ ช่วยสร้างกลยุทธ์การทำซ้ำสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์หลายแห่งเพื่อคัดลอกข้อมูลต่างๆ นอกเหนือจากข้อมูลที่อาจเสียหายจากภัยพิบัติได้อย่างครบถ้วน โซลูชั่นเหล่านี้ยังหลีกเลี่ยงผลกระทบที่มีต่อการทำงานของแอพลิเคชั่น และกู้คืนข้อมูลแบบออนไลน์ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพด้วยการใช้เครื่องมือซอฟแวร์พิเศษที่ป้องกันการล่มของระบบโดยอัตโนมัติ 9. โครงสร้างพื้นฐานแบบ Active-Active เพื่อให้มั่นใจได้ว่าแอพลิเคชั่นสำคัญต่างๆ จะทำงานได้ต่อเนื่องเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา และรีเฟรชระบบโดยไม่สะดุด องค์กรต้องมีโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแบบ active-active ซึ่งเครื่องมือ global-active จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าปริมาณการจัดเก็บข้อมูลพร้อมทำงานสำหรับแอพลิเคชั่นในระบบหลัก แม้จะมีการสูญเสียใน local site หรือระบบจัดเก็บไป นอกจากนี้คลัสเตอร์การจัดเก็บแบบ active-active สามารถใช้กับการย้าย workload และข้อมูลที่ต้องไม่มีการสะดุด ระบบในองค์กรจะมีความยืดหยุ่น ความน่าเชื่อถือ และความสม่ำเสมอจากการพร้อมทำงานตลอดเวลาให้กับข้อมูลและแอพลิเคชั่นที่มีความสำคัญ “เพื่อสร้างความสำเร็จในโลกที่พร้อมทำงานตลอดเวลา ฮิตาชิฯ เชื่อว่าโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม และการมุ่งเน้นไปที่ดาต้าเซ็นเตอร์เพื่อสนับสนุนองค์กรในทุกด้านจะช่วยให้ธุรกิจก้าวไกลในอนาคต เนื่องจากการเปลี่ยนไปสู่โครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมทำงานตลอดเวลา จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและความคุ้มค่าให้กับข้อมูลทางธุรกิจ และด้วยโซลูชั่นของฮิตาชิฯ ที่มีทางเลือกที่หลากหลาย และได้รับการรับรองความเป็นผู้นำในการบริการและความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยี จะช่วยสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นมากกว่าการสนับสนุนธุรกิจด้วยความรวดเร็วและเพิ่มมูลค่าให้ไอที เพราะฮิตาชิฯ พร้อมจะช่วยให้องค์กรธุรกิจเปลี่ยนไปสู่โครงสร้างพื้นฐานที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ ซึ่งนับเป็นการปฏิวัติวิธีการส่งมอบบริการด้านไอที ให้ธุรกิจพร้อมตอบสนองโลกที่ทำงานไม่เคยหยุดนิ่งในวันนี้และอนาคต”

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ