ข้อห้ามจำหน่ายเหล้าในรัศมี 300 เมตร จากสถานศึกษา

ข่าวทั่วไป Thursday June 25, 2015 10:47 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 มิ.ย.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" ร่วมกับคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ข้อห้ามจำหน่ายเหล้าในรัศมี 300 เมตร จากสถานศึกษา" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23 – 24 มิถุนายน 2558 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับกรณีที่คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เห็นชอบให้ออกประกาศห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้สถานศึกษา ในระยะ 300 เมตร รอบรั้วมหาวิทยาลัย ตลอด 24 ชั่วโมง ต้องไม่มีร้านที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เด็ดขาด การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการออกประกาศห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและสถาบันอาชีวศึกษาในระยะ 300 เมตร ในภาพรวม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.05 ระบุว่า เห็นด้วยกับข้อห้ามจำหน่ายเหล้าในรัศมี 300 เมตร จากสถานศึกษา รองลงมา ร้อยละ 26.42 ระบุว่า ควรกำหนดข้อห้ามจำหน่ายเหล้าในรัศมี มากกว่า 300 เมตร จากสถานศึกษา (เฉลี่ย = 955.13 เมตร หรือควรห่างประมาณ 1 กิโลเมตร ต่ำสุด 350 เมตร, สูงสุด 1 กิโลเมตร) ขณะที่ ร้อยละ 1.22 ระบุว่า ควรกำหนดข้อห้ามจำหน่ายเหล้าในรัศมี น้อยกว่า 300 เมตร จากสถานศึกษา (เฉลี่ย = 99.33 เมตร หรือควรห่างประมาณ 100 เมตร, ต่ำสุด 10 เมตร, สูงสุด 200 เมตร) ร้อยละ 4.13 ระบุว่า ไม่ควรมีข้อห้ามใด ๆ เลย ร้อยละ 1.86 ระบุว่า เป็นการแก้ไขไม่ตรงจุด เป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ แก้ไขได้ยาก ขึ้นอยู่ที่ตัวเด็ก ควรคำนึงถึงผลกระทบของผู้ประกอบการด้วย หรือไม่เช่นนั้น ก็ควรออกกฎหมายห้ามจำหน่ายสุรา เมื่อวิเคราะห์เฉพาะกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา พบว่า ร้อยละ 67.31 ระบุว่า เห็นด้วยกับข้อห้ามจำหน่ายเหล้าในรัศมี 300 เมตร จากสถานศึกษา รองลงมา ร้อยละ 19.23 ระบุว่า ควรกำหนดข้อห้ามจำหน่ายเหล้าในรัศมี มากกว่า 300 เมตร จากสถานศึกษา ร้อยละ 1.92 ระบุว่า ควรกำหนดข้อห้ามจำหน่ายเหล้าในรัศมี น้อยกว่า 300 เมตร จากสถานศึกษา ร้อยละ 11.54 ระบุว่า ไม่ควรมีข้อห้ามใด ๆ เลย เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการออกประกาศห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและสถาบันอาชีวศึกษาในระยะ 300 เมตร ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาการดื่มเหล้าของนักศึกษาและเยาวชนได้หรือไม่ ในภาพรวม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.12 ระบุว่า ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เลย รองลงมา ร้อยละ 34.60 ระบุว่า ค่อนข้างแก้ไขปัญหาได้บ้าง ร้อยละ 18.72 ระบุว่า ไม่ค่อยแก้ไขปัญหาได้ มีเพียง ร้อยละ 7.13 ที่ระบุว่า สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแน่นอน และร้อยละ 2.43 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อวิเคราะห์เฉพาะกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 42.31 ระบุว่า ค่อนข้างแก้ไขปัญหาได้บ้าง รองลงมา ร้อยละ 26.92 ระบุว่า ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เลย ร้อยละ 17.31 ระบุว่า ไม่ค่อยแก้ไขปัญหาได้ ร้อยละ 9.62 ระบุว่า สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแน่นอน และร้อยละ 3.85 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อมติที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ที่จะห้ามเสิร์ฟแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงในสถาบันการศึกษา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 78.72 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ ถือเป็นสถาบันการศึกษา ไม่ควรนำแอลกอฮอล์ทุกชนิดเข้ามา อีกทั้งกังวลถึงความวุ่นวายต่าง ๆ ที่จะตามมา เช่น การทะเลาะวิวาทกัน หรืออุบัติเหตุ เป็นต้น เป็นการส่งเสริมการลด ละ เลิก การดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งถือเป็นแบบอย่างและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเด็กและเยาวชนและสถาบันการศึกษา รองลงมา ร้อยละ 15.68 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นเพียงงานเลี้ยงสังสรรค์ ซึ่งถือเป็นธรรมดาที่จะต้องมีเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ และถือเป็นสีสันภายในงาน แต่ทั้งนี้ต้องดูถึงความเหมาะสมของแต่ละงานด้วย ขณะที่ร้อยละ 1.36 ระบุว่า ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ผู้จัดงาน และความเหมาะสมของงาน หากเป็นงานเลี้ยงบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่นักศึกษาก็ควรอนุโลมได้ และ ร้อยละ 4.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 18.32 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 15.92 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.16 ภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 52.40 เป็นเพศชาย ร้อยละ 47.52 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 8.72 มีอายุ น้อยกว่า 25 ปี ร้อยละ 20.48 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 24.32 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 34.48 มีอายุ 46 – 60 ปี ร้อยละ 10.80 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และร้อยละ 1.20 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 93.84 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.00 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.96 นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ และร้อยละ 1.20 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 24.00 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 72.88 สมรสแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 1.92 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.20 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 28.64 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ตัวอย่างร้อยละ 30.16 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.84 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 26.72 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและตัวอย่างร้อยละ 5.20 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.44 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 14.88 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 12.08 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่าง ร้อยละ 24.40 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 15.12 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ตัวอย่างร้อยละ 14.08 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 14.00 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ตัวอย่างร้อยละ 4.16 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.28 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่าง ร้อยละ 15.60 ไม่มีรายได้ ตัวอย่าง ร้อยละ 23.12 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 27.76 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 12.32 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 6.32 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 8.56 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 6.32 ไม่ระบุรายได้
แท็ก นิด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ