มิติใหม่ "ไมโครบัส" ของบริษัท กรุงเทพไมโครบัส จำกัด

ข่าวทั่วไป Tuesday February 3, 1998 16:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--3 ก.พ.--กปส.
เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2540 เวลา 14.00 น. ที่โรงแรมเอราวัณ ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีลงนามข้อตกลงร่วมทุนจัดตั้งบริษัท กรุงเทพไมโครบัส จำกัด ระหว่างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด โดยนายเลื่อน กฤษณกรี ประธานคณะกรรมการบริษัท กับบริษัท บางกอก มอเตอร์ อิควิปเม้นท์ จำกัด โดยนายสมพงษ์ ฝึกการค้า ซึ่งจะร่วมกันบริหารงานระบบขนส่งมวลชนรถยนต์โดยสารประจำทางไมโครบัส
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ทั้งสองบริษัทได้หารือในเบื้องต้นที่จะร่วมกันเดินรถไมโครบัสในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำหรับสาระสำคัญเบื้องต้นที่ตัดสินใจเข้าร่วมบริหารงานการเดินรถไมโครบัสเพราะเล็งเห็นความสำคัญ 3 ประการ คือ 1. ไมโครบัสที่กำลังเดินรถอยู่ประมาณ 18 เส้นทาง จำเป็นต่อระบบขนส่งมวลชน เพราะมีประโยชน์และอำนวยความสะดวกต่อประชาชาชนที่สัญจรไป-มา อย่างมาก 2. ต้องรักษาคุณภาพการให้บริการแก่ผู้โดยสารไมโครบัสอย่างครบถ้วน โดยให้ดีกว่าปัจจุบันหรือดีกว่าเดิม 3. กทม.มีนโยบายที่จะให้เกิดระบบขนส่งมวลชนอย่างจริงจังไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าธนายง รถรางเลียบคลอง หรือรถไมโครบัส ซึ่งจะเป็นระบบเสริมให้กับรถไฟฟ้าธนายงอีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หากข้อตกลงที่ได้มีการลงนามกันในวันนี้ ผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรีแล้ว จะทำให้เกิดการเดินทางที่ตอบสนองแก่ผู้ใช้บริหารมากที่สุด
ทางด้านนายสมพงษ์ กล่าวด้วยว่า รถไมโครบัสดำเนินงานมาได้ประมาณ 5 ปี ก็ประสบกับปัญหาอุปสรรคจนทำให้ตนตัดสินใจเลิอกกิจการเมื่อปลายปี 2540 และเมื่อประกาศเลิกกิจการแล้ว อธิบดีกรมขนส่งทางบกได้เรียกเข้าหรือ พร้อมแนะนำให้ประสานงานกับผู้ว่าฯ กทม. ประกอบกับผู้ว่าฯ กทม. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของรถไมโครบัสว่า มีประโยชน์ต่อชาวกรุงเทพ จึงได้ตกลงใจมอบหมายให้บริษัท กรุเทพธนาคม เข้าร่วมดำเนินงานบริหาร ดดยบริษัท กรุงเทพธนาคม ถือหุ้น 30% บริษัท บางกอกไมโครบัส ถือหุ้น 30% ส่วนที่เหลือเป็นของผู้สนใจร่วมทุน ทั้งนี้ ผู้ว่าฯ กทม. ได้มอบนโยบายว่า จะต้องรักษาคุณภาพของการบริการไมโครบัสให้ดีอย่างต่อเนื่อง หรือดีกว่าเดิม รวมถึงห้ประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนที่ใช้บริการโดยไม่เอารัดเอาเปรียบ หรือให้ได้รับผลตอบแทนไม่มาก แต่อย่างบริหารงานขาดทุน
นายเลื่อน กล่าวว่า บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด มีหน้าที่เป็นแขนขาให้กับกรุงเทพมหานคร ในการบริหารงานใดที่ กทม.เห็นว่าขาดความคล่องตัว เช่น การประกอบการเดินรถ และจากการหารือกันกับประธานคณะกรรมการบริษัท บางกอกมอเตอร์อิควิปเมนท์ เห็นพ้องกันว่า ทั้งสองบริษัทต้องช่วยเหลือกัน และเชื่อว่าจะสามารถบริหารงานการเดินรถได้ดี--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ