สมาร์ทโฟนช่วยคุณได้ในยามคับขัน

ข่าวเทคโนโลยี Friday August 21, 2015 12:22 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--888ideas เนื่องจากในขณะนี้ได้เกิดสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ต่างๆทำให้ประชาชนต้องเตรียมรับมือกับผลกระทบตลอดจนเพิ่มความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป (ประเทศไทย) ขอแสดงความเสียใจต่อผู้ได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิตและครอบครัวของผู้สูญเสีย รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สี่แยกราชประสงค์ที่เกิดขึ้น และขอแนะนำการใช้ประโยชน์จากสมาร์ทโฟนในภาวะวิกฤต เพื่อขอความช่วยเหลือ เตือนภัย และรายงานสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉินมาให้ทุกท่านได้ใช้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ถ่ายภาพหรือวีดีโอเพื่อรายงานสถานการณ์ต่างๆ การมีสมาร์ทโฟนที่มีคุณสมบัติเด่นในเรื่องกล้องโดยเฉพาะกล้องที่มีความละเอียดสูง หรือถ่ายภาพได้คมชัดในทุกสภาวะมีส่วนช่วยให้คุณสามารถเก็บภาพหรือวีดีโอในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างรวดเร็ว และอาจนำมาใช้เป็นประโยชน์แก่หน่วยงานต่างๆในภายหลังได้ เช่น ใช้เป็นหลักฐาน หรือเบาะแสให้แก่ตำรวจเมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้นได้ นอกจากนั้นยังสามารถนำรูปภาพหรือวีดีโอมาใช้รายงานสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หรือใช้สำหรับขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินอีกด้วย สมาร์ทโฟนในปัจจุบันมีฟังก์ชั่นที่สามารถเปิดไฟแฟลชมาใช้งานแทนไฟฉายได้อีกด้วยในกรณีที่คุณอยู่ในสถานที่มืดหรือไม่มีไฟฟ้า คุณก็สามารถใช้โทรศัพท์มือถือส่องทางหรือหาของได้ ใช้ติดต่อสื่อสาร ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินสมาร์ทโฟนของคุณจะกลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้คุณติดต่อสื่อสารขอความช่วยเหลือตลอดจนตรวจเช็คความปลอดภัยของคนที่คุณรักได้เป็นอย่างดี สมาร์ทโฟนที่มีเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อสัญญาณที่ดีก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่สามารถช่วยให้การติดต่อสื่อสารของคุณในยามฉุกเฉินเป็นไปอย่างราบรื่น โดยจะเห็นได้ว่าในสถานที่ซึ่งมีผู้ใช้โทรศัพท์เยอะ คุณภาพของการจับสัญญาณจะลดน้อยลงจนบางครั้งถึงกับเกิดการติดต่อไม่ได้ สมาร์ทโฟน หัวเว่ย พีแปด จึงได้ถูกพัฒนามาให้มีเสาสัญญาณสองเสาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจับสัญญาณให้ดีขึ้น ให้คุณมั่นใจได้ว่าจะไม่ขาดการติดต่อในทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะอยู่ในลิฟท์ อาคารจอดรถใต้ดิน หรือตึกสูง ใช้ติดตามข่าวสารและแชร์ข้อมูล โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางสำคัญในการติดต่อสื่อสารในยามฉุกเฉินและใช้ในการติดตามข่าวสาร อย่างรวดเร็ว สมาร์ทโฟนที่มีหน้าจอใหญ่ก็เป็นข้อดีอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสามารถติดตามอ่านข่าวสารต่างๆได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทำให้เสียสายตา นอกจากนั้นยังมีพื้นที่กว้างพอให้คุณใช้ในการพิมพ์ข้อความเพื่อติดต่อสอบถามข้อมูลต่างๆจากผู้ที่เกี่ยวข้องหรือเช็คความปลอดภัยของครอบครัวได้อย่างรวดเร็วไม่มีสะดุดอีกด้วย อย่างไรก็ดีก่อนจะตัดสินใจเชื่อในข่าวสารต่างๆที่ได้รับจากโซเชียลมีเดีย ควรจะมีการพิจารณาไตร่ตรองข้อเท็จจริงตลอดจนแหล่งที่มาและความน่าเชื่อถือของข่าวสารก่อนที่จะแชร์ไปยังช่องทางออนไลน์ต่างๆเพื่อป้องกันความเสียหายและการเข้าใจผิดที่อาจส่งผลเสียในภายหลังได้ ใช้ผ่อนคลายความเครียด เมื่ออยู่ในสภาวะฉุกเฉินหรือในเหตุการณ์สะเทือนใจก่อให้เกิดความเครียด สมาร์ทโฟนสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการคลายเครียด อาทิ ฟังเพลงเพื่อผ่อนคลาย หรือเปิดการ์ตูน เกมส์ต่างๆเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของลูกน้อยไม่ให้ตื่นตระหนก ทั้งนี้ควรเลือกสมาร์ทโฟนที่มีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถใช้งานได้ยาวนานเพียงพอในกรณีที่ไม่ได้มีแบตฯสำรอง หัวเว่ยเห็นความสำคัญของการมีแบตเตอรี่ที่สามารถใช้งานได้ตลอดวันจึงออกแบบสมาร์ทโฟนให้มีแบตเตอรี่ที่ใหญ่เพียงพอต่อการใช้งานและมีชิปเซ็ตประมวลผลที่มีความสามารถในการจัดการการใช้พลังงานได้อย่างชาญฉลาด ช่วยในการประหยัดแบตเตอรี่โดยอัตโนมัติให้คุณมั่นใจได้ว่าจะสามารถใช้สมาร์ทโฟนให้เป็นประโยชน์ได้อย่างยาวนานแม้ในยามวิกฤต หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป (ประเทศไทย) หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเกร็ดความรู้เหล่านี้จะสามารถช่วยท่านได้ในยามฉุกเฉิน และขอเป็นกำลังใจให้คนไทยร่วมมือกันช่วยกันสอดส่องดูแลบ้านเมืองในยามไม่สงบ และนำบทเรียนจากความสูญเสียที่เกิดขึ้นมาเป็นพลังและมีความเข็มแข็งที่จะก้าวต่อไป เบอร์โทรศัพท์สำหรับใช้ในยามฉุกเฉิน ฉุกเฉิน – กู้ชีพ – กู้ภัย ? แจ้งคนหาย โทร. 1300 ? ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม โทร. 1356 ? หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล โทร. 1554 ? ศูนย์ร้องทุกข์กรุงเทพมหานคร โทร. 1555 ? ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โทร. 1646 ? สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร. 1669 ? ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โทร. 192 เหตุด่วน – เหตุร้าย ? เหตุด่วน-เหตุร้ายทุกชนิด โทร. 191 ? อัคคีภัย สัตว์เข้าบ้าน โทร. 199 ? กรมทางหลวงชนบท โทร. 1146 ? ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155 ? ศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ โทร. 1192 ? กองปราบปราม โทร. 1195 ? อุบัติเหตุทางน้ำ โทร. 1196 ? สายด่วนกรมเจ้าท่า, เหตุด่วนทางน้ำ โทร. 1199 ? กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โทร. 0-2241-2051 ? กรมควบคุมมลพิษ โทร. 1650 ? ศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติการฉุกเฉินสารเคมี โทร. 0-2298-2387, 08-6130-2386 ? กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร. 1784

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ