พาราไซแอนติฟิคร่วมThailand Lab 2015

ข่าวทั่วไป Thursday August 27, 2015 11:26 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ส.ค.--2010 creation and clan พาราฯ ชู Smart Solution รับเออีซีพร้อมโชว์นวัตกรรมเครื่องมือวิทย์ครบวงจรใน Thailan Lab 2015 จากประสบการณ์ที่มีมายาวนานกว่า 28 ปี ทำให้บริษัท พาราไซแอนติฟิค จำกัด เป็น 1 ในบริษัทชั้นนำด้านการค้าขายเครื่องมือวิทยาศาสตร์ของบ้านเรา ซึ่งปัจจุบันเป็นตลาดที่มีการเติบโตอย่างสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและด้านการศึกษาของประเทศที่ล้วนแล้วแต่ต้องการเครื่องไม้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ชั้นสูงไปใช้ในขั้นตอนต่างๆ ของการผลิต ตรวจสอบคุณภาพ และในด้านงานวิจัย แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และการที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเออีซี บริษัทจะมีแผนงานและกลุยุทธ์ในการรับมืออย่างไร รวมถึงมีอะไรเป็นทีเด็ดสำหรับงาน Thailand Lab 2015 มหกรรมสำหรับผู้ค้าเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ต้องไปพูดคุยกับ คุณพูศักดิ์ หิรัณยตระกูล กรรมการผู้จัดการบริษัท บริษัท พาราไซแอนติฟิค จำกัด ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมการค้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบอีก 1 ตำแหน่ง 1.บริษัททำธุรกิจด้านนี้มากว่า 28 ปี ตลาดเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง “ก่อนอื่นผมขอย้อนความก่อนว่า บริษัท พาราไซแอนติฟิค จำกัด เป็นบริษัทในเครือ ของกลุ่ม บริษัท พาราวินเซอร์ จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจอย่างหลากหลายกว่า 50 บริษัท โดยบริษัทได้เริ่มดำเนินธุรกิจเป็นผู้แทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย (Exclusive Distributor) ของผลิตภัณฑ์ Shimadzu ซึ่งเป็นโรงงานผู้ผลิตเครื่องมือวิทยาศษสตร์ชั้นสูงที่มีชื่อเสียงระดับโลก ตั้งแต่ปี 2530 ในนาม แผนกเครื่องมือวิทยาศาสตร์ บริษัท พาราวินเซอร์ จำกัด โดยแผนกเครื่องมือวิทยาศาสตร์ได้มีการเจริญเติบโตมาโดยลำดับ จนได้ก่อตั้งเป็น บริษัท พาราไซแอนติฟิค จำกัด ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546 ในปัจจุบันบริษัทได้จำหน่ายสินค้าและให้การบริการอย่างครบวงจรกับลูกค้าแบ่งเป็น 2 ส่วนสำคัญ ส่วนแรกคือ หน่วยงานราชการทั้งสถาบันการ ศึกษา และสถาบันวิจัย เพื่อใช้ในการเรียนการสอนและตลอดศึกษาวิจัยต่างๆ และหน่วยของรัฐประเภทกรมกรองที่ต้องใช้เครื่องมือเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ทดสอบ เพื่อกำหนดมาตรฐานต่างๆ ของภาครัฐ ส่วนที่สองคือ ลูกค้าภาคเอกชนซึ่งส่วนใหญ่คู่ค้าของเราจะเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ เพราะเครื่องมือส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ชั้นสูงที่ต้องมีการลงทุนค่อนข้างมาก ซึ่งอุตสาหกรรมในระดับที่ว่ามานี้จะใช้ทดสอบเพื่อควบคุมคุณภาพ (QA/QC) ของสินค้า ตลอดจนการวิจัยและพัฒนา (R&D) นวัตกรรมของภาคอุตสาหกรรมชั้นนำต่างๆ ของประเทศ โดยบริษัทประมาณการยอดขายในปี พ.ศ. 2558 ไว้ที่ประมาณ 650 ล้านบาท” 2. บริษัทมีกลยุทธ์ในการทำตลาดอย่างไรบ้าง และนอกจากคู่ค้าที่มีอยู่เดิม ทางบริษัท พาราไซแอนติฟิค จำกัด มีการทำตลาดกับคู่ค้าใหม่อย่างไรบ้าง “บริษัทเป็นผู้แทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย (Exclusive Distributor) ของผลิตภัณฑ์ Shimadzu ซึ่งเป็นโรงงานผู้ผลิตเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกและมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย จึงทำให้บริษัทได้วางกลยุทธ์การตลาดเป็นลักษณะ Market Coverage & Product Coverage เพื่อให้การบริการอย่างครบวงจร ในลักษณะ Smart Solution พร้อมวิเคราะห์วิจัยความต้องการของลูกค้าทั้งภาคราชการและภาคเอกชนอย่างครอบคลุมทั่วถึงเพื่อตอบสนองให้ลูกค้ามีความพึงพอใจในการใช้สินค้าและบริการของบริษัท และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของลูกค้า เพราะบริษัทเชื่อมั่นในปรัชญาทางธุรกิจว่า ความสำเร็จของลูกค้าย่อมนำพาถึงความสำเร็จของบริษัทต่อไป สำหรับกลุ่มลูกค้าใหม่ของเราจะเป็นบริษัทจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนหรือมีการขยายโรงงานและธุรกิจเอสเอ็มอีที่พัฒนาจากธุรกิจขนาดเล็กขยับไปเป็นขนาดกลางและเริ่มต้องมีการใช้งานเครื่องมือวิทยาศาสตร์ชั้นสูง และกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่รัฐบาลกำลังจะส่งเสริม เช่น อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพและอุตสาหกรรมโปรแทสเซียม” 3. ในอนาคต บริษัทหรือหากพูดในนามของนายกสมาคมการค้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศไทยจะสามารถผลิตเครื่องมือวิทยาศาสตร์ทดแทนการนำเข้า 100% อย่างในปัจจุบันได้หรือไม่ “เป็นไปได้ยากมากเพราะบ้านเราขาดทั้งองค์ความรู้และเงินทุน อย่างแบรนด์ Shimadzu ที่ทางพาราไซแอนติฟิคของเรานำเข้า ก็มีมาร่วม 100 กว่าปีแล้ว หมายถึงเขาศึกษาวิจัยมานานแล้ว ขณะที่บ้านเราปัจจุบันยังผลิตได้แค่เครื่องมือเล็กๆ น้อยๆ เพราะตลาดเครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ โดยเฉพาะเครื่องมือวิเคราะห์วิจัยขั้นสูงยังมีมูลค่าไม่สูงนัก เนื่องจากประเทศไทยยังมีการลงทุนทางด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) ต่ำอยู่มาก (ประมาณ 0.28% ของ GDP) เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่เจริญแล้วซึ่งมีการลงทุนดังกล่าวประมาณ 2-3% ถึงแม้ว่า ทุกรัฐบาลจะมีนโยบายส่งเสริมให้ภาครัฐและภาคเอกชนให้มีการลงทุนทางด้านวิจัยและพัฒนาให้เพิ่มขึ้นเป็น 1% ของ GDP ในปัจจุบัน แต่ยังขาดการสนับสนุนงบประมาณสำหรับนโยบายดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจริงจัง” 4. ในปลายปีนี้ประเทศไทยจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเออีซี มีแผนการรุกและรับมือคู่ค้ารวมถึงคู่แข่งจากประเทศเพื่อนบ้านในเออีซีอย่างไรบ้าง “ตอนนี้ทางบริษัทยังไม่ได้มีแผนรุกการตลาดต่างประเทศเท่าใดนัก เนื่องจากทางโรงงานผู้ผลิตได้มีผู้แทนจำหน่ายและบริการในแต่ละประเทศอยู่แล้ว แต่ปกติหากมีการร้องขอมาจากลูกค้าในกลุ่มประเทศ เช่น ลาว กัมพูชา ทางเราก็ต้องเข้าไปช่วยเหลือให้ข้อมูล ติดตั้ง เครื่องมือวิทยาศาสตร์ชั้นสูงให้ ซึ่งแน่นอนว่าการเปิดเออีซีน่าจะทำให้ตลาดขยายตัวไปสู่กลุ่มลูกค้าที่มากขึ้น และนำมาซึ่งคู่แข่งด้วยเช่นกัน แต่จุดแข็งของเราคงเน้นไปที่การบริการ เพราะเป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูงต้องมีการให้ข้อมูลที่ต้อง ต้องมีการติดตั้ง อบรมการใช้งานนและกาารรักษาเครื่องที่ถูกต้องให้ลูกค้า เพราะฉะนั้นนี่เป็นจุดแข็งหากเทียบกับบริษัทจากต่างประเทศที่อาจมาเปิดหน้าร้านไว้รับสั่งสินค้าเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะบริษัทของเราที่มีศูนย์ครบวงจร เช่นที่จังหวัดระยองเพื่อสนับสนุนกลุ่มโรงงานปิโตรเคมี ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่นั่น ส่วนที่จังหวัดอยุธยา เป็นการองรับกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรม” 5. ในงาน Thailand LAB 2015 ที่จะถึง ทางบริษัทฯ มีอะไรเป็นทีเด็ดสำหรับผู้เข้าชมงาน “อย่างที่บอกไปในตอนต้นว่าบริษัทเราค่อนข้างมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ดังนั้นภายในงาน Thailand Lab 2015 ซึ่งถือเป็นงานรวมตัวนักวิจัยทั้งไทย/เทศ จากทั้งภาครัฐและเอกชน ทางบริษัท พาราไซแอนติฟิค จำกัด คงจะไม่ได้ชูนวัตกรรมตัวใดตัวหนึ่งเป็นพิเศษ แต่จะมีการนำเสนอเครื่องมือวิทยาศาสตร์ให้แก่ลูกค้าต่างๆได้อย่างครบวงจร ในลักษณะ Smart Solution อาทิเช่น Smart Solution for Food Safety Analysis Smart Solution for Microbial Identification Smart Solution for Dioxin Analysis Smart Solution for Pharmaceutical Analysis โดยในแต่ละด้านจะประกอบด้วย เครื่องมือต่างๆ ดังนี้ - เครื่องมือเตรียมตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์ที่ทันสมัย - เครื่องมือวิเคราะห์วิจัยที่ใช้ในห้องปฏิบัติการทั่วไป (QA/QC) - เครื่องมือวิเคราะห์วิจัยขั้นสูงที่ใช้ใน ศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) - เครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบที่ใช้ในการควบคุมการผลิตเบื้องต้น หรือ ควบคุมความปลอดภัย - โปรแกรมสำหรับควบคุมและจัดการข้อมูลการวิเคราะห์ตามมาตรฐาน US FDA21 CFR Part11” ทั้งนี้ บริษัท พาราไซแอนติฟิค จำกัด ได้เข้าร่วมงาน Thailand Lab 2015 ณ ศูนย์แสดงสินค้า BITEC ห้อง EH-105 บูธเลขที่ C11-C20 ระหว่างวันที่ 9-11 กันยายน 2558 นี้ สามารถเข้าเยี่ยมชม พร้อมทั้งรับของสมนาคุณมากมายในงาน ตามวันเวลาดังกล่าวได้ สนใจข้อมูลดีๆหลากหลาย เทคโนโลยี งานวิจัยห้องแล็บ พบกัน ที่งาน Thailand LAB 2015 และ LIFE Sciences Asia 2015 ที่จะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 ในวันที่ 9-11กันยายน 2558 ที่ EH 105 และ EH 107 ณ ไบเทค บางนา โดยบริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิกฟิก จำกัด (VNU Exhibitions Asia Pacific) ได้ร่วมมือกับ สมาคมต่างๆ ทั้งในประเทศและในภูมิภาค จัดงานประชุมเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านงานวิจัย งานวิเคราะห์และตรวจสอบ ตลอดจนด้านนวัตกรรมเครื่องมือแล็บ สามารถลงทะเบียนเข้าชมงาน ได้ที่ www.thailandlab.com หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :VNU Exhibitions Asia Pacific Co., Ltd. Tel: +662-670-0900 Ext. 201-209 Fax: +662-670-0908 Email:thailandlab@vnuexhibitionsap.com Website: www.thailandlab.com Facebook Page:www.facebook.com/ThailandLab Twitter: twitter.com/ThailandLAB YoutubeChannel:www.youtube.com/ThailandLab Thailand LAB 2015 Trade : 9-11 September 2015 (10.00-17.00 hrs.) Venue : EH 105 - EH 107 , BITEC, Bangkok, Thailand
แท็ก thailand   นวัตกรรม  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ