ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ฯ ร่วมกับออราเคิล เปิดตัวโครงการเภสัชพันธุศาสตร์ มุ่งยกระดับการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ

ข่าวทั่วไป Thursday July 14, 2005 11:24 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ก.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
รัฐบาลไทยประกาศเปิดตัวโครงการ “เภสัชพันธุศาสตร์” (Pharmacogenomics) โดยความร่วมมือของศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (Thailand Center of Excellence for Life Sciences : TCELS) และบริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตอกย้ำยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการก้าวสู่ศูนย์กลางการส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพระดับภูมิภาค
โครงการเภสัชพันธุศาสตร์ เป็นการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมซึ่งมีผลต่อการตอบสนองของยาแต่ละชนิด เพื่อปูพื้นฐานสู่การพัฒนาและใช้ยาให้ตรงตามความต้องการเฉพาะบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงตามลักษณะพันธุกรรมเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละราย โดยใช้ข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดเก็บรวบรวมไว้ในฐานข้อมูลสุขภาพขนาดใหญ่ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีของออราเคิล จึงถือเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนชาวไทยอย่างแท้จริง เนื่องจากผู้ป่วยสามารถเลือกใช้ยาที่มีความปลอดภัยและประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังส่งผลให้ต้นทุนและค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศลดลง ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำของโลกด้านชีววิทยาศาสตร์ได้อย่างเต็มภาคภูมิ
“โครงการเภสัชพันธุศาสตร์ที่จัดทำขึ้นนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อระบบการแพทย์และสาธารณสุขของไทย
ในระยะยาว” นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ กล่าวและเสริมว่า “เป็นที่ยอมรับกันว่า ประเทศที่มีความรุดหน้าทางด้านการพัฒนานวัตกรรมชีววิทยาศาสตร์และชีววิทยาทางการแพทย์ จะมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแกร่ง ขณะที่ประเทศที่ล้าหลังจะหมดโอกาสที่จะก้าวตามทันการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมแห่งยุคอนาคต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ รายได้ และอำนาจการต่อรองอย่างเด่นชัด”
“สำหรับในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างโดดเด่น มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยจะต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการกำหนดนโยบายและมาตรการใหม่ๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขที่เกิดขึ้น อาทิ การระบาดของโรคซาร์ส และโรคเอดส์กันอย่างจริงจัง และด้วยความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมถึงความร่วมมือในระดับนานาประเทศ ถือเป็นก้าวที่สำคัญในการยกระดับประชากรในภูมิภาคแห่งนี้ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”
นายสุวิทย์กล่าวต่อไปอีกว่า ผู้นำของประเทศเอเปคทั้งหมดได้ให้ความสนับสนุนและดำเนินการตามยุทธศาตร์ที่ระบุไว้ในการประชุมนวัตกรรมชีววิทยาศาสตร์เอเปค (APEC Life Sciences Innovation Forum) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเร่งรัดปฏิรูประบบโครงสร้างเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเอเปค และการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจแบบเน้นองค์ความรู้เป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ออราเคิลได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ฯ
เป็นครั้งแรกในเดือนมกราคม 2548 เพื่อจัดทำโครงการเภสัชพันธุศาสตร์ ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบ
จัดเก็บข้อมูลทางคลินิกและพันธุกรรมของผู้ป่วยทั่วประเทศ เพื่อนำมาใช้ศึกษาเปรียบเทียบกับข้อมูลของประชากรทั่วไป รวมทั้งจำแนกประเภทผู้ป่วยตามลักษณะทางพันธุกรรม โดยใช้เทคโนโลยีอันล้ำสมัยและเปี่ยมประสิทธิภาพของออราเคิล โดยร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญของออราเคิลจากทั่วภูมิภาคในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของโครงการเภสัชพันธุศาสตร์เพื่อให้ตรงตามความต้องการของนักวิจัยคลินิกของไทยมากที่สุด
“โครงการเภสัชพันธุศาสตร์ จะเป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมการดูแลรักษาสุขภาพของไทยในอนาคต ทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนายาที่ตรงตามความต้องการเฉพาะบุคคลเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนชาวไทย” ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร. พรชัย มาตังคสมบัติ ประธานกรรมการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย กล่าวและเสริมว่า “ปัจจุบัน บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขส่วนใหญ่จะใช้ผลการวินิจฉัยที่ผ่านมาของโรคชนิดนั้นๆ พร้อมทั้งสั่งจ่ายยาในการรักษาโรคโดยไม่คำนึงถึงข้อมูลเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งทำให้การรักษาโรคขาดความละเอียด ไม่ตรงกับอาการของโรค และเกิดความผิดพลาดได้ง่าย”
“สำหรับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในรูปแบบใหม่ที่ใช้ระบบเภสัชพันธุศาสตร์จะเกิดความ
ผิดพลาดในลักษณะดังกล่าวน้อยลง และการรักษาจะสามารถควบคุมและคาดการณ์ได้ชัดเจนมากขึ้น การใช้ระบบฐานข้อมูลซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วยแต่ละรายจะทำให้การสั่งยาตรงกับความต้องการและลักษณะทางพันธุกรรมของผู้ป่วย ซึ่งจะส่งผลให้ประชากรไทยมีสุขภาพดีในระยะยาว
เนื่องจากได้รับการบำบัดรักษาและใช้ยาอย่างถูกต้อง” ศจ. ดร. พรชัยกล่าว ด้านนายแพทย์ธงชัย ทวิชาชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย กล่าวว่า “ศูนย์ฯ ของเรา ถือเป็นองค์กรชั้นนำทางด้านวิทยาการทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งการริเริ่มจัดทำระบบเภสัชพันธุศาสตร์ เรามีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ของไทยให้มีแต้มต่อในการแข่งขันในระดับสากลมากขึ้น ทั้งยังมุ่งสร้างความรู้และความเจริญใหม่ๆ ให้แก่ประเทศไทยโดยรวม โดยในช่วง 5 ปีแรกนี้ ศูนย์ฯ จะมุ่งพัฒนาภารกิจ 5 ด้าน ได้แก่ การวิจัย การศึกษา การพัฒนาในเชิงพาณิชย์ การวางโครงสร้างทา
เทคโนโลยี และการถ่ายทอดความรู้ไปยังประเทศอื่นๆ”
นายแพทย์ธงชัย กล่าวต่อไปอีกว่า ผลิตภัณฑ์และบริการเทคโนโลยีชีวภาพจะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของไทยในอนาคต โดยจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเจริญมั่งคั่งให้แก่ประเทศสูงสุด สำหรับศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ฯ มีนโยบายมุ่งจัดตั้งศูนย์อุตสาหกรรมระดับโลกที่ทำหน้าที่เป็นฐานการผลิตและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ผลิตภัณฑ์และบริการเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์
ออราเคิลมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมดำเนินโครงการสำคัญนี้ให้แก่ประชาชนชาวไทย”
ณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวและเสริมว่า “ออราเคิล เป็นผู้บุกเบิกในการพัฒนาอุตสาหกรรมการดูแลรักษาสุขภาพและชีววิทยาศาสตร์มาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยได้ดำเนินการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ และทันสมัยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มองหาระบบการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับการใช้งานในโรงพยาบาล งานวิจัย และการปฏิบัติการทางคลินิกในไทย โดยใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านโซลูชั่นดูแลรักษาสุขภาพและชีววิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้งของออราเคิล ดังนั้น ความร่วมมือกับภาครัฐในครั้งนี้ จึงถือเป็นก้าวแรกในการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ยาตรงกับความต้องการเฉพาะบุคคลให้แก่คนไทยทุกคน”
ทั้งนี้ โครงการเภสัชพันธุศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการระบบการดูแลรักษาสุขภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดงบประมาณและค่าใช้จ่ายทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ
การจัดเก็บข้อมูลสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ เป็นวิธีการติดตามผลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจช่วยลดการ
แพร่ระบาดของโรคที่เกิดขึ้นในอนาคต อาทิ โรคซาร์ส และโรคไข้หวัดนก การแพร่ระบาดของโรคเหล่านี้ได้สร้างความเสียหายให้แก่ระบบเศรษฐกิจโดยรวม ตลอดจนส่งผกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย การมีเครื่องมือตรวจวัดการแพร่ระบาดแบบทันทีจะช่วยควบคุมการแพร่ระบาดได้ครอบคลุมทั่วประเทศ
โครงการเภสัชพันธุศาสตร์ นับเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดครั้งสำคัญของระบบสาธารณสุขโดยสามารถนำมาใช้สนับสนุนการทดสอบทางคลินิกในการแลกเปลี่ยนข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลการตรวจวินิจฉัยและผู้ป่วย ตลอดจนการจำแนกความหมายของคำศัพท์เฉพาะทางต่างๆ รวมทั้งยังนำมาใช้สนับสนุนงานสาธารณสุขระดับชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบและควบคุมทางด้านชีววิทยาการแพทย์ การกำหนดแนวทางการรักษาผู้ป่วยทางคลินิกระดับมาตรฐาน และการจัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วยและแพทย์ผู้รักษาไว้ในระบบฐานข้อมูลกลาง
“โครงการเภสัชพันธุศาสตร์ เกิดจากความร่วมมืออย่างดียิ่งระหว่างภาครัฐและเอกชนของไทย และคาดว่าจะขยายขอบเขตการดำเนินงานครอบคลุมทั่วภูมิภาคต่อไปในอนาคต โดยเป็นการวางรากฐานสู่ความร่วมมือในมิติใหม่ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคต รวมทั้งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยให้ดีขึ้น” นายณัฐศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย
เกี่ยวกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2547 ตามพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย การจัดตั้งศูนย์ฯ มีขึ้นหลังจากการบรรลุข้อตกลงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนของสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียนและ รัฐบาลไทย ศูนย์ฯ มีวิสัยทัศน์มุ่งก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการวิจัยและการลงทุนทางด้านชีววิทยาศาสตร์ระดับโลก เพื่อประโยชน์ต่อประชากรชาวไทยและภูมิภาคเอเชีย
เกี่ยวกับออราเคิล
ออราเคิล (ชื่อย่อในตลาดหุ้นแนสแด็ก: ORCL) เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายซอฟต์แวร์ระดับองค์กรรายใหญ่ที่สุดของโลก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับออราเคิล สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.oracle.com
เครื่องหมายการค้า
ออราเคิล เจดีเอ็ดเวิร์ดส์ พีเพิลซอฟท์ และรีเท็ค เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น และ/หรือบริษัทในเครือ บริษัทอื่นๆ เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทนั้นๆ
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
สิริพร ศุภรัชตการ พรทิพย์ เลิศเวชกุล / จารุวรรณ วรรักษ์ธนานันท์
ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
02-632 9400 ต่อ 8344 โทร. 0-2252-9871
siriporn.suparuchatakarn@oracle.com L_Porntip@th.bm.com,
V_Jaruwan@th.bm.com
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ