สถาปัตยกรรมคลองหกเจ้าภาพ “STREET CULTURE” (IWAH 2015)

ข่าวทั่วไป Wednesday October 28, 2015 17:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ต.ค.--กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นำนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการลงพื้นที่ในการศึกษาสถาปัตยกรรม "STREET CULTURE" ในโครงการ International Workshop on Asian Heritage 2015 โดยมีนักศึกษาจำนวน 38 คน ทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้าร่วมโครงการ นายณัฏฐกฤษฎ์ ศุภกรพินธคุปต์ รองคณบดีฝ่ายบริหารและวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ในฐานะของเจ้าภาพในการจัดงานในครั้งนี้ ทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้รับประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมนานาชาติ ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ และสถาบันองค์กรการศึกษาในประเทศ ได้เครือข่ายความร่วมมือกับนานาประเทศ มีอาจารย์และนักศึกษาจากทั้งต่างประเทศและในประเทศเข้าร่วม ต่างประเทศได้แก่ Universiti Teknologi Malaysia (UTM) Universitas Gadjah Mada, Yogyakarta Indonesia (UGM) Sebelas Maret University of Surakrta, Indonesia (UNG) ,National University of Civil Engineering Hanoi, Vietnam และมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ที่เข้าร่วม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี นอกจากนี้นังได้เชิญองค์กรต่างๆ เข้าร่วม เช่น สมาคมสถาปนิกสยาม สถาบันศิลปะ สถาปัตยกรรมไทย และสมาคมอิโคโมสไทย เป็นการเชื่อมโยงกับองค์กรวิชาชีพ ด้านสถาปัตยกรรมและด้านอนุรักษ์เพิ่มขึ้น โดยนักศึกษาและบุคลากรในคณะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ และทางมหาวิทยาลัยได้รับความไว้วางใจให้จัดงาน Host ในโอกาสต่อไป ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ได้รับผลตอบกลับได้รับความสนใจกิจกรรม STREET CULTURE ครั้งนี้เป็นอย่างมาก สำหรับกิจกรรมในการ workshop ในครั้งนี้ ได้แก่ เยาวราช ย่านท่าน้ำราชวงศ์ และถนนทรงวาด โดยมีอาจารย์และนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 50 คน "ฟิลม์" นายธณัชชัย ใบยา นักศึกษาชั้นปีที่ 5 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เล่าว่า วันแรกเก็บข้อมูลสนใจเกี่ยวกับอะไร โดยกลับนำมาแชร์ประสบการณ์และปรึกษาอาจารย์ วันที่สองลงพื้นที่ ที่สนใจ โดยเดินสำรวจบริเวณ สัมภาษณ์หาข้อมูลเพิ่มเติม จากการสังเกตถนนทรงวาดได้รวบรวมวัฒนธรรมที่หลากหลายมาก เนื่องจากอยู่ใกล้ท่าเรือ ค่อยข้างแออัด ได้เรียนรู้ผังเมืองในอดีต ตนเองอาจจะเป็นคนกลุ่มน้อย ที่สนใจในเรื่องของอาหารในย่านเยาวราช ซึ่งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว และย่านการค้าที่มีชื่อเสียง กลายเป็นสีสันที่มีเสน่ห์ของเมืองกรุง ระหว่างที่เดินสะดุดตา บริเวณท่าเรือราชวงศ์ ถ้าทำเป็นลานกิจกรรม ให้นักท่องเที่ยว คงลดพื้นที่แออัดได้ดีทีเดียว ทางด้าน "สเกล" นางสาวอานัดดา หัสกรรัตน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เล่าว่า ระหว่างที่เดินเก็บข้อมูลกับเพื่อนๆ ในกลุ่ม กลุ่มตนเองสังเกตว่า "บริเวณถนนค่อนข้างแคบ มีการลุกลับของการค้าขาย หลังคาด้านบนทึบแสง" ดูแออัด หรืออาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ ในกลุ่มจึงคิดแก้ไข บริเวณหลังคาด้านบน โดยการออกแบบให้ มีแสง และสามารถระบายความร้อน เป็นเพียงไอเดียของตนเองและเพื่อนในกลุ่ม สำหรับถนนทรงวาด มีสถาปัตยกรรมร่วมสมัยมากมาย เช่น วัฒนธรรมตะวันตก วัฒนธรรมจีน ความโดดเด่นของวัฒนธรรมของแต่ละเชื้อชาติ กิจกรรมดังกล่าวยังได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับเพื่อนต่างมหาวิทยาลัยฯ และเพื่อนต่างชาติ ในเรื่องของงานสถาปัตยกรรม "มุก" นางสาวสุธินี ศรีศุภภัค นักศึกษาชั้นปีที่ 5 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เล่าว่า เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ จึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ลงพื้นที่แถวบ้าน โดยบ้านตนเองอยู่แถว "วรจักร" ซึ่งไม่เคยได้ลงพื้นที่จริงจัง ในการลงพื้นที่ในวันนี้ได้รู้อะไรมากขึ้น ประวัติความเป็นมาของถนนทรงวาด ซึ่งถ้ามีการพัฒนาบริเวณว่าง เป็นพื้นที่ ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว จัดเป็นลานกิจกรรมทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยง เล่าเรื่องของความเป็นมาผ่านกิจกรรม เนื่องจากในย่านนี้มีความหลากหลายของวัฒนธรรม สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนกับเพื่อนต่างมหาวิทยาลัยฯ และเพื่อนต่างชาติอีกด้วย Vee Thanh Phong นักศึกษาจาก National University of Civil Engineering Hanoi, Vietnam เล่าว่า อยากได้ประสบการณ์ยังต่างประเทศ จึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ อยากศึกษาวัฒนธรรม สังคม รวมไปถึงสถาปัตยกรรมของประเทศไทย ได้ลงพื้นที่ จากการสังเกตคนไทยมีน้ำใจ "ในขณะที่เดินสวนทางกัน ยังมีการทักทายกัน" ต่างกับฮานอยที่แทบไม่มีการปฏิสัมพันธ์กันเลย ครั้งแรกที่ตนเองได้เข้าร่วมการทำกิจกรรม Work shop ยังต่างประเทศ ความหลากหลายย่านเยาวราช ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และเป็นแหล่งการซื้อขายที่ใหญ่มาก รวมไปถึงสถาปัตยกรรม ตึก ท่าเรือ ในอดีต ที่ยังคงความสวยงาม ถึงแม้ว่าจะมีความแออัดบ้าง International Workshop on Asian Heritage 2015 โครงการดีๆ ของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพในสาขาสถาปัตยกรรมในระดับอาเซียนและระดับนานาชาติ
แท็ก asian   E 20  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ