“ปุ้ย พิมลวรรณ” เผยข้อมูล “ โรคซึมเศร้า “ วัยเพลิน ความเสี่ยงสูง!!!อันตรายถึงชีวิต

ข่าวบันเทิง Thursday November 5, 2015 15:42 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 พ.ย.--เพลินทีวี "ปุ้ย-พิมลวรรณ หุ่นทองคำ" พิธีกรรายการ "สวัสดีคุณหมอ" ทาง ช่องเพลินทีวี ที่หมายเลข 10 เผยข้อมูลของ " โรคซึมเศร้า " ที่ปัจจุบันกลายเป็นโรคยอดฮิตของคนในสังคม ที่สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัยโดยไม่รู้ตัว ซึ่งสำหรับวัยเพลินแล้วโรคซึมเศร้ามีอันตรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ง่ายมากกว่าวัยอื่นๆ โดยโรคนี้เกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งลูกหลานและคนในครอบครัวเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้วัยเพลินหายขาดจากโรคนี้ได้ โดย " ปุ้ย พิมลวรรณ หุ่นทองคำ" เผยว่า " อีกหนึ่งโรคที่วัยเพลินหลายท่านอาจจะเป็นอยู่แต่ไม่รู้ตัว และในบางรายอาจจะมีอันตรายถึงชีวิต นั้นก็คืออาการที่เกิดจากโรคซึมเศร้านั้นเองค่ะ คุณหมอให้ข้อมูลว่าจริงๆโรคซึมเศร้าเกิดจากทางกาย ทางใจ และสิ่งแวดล้อม ทางกายเช่นพันธุกรรมในครอบครัวเป็นอยู่แล้ว ก็ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ส่วนของสมองผิดปกติก็มีส่วน แล้วถ้าทางใจมีสิ่งแวดล้อมมากระทบการสูญเสียทำให้เค้ามีปัญหาในชีวิตตั้งแต่เด็กถึงวัยชรา แล้วปรับตัวไม่ได้ก็เกิดการคิดมากซึมลงเศร้าจนอยากตาย หรือว่ามีโรคทางกาย ก็เป็นปัญหาที่มากระทบจิตใจทำไมฉันต้องป่วย สิ่งแวดล้อมอาจจะในครอบครัวเศรษฐกิจตกต่ำก็มีผลได้ ซึมเศร้านี่ก็จะหมดความสุขเลยเก็บตัวหมดความร่าเริงนานประมาณ 2 อาทิตย์ ไปออกกำลังฟื้นฟูยังไงก็ไม่หาย นอนไม่ได้ ทานอาหารไม่ได้ สมาธิไม่มี ความจำไม่มี แย่มากอยากตาย นี่คือขั้นรุนแรงที่สุด ทำไมถึงเกิดกับวัยเพลินคือคนที่อายุเยอะขึ้น ถ้าพันธุกรรมไม่แสดงผลตัวร่างกายเองก็จะเสื่อมอยู่แล้วโรคก็มารุมเร้ากระทบกับคนอายุเยอะค่อนข้างมาก ก็จะคิดถึงแต่สิ่งที่ไม่ค่อยดีเหมือนถูกทอดทิ้ง โรคซึมเศร้าระดับแรกก็แค่คิดมากหงุดหงิดง่าย ระยะท้ายๆก็ถึงขั้นเบื่อชีวิตอยากตาย เราสามารถสังเกตได้ถ้าย้ำคิดๆจนนอนไม่ได้ การนอนเปลี่ยน พฤติกรรมเปลี่ยนต้องพาไปพบแพทย์ โรคซึมเศร้าในวัยเพลินกับวัยปกติอาการจะคล้ายๆกัน วิธีการรักษาเมื่อพบคนไข้จะมีการประเมินเพื่อทดสอบ ถ้าเป็นขั้นต้นจะให้คนไข้ไปฝึกสติก่อนใช้หลักธรรมะ เค้าจะเปิดใจเล่าปัญหาให้ฟังแล้วจะให้การบ้านคนไข้ไปฝึกสติ การทานอาหาร การฝึกจิตใจดูแลตัวเองยังไง แล้วก็จะมียาให้ด้วยยาปรับสารเคมีในสมองให้อารมณ์ดีขึ้น มีให้การบ้านไปปฏิบัติธรรม ลำดับที่ขนาดหนักอยากฆ่าตัวตายก็จะให้ยาที่มากกว่าระดับต้นๆญาติจะต้องดูแลใกล้ชิดและจะต้องเป็นผู้ให้ยาคนไข้เอง ลูกหลานต้องยอมรับให้กำลังใจคนไข้ดูแลทั้งกายใจ ในการรักษาใช้ระยะเวลาเป็นปีบางรายแต่บางรายที่อกหักสูญเสียอะไรง่ายๆปรับใจได้ 6 เดือนก็ดีขึ้นแล้ว ความแตกต่างอยู่กับอาการที่จะหนักหรือเบา ถ้ารักษาแล้วจะกลับมาเป็นอีกมั้ยถ้ารักษาเข้าถึงธรรมะจริงๆปัญญาก็จะเกิดก็จะไม่เกิดความอยากไม่กลับมาเป็นอีกต้องช่วยตัวเองด้วย เคล็ดลับการห่างไกลโรคซึมเศร้ามีหลัก 3 อ. อาหารต้องถูกต้องครบ 5 หมู่ไม่ขาด 2 ออกกำลังกายวันละ 30นาที 3 อารมณ์คลายเครียดให้ได้ ลดเศร้าให้ได้ ต่อสู่กับปัญหาในชีวิตได้ตั้งแต่วัยเด็กเลย ทำดีให้ได้ ศึกษาธรรมะ " ติดตามเรื่องราวของโรคต่างๆที่เป็นประโยชน์ ได้ใน รายการ "สวัสดีคุณหมอ " ทางช่องเพลินทีวี ที่หมายเลข 10 เวลา 7.00/16.30น.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ