นำราข้าวแดงมาใช้ในการผลิตและกลิ่นผสมอาหารเพื่อทดแทนสารสังเคราะห์

ข่าวทั่วไป Wednesday May 23, 2001 11:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 พ.ค.--สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ปัจจุบันปัญหาสารเคมีตกค้าง อาทิสารเคมีใช้ผสมอาหาร สารเคมีที่ใช้กำจัดแมลงในผัก ผลไม้ และสารเคมีที่นำมาผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่นเครื่องสำอางค์ จานชามพลาสติก เป็นต้น ซึ่งมนุษย์มีความจำเป็นต้องบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้ทุกๆวัน และอาจเกิดปัญหาการสะสมของสารเคมีในร่างกายมากเกินไป ทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาด้วย เหตุนี้ จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ และนักชีววิทยา สนใจในการศึกษาวิจัยสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น พันธุ์พืช แมลง และกลิ่นตัวของสัตว์บางชนิดส่วนใหญ่จะนิยมใชัในการสกัดสีและกลิ่นต่างๆ เป็นต้น
ราข้าวแดง (Monascus Van Tieginem) จัดเป็นราเส้นสายจำพวก homothallic ascomycotous fungus ซึ่งเป็นที่รู้จักมานานกว่าพันปี โดยชนชาติจีนนำมาใช้เป็นยาพื้นบ้าน ต่อมาได้มีประยุกต์ใช้ราข้าวแดง ในอุตสาหกรรมอาหารหมักกันอย่างกว้างขวางในประเทศแถบเอเชีย รวมทั้งประเทศทางตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น คุณสมบัติเด่นของราข้าวแดง คือ สามารถสร้างสีได้ เช่น สีแดงหรือสีแดงม่วง สีส้ม และสีเหลือง สารสีเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นแล้วปลดปล่อยออกมาภายนอกเซลล์ และสามารถใช้บริโภคได้โดยไม่เป็นอันตราย การใช้ราข้าวแดงเพื่อผลิตสีผสมอาหาร จึงเป็นทางเลือกของการใช้สีธรรมชาติ ซึ่งปลอดภัย เพื่อทดแทนการใช้สีสังเคราะห์ นอกจากจะใช้สารสีเหล่านี้ผสมในอาหารและในเครื่องสำอางเพื่อแต่งสีแล้ว ยังจะใช้ในการแต่งกลิ่นในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม เช่น ไวน์เกาเหลียง นอกจากนี้ราข้าวแดงยังผลิตเอนไซม์ที่สำคัญทางอุตสาหกรรมหลายชนิด ตลอดจนใช้เพื่อการผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ และสารต่อต้านจุลินทรีย์ รวมทั้งกรดอินทรีย์ชนิดต่างๆ สำนักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ (วช.) ตระหนักถึงสภาพปัญหาสุขภาพของคนไทย จึงได้ให้ทุนอุดหนุนการวิจัยแก่นางสาวกมลนันท์ หลักรอด แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการวิจัยเรื่อง "การวิเคราะห์ยีโนมของราข้าวแดง (Monascus spp.) โดยใช้เทคนิคการสุ่มขยายปริมาณชิ้นดีเอ็นเอ" ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ และเป็นวิธีการที่ดัดแปลงมาจากวิธีขยายและเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอแบบจำเพาะ Polymerase Xhain Rcaction (PCR) ที่มีความรวดเร็วและแม่นยำ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดความผันแปรทางพันธุกรรมของราข้าวแดง และศึกษาเทคนิคการสุ่มขยายและเพิ่มปริมาณชิ้นดีเอ็นเอ ที่ใช้ในการกำหนดความฝันแปรทางพันธุกรรมของราข้าวแดง รวมทั้งนำเสนอข้อมูลสำหรับใช้เป็นแนวทางในการวิจัยทางด้านพันธุวิศวกรรมขั้นสูงต่อไป เช่น การถ่ายยืนโดยวิธี transformation การกำหนดยืนบน โครโมโซน เป็นต้น
ผลการวิจัยพบว่าการวิเคราะห์ยีโนมของราข้าวแดง ที่ประกอบด้วยราสายพันธุ์ป่า จำนวน 25 สายพันธุ์ พบหลากหลายของแถบดีเอ็นเอภายในยีโนมของราข้าวแดง ยกเว้น สายพันธุ์ที่แยกได้จากข้าวแดงญี่ปุ่น ทำให้สันนิษฐานได้ว่า การผลิตข้าวแดงของญี่ปุ่น นั้น ได้ใช้สายพันธุ์ในลักษณะเป็นเชื้อผสม หรือาจเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธ์ ซึ่งประบวนการผลิตหัวเชื้อข้าวแดงของญี่ปุ่นที่ใช้เชื้อผสม (mixed culture) จึงต่างจากกระบวนการผลิตหัวเชื้อข้าวแดงของจีนและไทย ที่นิยมใช้เชื้อบริสุทธิ์เพียงเชื้อเดียว (single pure culture)
นอกจากนี้ยังพบว่า สายพันธุ์ของไทยและจีนมีความคล้ายกันและส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าหัวเชื้อในการผลิตข้าวแดงน่าจะมาจากแหล่งภูมิศาสตร์เดียวกัน โดยเฉพาะในแถบเอเชียซึ่งมีการนำเข้าข้าวแดงจากจีนมาตั้งแต่โบราณ ในส่วนของการกำหนดความผันแปรทางพันธุ์กรรมบ่งชี้ว่า มีความผันแปรในยีโนมของราข้าวแดง ยีนัสของราค่อนข้างสูง ดังนั้น การใช้ยีโนมของราข้าวแดง ในการผลิตอาหารนับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก และอาจนำไปสู่การผลิตสายพันธุ์ปรับปรุง ซึ่งสามารถนำไปใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆ ต่อไปได้--จบ--
-นห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ