“ปุ้ย พิมลวรรณ” เผยข้อมูล “ โรคพาร์กินสัน “ พบมากในวัยเพลิน ลูกหลานควรดูแลใกล้ชิด

ข่าวบันเทิง Thursday November 19, 2015 14:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 พ.ย.--เพลิน ทีวี "ปุ้ย-พิมลวรรณ หุ่นทองคำ" พิธีกรรายการ "สวัสดีคุณหมอ" ทาง ช่องเพลินทีวี ที่หมายเลข 10 เผยข้อมูลความรู้เรื่อง " โรคพาร์กินสัน " จากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ ถึงสาเหตุการเกิดโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทสมองส่วนกลาง อาการของโรคที่ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติในการเดิน เกิดอาการสั่น และแนะนำวิธีการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งโรคนี้ส่วนใหญ่จะพบมากในวัยเพลิน ลูกหลานต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าร่วมด้วย โดย " ปุ้ย พิมลวรรณ หุ่นทองคำ" เผยว่า " คุณหมอให้ข้อมูลว่า โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่ใกล้เคียงโรคโรคอัลไซเมอร์ และพบมากในรุ่นใหญ่วัยเพลิน จริงๆพาร์กินสันเป็นโรคเกี่ยวกับเรื่องของมีความเสื่อมของระบบประสาทสมองส่วนกลางโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งจะทำให้มีการหลั่งสารโดปามีนลดลง อาการคนไข้ก็จะมีความผิดปกติเกี่ยวกับเรื่องของการเคลื่อนไหว มีการเดินที่ผิดปกติไป หรือมีอาการสั่น ประสาทส่วนกลางจะควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว บริเวณนี้อยู่ตรงกลางของสมอง จะควบคุมการขยับแขนขาทั่วไป ถ้ามีการหลั่งสารโดปามีนละลงจะทำให้คนไข้มีการเคลื่อนไหวที่ช้าลง หรือมีอาการสั่น มือสั่นก็เป็นได้ เดินจะมีลักษณะซอยเท้าล้มบ่อย หรือหลังค่อมลง ส่วนใหญ่จะค่อยๆเป็นมากขึ้นๆต่อมาจะรบกวนชีวิตประจำวันมากขึ้น อันนี้ต้องไปพบแพทย์ ขั้นตอนการรักษาถ้าวินิจฉัยว่าเป็นพาร์กินสันเกิดจากเกี่ยวกับความเสื่อมของสมองการสร้างโดปามีนลดลงจะมียาให้ไปเพิ่มโดปามีน คนไข้ก็จะต้องกินยาที่เพิ่มโดปามีนไปตลอด โดยจะปรับยาดูจากอาการของผู้ป่วย ถ้าได้รับยาแล้วอาการจะดีขึ้นคนไข้จากเดินซอยเท้าจะเดินได้ปกติ อาการสั่นจะดีขึ้น แต่ถ้าเกิดพาร์กินสันจากสาเหตุเรื่องของยาบางชนิด อันนี้จะไปหยุดยาที่สงสัยว่าทำให้เกิดการอาการพาร์กินสัน ถ้าหยุดยาแล้วประมาณ 1 เดือนอาการของพาร์กินสันก็จะดีขึ้นหายไปเลย สำหรับคนที่เป็นพาร์กินสันมานานรักษาด้วยยาไม่ได้แล้วทานยาขนาดสูงแล้วอาการไม่ดีขึ้นก็จะมีวิธีการผ่าตัด ฝั่งตัวกระตุ้นการหลั่งโดปามีนลงไปในสมองส่วนกลาง ช่วยให้อาการดีขึ้น การเป็นพาร์กินสันจะมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วยได้ ต้องดูแลอย่างดีเลย " ติดตามเรื่องราวของโรคต่างๆที่เป็นประโยชน์ ได้ใน รายการ "สวัสดีคุณหมอ " ทางช่องเพลินทีวี ที่หมายเลข 10 เวลา 7.00/16.30น.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ