นิด้าโพล : “สมาชิกวุฒิสภา”

ข่าวทั่วไป Monday December 7, 2015 16:55 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 ธ.ค.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "สมาชิกวุฒิสภา" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2558 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับหน้าที่ ที่มา จำนวน และวาระในการดำรงตำแหน่งของสมาชิกวุฒิสภา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้น ในแต่ละภาคสุ่มตัวอย่างแบบ มีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมี ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำหน้าที่ของวุฒิสภา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.24 ระบุว่า ต้องการให้วุฒิสภาทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย รองลงมา ร้อยละ 25.60 ระบุว่า ควรทำหน้าที่แต่งตั้ง/ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ร้อยละ 22.96 ระบุว่า ควรทำหน้าที่เสนอกฎหมาย ร้อยละ 1.12 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ควรทำทุก ๆ หน้าที่เท่ากัน และควรเข้าถึงประชาชนให้มากขึ้น และร้อยละ 8.08 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณลักษณะของสมาชิกวุฒิสภา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.28 ระบุว่า ควรมีความซื่อสัตย์สุจริต รองลงมา ร้อยละ 24.08 ระบุว่า ควรเป็นที่ยอมรับ ร้อยละ 23.44 ระบุว่า ควรเป็นกลางทางการเมือง ร้อยละ 0.48 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ควรมีคุณลักษณะทุกข้อที่กล่าวมา และควรมีความรู้ความเข้าใจในด้านกฎหมายเป็นอย่างดี และร้อยละ 0.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ความคิดเห็นของประชาชนต่อที่มาของสมาชิกวุฒิสภา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.16 ระบุว่า ควรมาจากทุกกลุ่ม รองลงมา ร้อยละ 16.32 ระบุว่า ควรมาจากกลุ่มนักวิชาการ ร้อยละ 9.04 ระบุว่า ควรมาจากกลุ่มอาชีพ ร้อยละ 1.20 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ควรมาจากการเลือกตั้งและการสรรหา และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ และร้อยละ 1.28 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ความคิดเห็นของประชาชนต่อจำนวนของสมาชิกวุฒิสภา พบว่า ประชาชน ร้อยละ 37.84 ระบุว่า ควรมีจำนวนสมาชิกวุฒิสภา 150 คน ร้อยละ 25.76 ระบุว่า ควรมีจำนวน 100 คน และ 200 คน ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 1.84 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ น้อยกว่า 150 คน, 110, 120, มากกว่า 200 คน ขึ้นไป และควรกระจายทั่วทุกจังหวัด และมีสัดส่วนที่เหมาะสมกับจำนวน ส.ส. และร้อยละ 8.80 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อวาระในการดำรงตำแหน่งของสมาชิกวุฒิสภา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 73.84 ระบุว่า ควรมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี รองลงมา ร้อยละ 10.96 ระบุว่า 6 ปี ร้อยละ 6.16 ระบุว่า 6 ปี แต่ 3 ปีแรกให้จับสลากออกครึ่งหนึ่ง ร้อยละ 6.48 ระบุว่าอื่น ๆ ได้แก่ ควรดำรงตำแหน่งน้อยกว่า 4 ปี โดยให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน และดำรงตำแหน่ง ไม่เกิน 2 วาระ และร้อยละ 2.56 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.72 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.44 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.08 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.60 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 52.40 เป็นเพศชาย และร้อยละ 47.60 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 7.52 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 19.44 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 24.32 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 31.60 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 15.76 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 95.12 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.80 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.40 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 1.68 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 22.40 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 73.28 สมรสแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 2.48 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.84 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่าง ร้อยละ 24.96 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.48 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.04 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 29.44 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.00 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.08 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 13.04 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.64 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 24.32 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.04 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.12 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 14.80 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.80 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.16 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 2.08 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่าง ร้อยละ 15.76 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 18.24 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 ร้อยละ 31.20 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 ร้อยละ 13.60 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 7.36 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 6.40 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 7.44 ไม่ระบุรายได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ