การแถลงนโยบายของรัฐบาลด้านเศรษฐกิจ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ)

ข่าวทั่วไป Thursday December 24, 2015 16:28 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 ธ.ค.--สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันที่ 23 ธันวาคม 2558 ณ ทำเนียบรัฐบาล 1. ปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนที่ คสช. จะเข้ามาบริหารประเทศ - สภาพสังคม เศรษฐกิจ ลมฟ้าอากาศได_เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เช่น แรงงานภาคการเกษตรน้อยลงเศรษฐกิจโลกถดถอย เกิดภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง - การทำการเกษตรแบบดั้งเดิม ด้วยการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าว อ้อย ยางพารา ปาล์ม ทำให้เกิดความเสี่ยงด้านราคาและเกษตรกรขาดแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพ มีรายได้ไม่ พอกับค่าครองชีพ - ตลาดโลกมีการแข่งขันสูงทั้งด้านราคาและคุณภาพ ประกอบกับ นโยบายการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ ได้ใช้มาตรการด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นเพิ่มมากขึ้น ทำให้สินค้าเกษตรไทยมีปัญหาและอุปสรรคทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น - การบริหารจัดการภาคเกษตรของรัฐดำเนินการแบบต่างหน่วยต่างทำ ขาดการวางแผนที่ชัดเจนขาดความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ ระหว่างการส่งเสริม การวิจัย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการบริหารจัดการน้ำ และการตลาด - หลายรัฐบาลพยายามแก้ปัญหาสินค้าเกษตรด้วยการประกันราคา จำนำผลผลิตการเกษตร ซึ่งบิดเบือนกลไกตลาด และเป็นช่องว่างให้เกิดการประพฤติปฏิบัติที่ไม ถูกต้อง เกิดความเสียหายต่อรัฐและเกษตรกร ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาด้านการเกษตรที่สะสมมานาน ส่งผลให้การเกษตรกรที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทย ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ รัฐบาลปัจจุบันจำเป็นต้องกำหนดนโยบาย มาตรการ การแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน 2. เป้าหมายในการทำงาน - มีเป้าหมายรวมสูงสุดที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยให้ดีขึ้น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ระยะที่ 2 การสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้เกษตรกรในระยะยาว - การดำเนินการดังกล่าว จำเป็นต้องบูรณาการขับเคลื่อนร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในหลายมิติ 1. ส่วนราชการภายใน กษ. และหน่วยงานภายนอก 2. กระบวนการมีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน หรือ ประชารัฐ โดยเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง 3. การขับเคลื่อนต้องดำ เนินการอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได_ เพื่อให้งบประมาณใช้อย่างมี ประสิทธิภาพ 3. ระยะที่ 1 การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้เกษตรกรฝ่าฟันปัญหาให้ผ่านพ้นไปได้ในห้วงปี 2558 ที่ต้องเผชิญกับภัยแล้ง ราคาผลผลิต ตกต่ำ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินมาตรการ ดังต่อไปนี้ 1. การให้ความช่วยเหลือในการสนับสนุนเงินหรือปัจจัยการผลิต เพื่อลดต้นทุน ทำให้เกษตรกรอยู่ได้คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาตรการและงบประมาณรวม 4 โครงการ งบประมาณ 58,088ล้านบาท สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกร ประมาณ 5 ล้านครัวเรือน เฉลี่ยครัวเรือนละ 11,617 บาท ดังนี้ - การช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม เกิน 15 ไร เกษตรกรได้รับความช่วยเหลือ 3.6ล้านครัวเรือน - การช่วยเหลือชาวยางพารา ดำเนินการตั้งแต่ปี 2557 สนับสนุนเงินไร ละ 1,000 บาท ไม่เกิน15 ไร ต่อครัวเรือน เกษตรกรได้รับความช่วยเหลือ 850,000 ครัวเรือน ปี 2558 ขยายโครงการ โดยเพิ่มวงเงินสนับสนุนเป็นไร่ละ 1,500 บาท (เจ้าของสวนยางพารา 900 บาท คนกรีดยาง 600 บาท) 2. การแก้ไขปัญหาภัยแล้งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาตรการและงบประมาณ ดังนี้ - การบริหารจัดการน้ำในภาพรวม มีทั้งการแก้ปัญหาระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาวในส่วนระยะสั้น เช่น การเจาะน้ำบาดาล กรอบวงเงิน 3,463 ล้านบาท จำนวน 6,030 บ่อ - ปี 2558-2559 มี 8 มาตรการ (การส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน การชะลอหรือขยายระยะเวลาการชำระหนี้แก เกษตรกรและการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำการจ้างแรงงานช่วงภัยแล้ง การจัดทำแผนชุมชนแก้ปัญหาภัยแล้ง เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ การเพิ่มน้ำต้นทุนและการขุดบ่อบาดาล การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน) กรอบวงเงินงบประมาณ 8,752 ล้านบาท จำนวน 5 ล้านครัวเรือน โดยสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้เกษตรกรทำอาชีพเสริมทดแทนการทำนาปรัง เช่น การปศุสัตว์ การประมง การปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อยทดแทน รายละ 2,400 บาทต่อครัวเรือนเกษตรกรได_รับประโยชน- 385,958 ราย 3. การตลาด - การเจรจาขายสินค้าเกษตรในสต๊อกรัฐบาลอย่างโปร่งใสเพื่อให้กลไกราคาเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร และลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บของรัฐบาล เช่น ข้าวสาร และยางพารา - การเร่งรัดมาตรการใช้ยางพาราในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่น การทำถนนลานเอนกประสงค์ชุมชน ลู่วิ่งสนามกีฬา พื้นสนามเด็กเล่น โดยในปี ๒๕๕๙ มีเป้าหมายเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศอีกประมาณ 22,000 ตัน 4. ระยะที่ ๒ ระยะปฏิรูปเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้เกษตรกรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มุ่งมั่นที่จะปฏิรูปภาคเกษตรให้สอดคล้องกับการปฏิรูปประเทศไปสู่ ความสำเร็จเพื่อให้ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง สู่ การพัฒนาอย่างยั่งยืน และยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว เพื่อให้ภาคเกษตรไทยเป็นการเกษตรยุคใหม่ นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559เป็นต้นไป โดยเน้นเกษตรกรเป็นศูนย์กลางและส่งเสริมการบูรณาการเชิงพื้นที่เป็นหลัก ซึ่งการดำเนินการในด้านต่างๆ จะมีดำเนินการควบคู่ไปกับระยะเฉพาะหน้า โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้ - ปี 2559 ได้ประกาศให้เป็นปีแห่งการรณรงค์ลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันสินค้าเกษตร ซึ่งจะมีการดำเนินการครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ การลดต้นทุนปัจจัยการผลิต การเพิ่มผลผลิต การบริหารจัดการ และการตลาด โดยประสานกับกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการปัจจุบันได้ลดราคาปุ๋ยเคมีและสารเคมีบางประเภทแล้ว ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลงให้ได้ประมาณร้อยละ 5-10 - ศูนย์เรียนรูhการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 882 ศูนย์เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนและเป็นแหล่งให้เกษตรกรเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน จนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้สนับสนุนการรวมกลุ่มและให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตร การเชื่อมโยงตลาด มีความพร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ โดยคณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2558 กรอบงบประมาณ 1,064 ล้านบาท เพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกร จำนวน 220,500 ราย ซึ่งผลจากมาตรการนี้จะนำไปสู่ 1) การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม หรือ Zoning ซึ่งเป็นการทำให้พื้นที่การผลิตสินค้าเกษตรมีผลผลิตตรงตามความต้องการของตลาดทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น การปรับโครงสร้างการผลิตข้าว ปศุสัตว์ และประมง เป็นต้น เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรและเป็นประโยชน์ในการวางแผนการใช้พื้นที่การเกษตรที่มีอยู่ประมาณ 150 ล้านไร่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2) การขับเคลื่อนระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป็นการบริหารจัดการรวมกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อหน่วย โดยใช้ตลาดนำการผลิตซึ่งขณะนี้มีกิจกรรมในแปลงใหญ่ จำนวน 270 แปลง และมีต้นแบบใน 76 จังหวัด รวม 76 แปลงต้นแบบ - การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร โดยเริ่มต้นกับจังหวัดยโสธรเป็นเมืองเกษตรอินทรีย์- โดยกำหนดจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในเดือนมกราคม 2559 เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้กลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่ดำเนินการอยู แล้ว และขยายผลไปเกษตรกรกลุ่มอื่นที่สนใจในพื้นที่อื่นต่อไป - โครงการธนาคารสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาล ให้เกษตรกรได้นำผลผลิตทางการเกษตรมาแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยการผลิตที่มีราคาถูก โดยจะเริ่มดำเนินการในเดือนมกราคม 2559 ในพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ต้นแบบ - การส่งเสริมการทำเกษตรแบบผสมผสาน และการสนับสนุนให้ประกอบอาชีพเพื่อลดความเสี่ยงด้านราคาผลผลิตทางการเกษตรจากพืชเชิงเดี่ยว โดยปลูกพืชหลากหลายชนิดเสริมควบคู กัน เช่น โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพเสริมด้านเกษตร ที่ได้ดำเนินการปี 2558 ที่ผ่านมา เกษตรกรได้รับประโยชน์ประมาณ 100,000 ราย วงเงิน 10,000 ล้านบาท และในปี 2559 ได้สนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ในโครงการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรชาวสวนยางพารา จำนวนกรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท มีเกษตรกรจะได้รับประโยชน์ 50,000 รายๆ ละ 100,000 บาท จากการปลูกพืชใช้น้ำน้อย หากทำเกษตรอินทรีย์ผลผลิตจะมีราคาดีกว่าการเกษตรทั่วไป เป็นต้น 5. สรุป นับตั้งแต่รัฐบาลนี้เข้ารับหน้าที่ ได้กำหนดมาตรการทั้งระยะสั้น ระยะยาว เพื่อปฏิรูปภาคการเกษตรตามแนวทางประชารัฐ โดยจัดสรรงบประมาณแล้วกว่า 70,000 ล้านบาท รวมถึงกรอบวงเงินสินเชื่อเพื่อการเกษตรดอกเบี้ยต่ำต่าง ๆ วงเงินมากกว่า 100,000 ล้านบาท การดำเนินงานเป็นไปด้วยความโปร่งใสตรวจสอบได้ ปิดโอกาสการแสวงหาผลประโยชน์ในนโยบายรัฐ จะเห็นได้ว่าการดำเนินงานของรัฐบาลนี้มิได้สร้างภาระงบประมาณของประเทศในอนาคต แต่มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนแก่เกษตรกร อย่างไรก็ตาม ปี 2559 ที่จะมาถึง ประเทศไทยเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน การปฏิรูปภาคการเกษตรจึงต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากพี่น้องเกษตรกรด้วย เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ