รายงาน Ericsson Mobility Report ชี้การใช้งาน 4G/LTE ในประเทศไทยคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5 เท่าในปี 2561

ข่าวเทคโนโลยี Thursday December 24, 2015 17:43 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 ธ.ค.--Ericsson - ภายในปี 2561 การเปิดใช้บริการ 4G/LTE ในประเทศไทยจะเพิ่มสูงขึ้นกว่า 5 เท่า หรือประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งหมด - การใช้สมาร์ทโฟนในประเทศไทยจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยภายในปี 2561 มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งหมดจะใช้สมาร์ทโฟน โดยในปี 2558 อยู่ที่ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ - ภายในปี 2561 การใช้สมาร์ทโฟนในประเทศไทยจะมีจำนวนมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งหมด ซึ่งเพิ่มจากปี 2558 ที่มีอยู่ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ - การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโมบายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะเติบโตขึ้นถึง 14 เท่าระหว่างปี 2558 กับ 2564 ในขณะที่ประชากรในภูมิภาคนี้มากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์จะสามารถเชื่อมต่อและใช้เครือข่าย LTE ได้ รายงาน South East Asia and Oceania Report ฉบับล่าสุดของอีริคสัน กล่าวว่าการใช้งานเครือข่ายโมบายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะสูงเกินกว่า 1 พันล้านภายในปี 2558 นี้ ซึ่งคิดเป็น 14 เปอร์เซ็นต์ของตลาดโทรศัพท์มือถือของโลก คุณคามิลล่า วอลเทียร์ ประธานบริษัทอีริคสันกล่าวว่า "การใช้งานสมาร์ทโฟนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า สูงขึ้นถึง 850 ล้านภายในปี 2564 โดยปริมาณการใช้งานดาต้ารับส่งข้อมูลโดยเฉลี่ยต่อเดือนผ่านสมาร์ทโฟนจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากเฉลี่ยอยู่ที่ 1.2 กิกะไบต์ (gigabyte หรือ GB) ในปี 2558 เป็นประมาณ 9 กิกะไบต์ ในปี 2564 เลยทีเดียว" คุณคามิลล่ากล่าวต่อว่า "สำหรับการใช้งานโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยนั้นเราคาดว่า มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของการใช้งานเครือข่ายโมบายในประเทศไทยจะเป็นสมาร์ทโฟนในปี 2561 เทียบกับเพียง 60 เปอร์เซ็นต์ในปี 2558 นี้ การประมูลเครือข่าย 4G/LTE ที่ผ่านไปนั้นจะส่งผลให้มีการเปิดใช้ 4G/LTE ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่า โดยมียอดสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งหมดในปี 2561 หรือ อีก 3 ปีข้างหน้า" "เนื่องจากว่าสมาร์ทโฟนเป็นที่นิยมอย่างมากบวกกับสถิติการใช้งานที่เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วยนั้น ส่งผลให้ปริมาณการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายโมบายในภูมิภาคนี้พุ่งสูงถึง 14 เท่าในปี 2564 นอกจากนั้นแล้ว เริ่มมีผู้บริโภคที่หันไปใช้ดาต้าแพกเกจที่ให้ปริมาณการส่งข้อมูลเยอะมากขึ้น โดยในปี 2558 นั้น 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคทั้งหมดในภูมิภาคนี้ลงทะเบียนใช้ดาต้าแพกเกจบนเครือข่ายโมบายสูงถึง 5 กิกะไบต์ รายงานกล่าวว่าภายในปี 2564 เครือข่าย 4G/LTE จะครอบคลุมประชากรในภูมิภาคนี้มากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ โดยการเปลี่ยนผ่านจาก 3G เป็น 4G/LTE จะช่วยให้ผู้ประกอบการต่างๆ สามารถจัดการกับจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนและปริมาณ การรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายโมบายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้อย่างดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังทำให้ผู้ใช้งานนั้นได้ประสบการณ์การใช้ที่ดีที่สุดผ่านการอัพโหลดและดาวน์โหลดด้วยความเร็วที่สูงขึ้น และการเปิดใช้งาน 5G คาดว่าจะได้รับโมเมนตัมและผลักดันให้มียอดการใช้สูงเกินกว่า 500 ล้านเลขหมายในปี 2564 พม่า อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ เป็น 3 ประเทศในภูมิภาคนี้ที่ได้รับการบันทึกติด 10 อันดับแรกของโลกที่มียอดจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มสุทธิสูงสุดในไตรมาสที่ 3 ของปี 2558 นี้ ประเทศในภูมิภาคนี้ที่มีเครือข่ายโมบายดีที่สุด คือ ออสเตรเลียและสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศผู้นำทางด้าน 4G/LTE และ 4G/LTE Advanced การวิเคราะห์ของอีริคสันแสดงให้เห็นว่า แอพที่ต้องใช้การส่งข้อมูลสูงๆ เช่น วีดีโอสตรีมมิ่งระดับ HD นั้นสามารถใช้งานและรับชมได้ดีกว่าบนเครือข่ายโมบายในสิงคโปร์และออสเตรเลีย และที่น่าสนใจคือ ระบบ 4G/LTE Advanced หรือ LTE carrier aggregation ในออสเตรเลียยังช่วยให้ความเร็วการดาวน์โหลดเพิ่มสูงขึ้นได้ถึง 600 Mbps อีกด้วย คุณคามิลล่ากล่าวเสริมด้วยว่า "จากความสำเร็จในการประมูลใบอนุญาต 4G บนคลื่น 1800 และ 900 MHz ที่ผ่านมาจะส่งผลให้ประสิทธิภาพและความเร็วเฉลี่ยของเครือข่ายโมบายบรอดแบนด์ในประเทศไทยนั้นดีขึ้นตามมา นอกจากนี้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนกลุ่มใหม่ในอนาคตคาดว่าจะมาจากพื้นที่นอกตัวเมืองและห่างไกล รายงานยังได้มีการสรุปมุมมองต่ออุตสหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทย ดังนี้ • จำนวนการใช้งานโทรศัพท์มือถือยังคงมีอัตราการเพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยในสิ้นปี 2558 คาดว่าจะมีจำนวนมากกว่าถึง 87 ล้านเลขหมาย หรือประมาณ 130 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนประชากรโดยรวม ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 85.7 ล้านเลขหมาย หรือประมาณ 128 เปอร์เซ็นต์เมื่อสิ้นสุดไตรมาสที่ 3 ของปีเดียวกัน • จำนวนการเปิดใช้บริการ 4G/LTE จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งหมดในปี 2561 โดยจะเพิ่มขึ้นจากประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ในปี 2558 • ความต้องการใช้โทรศัพท์ประเภทสมาร์ทโฟนในประเทศไทยจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยภายในปี 2561 มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งหมดจะเป็นสมาร์ทโฟน ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากประมาณ 62 เปอร์เซ็นต์ในปี 2558 • กลุ่มตลาดใหม่ของสมาร์ทโฟนในอนาคตคือ o กลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟนในระบบ 2G และ 3G ที่ต้องการเปลี่ยนมาใช้งาน 4G/LTE o กลุ่มผู้บรโภคที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นอกตัวเมือง ซึ่งมีอยู่ประมาณ 50เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนประชากรทั้งหมด • สามปัจจัยหลักที่จะส่งเสริมให้ผู้บริโภคนั้นสามารถเข้าถึงสมาร์ทโฟนและโมบายบรอดแบนด์ได้อย่างทั่วถึงคือ o Accessibility ความพร้อมและความครอบคลุมของเครือข่ายโมบายบรอดแบนด์ และการเข้าถึงสมาร์ทโฟม o Affordability ราคาของสมาร์ทโฟน และค่าบริการเครือข่ายโมบายบรอดแบนด์ที่เหมาะสม และช่วยส่งเสริมให้ผู้บริโภคต่างสามารถเป็นเจ้าของและใช้งานได้อย่างไม่เป็นภาระ o Awareness การรับรู้และเข้าใจถึงประโยชน์ของการใช้อินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนของผู้บริโภค • ปริมาณการส่งและรับข้อมูลบนเครือข่ายโมบายจะเพิ่มสูงขึ้นกว่า 14 เท่าตัวภายใน 6 ปี หรือระหว่างปี 2558 ถึง 2564 o ปริมาณการใช้งานดาต้ารับส่งข้อมูลโดยเฉลี่ยต่อเดือนของผู้ใช้สมาร์ทโฟนจะเพิ่มขึ้นจาก 1.2 กิกะไบต์ ในปี 2558 เป็นเกือบ 9 กิกะไบต์ ในปี 2564 o มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายโมบายในปี 2564 จะเป็น วิดีโอ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2558 ที่มีอยู่ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น • ผู้ใช้โมบายอินเทอร์เน็ตในไทยนิยมดูโมบายทีวีกันสูงมากขึ้น o กว่าร้อยละ 66 ของ ผู้ใช้โมบายอินเทอร์เน็ตจะดูคลิปวิดีโอสั้นๆ เป็นประจำทุกสัปดาห์ (เมื่อเทียบกับอัตราเฉลี่ยทั่วโลกที่ร้อยละ 57) o กว่าร้อยละ 44 ของ ผู้ใช้โมบายอินเทอร์เน็ตจะดูหนังวิดีโอจนจบเรื่องเป็นประจำทุกสัปดาห์ (โดยทั่วโลกจะอยู่ที่ร้อยละ 39) • สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่โลกแห่งสังคมเครือข่าย หรือ Networked Society อย่างรวดเร็วผ่านการเชื่อมต่อแบบไร้สาย หรือ โมบิลิตี้ Mobility o ผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึงความสำคัญและเข้าใจถึงประโยชน์ของการดำเนินชีวิตในโลกของสังคมเครือข่ายมากขึ้น ชึ่งส่งผลให้เกิดความต้องการในการเชื่อมต่อกับสังคมออนไลน์ และอินเทอร์เน็ตในทุกๆ พื้นที่ o กว่าร้อยละ 74 ของผู้บริโภคคนไทยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเป็นกิจวัตรประจำทุกๆ สัปดาห์ • ผู้บริโภคต้องการประสบการณ์การใช้งานโมบายบรอดแบนด์ที่รวดเร็วและต้องการให้อุปกรณ์ต่างๆ รอบตัวนั้นเชื่อมในรูปแบบ อินเทอร์เน็ต ออฟ ติง Internet of Things มากขึ้น ซึ่งจะช่วยตอบสนองไลฟ์สไตล์ของพวกเขาในโลกของสังคมเครือข่าย หรือ Networked Society นั้นเอง o ผลการศึกษาของอีริคสันชี้ว่าผู้บริโภคคนไทยต้องการให้ ทีวี รถยนต์ และ กล้อง ของพวกเขานั้นสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ด้วย • การลงทุนอย่างต่อเนื่องในเครือข่ายโมบายจะช่วยให้สังคมไทยก้าวเข้าสู่โลกแห่งสังคมเครือข่าย หรือ Networked Society มากยิ่งขึ้น o การเข้าถึงโมบายบรอดแบนด์จะช่วย ผู้บริโภค บริษัท และ ภาครัฐบาล ได้รับประโยชน์จา ระบบเศรษฐกิจดิจิตอลนั่นเอง o ผลการวิเคราะห์ของอีริคสันยังชี้ให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อความเร็วเฉลี่ยของเครือข่ายบรอดแบนด์โดยรวมเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัว • นอกจากนี้ ผลงานวิจัยของอีริคสันยังพบว่าประเทศไทยมีความเร็วเฉลี่ยในการดาวน์โหลดที่บริเวณขอบของสถานนีฐานของเครือข่ายโมบายลดลงมาอยู่ลำดับที่ 6 จากทั้งหมด 9 ประเทศในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย o จำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนและพฤติกรรมการใช้งานดาต้าที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นกลายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อันดับของประเทศตกลงจากอันดับ 3 ในไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมา o ผู้ให้บริการเครือข่ายในไทยยังคงจำเป็นต้องปรับปรุงความครอบคลุมและขยายเครือข่ายเพื่อตอบสนอง พฤติกรรมการใช้งานและจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง • การเข้าถึงคลื่นความถี่กลายเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยให้เครือข่ายมือถือต่างสามารถตอบสนองปริมาณการรับส่งข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและที่สำคัญยังสามารถรองรับความต้องการของภาคธุรกิจต่างๆ ในการทำธุรกรรม On-line ที่สูงขึ้นผ่านโทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟนอีกด้วย
แท็ก สมาร์ทโฟน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ