กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--จุฬาฯ ในรอบทศวรรษที่ผ่านมาพัฒนาการทางเทคโนโลยีพลาสติก Poly Propylene (PP) ได้ก้าวต่อไปอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเราสามารถทำให้ PP มีความใสสูง (High Clarity) ในระดับโมเลกุล PP ความใสสูงนี้ได้รับการขนานนามว่า BOPP (Biaxial Oriented Poly Propylene) ซึ่งสามารถผลิตโดยใช้ระบบ ISBM เพื่อช่วยเพิ่มความใสของ PP ทางกายภาพ คุณสมบัติดังกล่าวร่วมกับการที่ PP สามารถทนความร้อนสูงได้ถึง 120 องศา C ได้เปิดโอกาสให้ BOPP ถูกนำมาใช้กับอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อย่างรวดเร็ว การสัมมนานี้ได้รวมเอาผู้เชี่ยวชาญในวงการผลิต PP และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อจะวางรากฐาน ความเข้าใจวัตถุดิบ PP รวมทั้งประวัติการพัฒนา PP ใสอย่างต่อเนื่อง การนำ PP ใสมาใช้ในวงการเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมตลอดจนผลการวิจัยการใช้ BOPP กับเครื่องดื่มประเภทชา อีกทั้งยังได้ลงลึกไปถึงการผลิตภาชนะ BOPP อย่างมีประสิทธิภาพ แถมพกเกร็ดความรู้ขบวนการ HOT FILLED (บรรจุของเหลวด้วยความร้อน) ซึ่งจะช่วยทำให้วงการเครื่องดื่มไม่ต้องใช้สารกันบูดในเครื่องดื่มอีกต่อไป หมายกำหนดการ9.00-9.30 น. ลงทะเบียน9.30-9.45 น. พิธีเปิดโดย รองศาสตราจารย์ เสาวรจน์ ช่วยจุลจิตร์, หัวหน้าภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยช่วงที่ 1 (โดย Mr.Predo Van Hoeck, Milliken Asia)9.45-10.30 น. พัฒนาการของ PP ใส, ข้อเปรียบเทียบระหว่างขวด BOPP กับขวด PET โดย Mr.Predo Van Hoeck, การผลิต PP ใส สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศไทย โดย คุณโสภณ จันภงษ์, TPI POLENE10.30-10.45 น. คำถาม-คำตอบช่วงที่ 2 (โดย Mr.Andrew Lee, ETEK Development)10.45-11.15 น. ขวด BOPP กับอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม11.15-11.45 น. วิวัฒนาการของเครื่อง ISBM ที่ใช้สำหรับเป่าขวด BOPP 11.45-12.00 น. คำถาม-คำตอบ12.00-13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยงช่วงที่ 3 (โดย Professor Lul Quirjin, Food Science College or SWAU)13.00-13.45 น. ผลการวิจัยการใช้ขวด BOPP กับชา13.45-14.00 น. คำถาม-คำตอบ14.00-14.15 น. พักดื่มน้ำชา กาแฟช่วงที่ 4 (โดย Guanzhou Mingrul Enterprise)14.15-14.45 น. ระบบการบรรจุของเหลวที่อุณหภูมิสูง14.45-15.00 น. คำถาม-คำตอบ15.00 น. จบการสัมมนา 1. การบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ถอดความเป็นภาษาไทยโดย ดร.ดวงดาว อาจองค์ 2. ในกรณีทีผู้ร่วมสัมมนามีข้อสงสัย หรือ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อกับผู้บรรยายแต่ละท่านได้หลังสัมมนาวัตถุประสงค์ การสัมมนาครั้งนี้จัดโดยความร่วมมือระหว่างภาควิชาวัสดุศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท มิลิแคน เอเชีย จากสิงคโปร์ อีเทค เอนเตอร์ไพรส์ จากสาธารณรัฐประชาชนจีน, และแอ๊ดว๊านซ์ โพลีเมอร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เพื่อเผยแพร่ความรู้และวิชาการเกี่ยวกับพลาสติก BOPP โดยจุดประสงค์เพื่อ 1) แนะนำนวัตกรรมใหม่ BOPP 2) แนะนำการประยุกต์ใช้ BOPP ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม 3) แสดงผลการวิจัยการนำภาชนะ BOPP มาใช้กับเครื่องประเภทชา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ ดร.ดวงดาว อาจองค์ ทางโทรศัพท์ 02-218-5544-6 โทรสาร 02-218-5561 สถานที่จัดสัมมนา : ห้องกิ่งเพชร โรงแรมเอเชีย ถนนพญาไท กทม. วัน-เวลา : วันที่ 22 สิงหาคม 2544 9.00-15.00 น.--จบ---นห-