รัฐมนตรีเกษตรฯ ตรวจศูนย์แก้ภัยแล้งระดับชาติ เผยปริมาณน้ำในการได้ใน 4 เขื่อนหลักมีรวม 4,047 ล้าน ลบ.ม. ระบุคืบหน้า 8 มาตรการลดผลกระทบภัยแล้ง

ข่าวทั่วไป Wednesday October 21, 2015 14:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ม.ค.--สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือพร้อมตรวจเยี่ยมศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้งระดับชาติ (ศก.ชก.) ณ ห้อง War room 137 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงสถานการณ์น้ำและความก้าวหน้าการดำเนินงานตามโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งปี 2558/59 ว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2558 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง 481 แห่ง มีปริมาตรน้ำใช้การได้ 19,882 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 39 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 อ่างฯ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ มีปริมาตรน้ำใช้การได้รวม 4,047ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 22 ปริมาณน้ำไหลลงอ่างรวม 43.82ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายรวม 4.48ล้าน ลบ.ม. (จากการคาดการณ์ว่าจะมีน้ำใช้การได้ไม่น้อยกว่า 3,677 ล้าน ลบ.ม. ณ วันที่ 1 พ.ย. 2558 ปัจจุบันมีมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ 370 ล้าน ลบ.ม.) แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำ ณ วันเดียวกันของปีที่แล้ว (20 ตุลาคม 2557, 6,777 ล้าน ลบ.ม.) ซึ่งพบว่ามีปริมาณน้ำใช้การได้น้อยกว่า ประกอบกับขณะนี้ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูหนาวปริมาณฝนจะลดลง ดังนั้น ปริมาณน้ำใช้การได้จำนวน 4,047 ล้าน ลบ.ม จะต้องบริหารจัดการเพื่อการอุปโภคบริโภค การรักษาระบบนิเวศน์ ไปจนถึงเดือนเมษายน 2558 (อีก 6 เดือนข้างหน้า) ซึ่งทุกส่วนจะต้องใช้น้ำร่วมกันอย่างประหยัด โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขณะที่สถานการณ์เพาะปลูกข้าว ( ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2558 ,ปรับปรุงรายสัปดาห์) พบว่า มีพื้นที่ปลูกข้าวทั้งประเทศทั้งในและนอกเขตชลประทานรวม 61.67 ล้านไร่ รอเก็บเกี่ยว (อยู่ในระยะช่วงอายุข้าว 90 - 120 วันซึ่งใช้น้ำน้อย) รวม 53.39ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 7.98ล้านไร่ (มีโอกาสปลูกต่อเนื่อง) ปลูกต่อเนื่อง 1.40 ล้านไร่ (จะเก็บเกี่ยวเดือน ธ.ค. 58 - ม.ค. 59) มีความเสี่ยงสูง ซึ่งพื้นที่ทั่วไปนอกลุ่มน้ำเจ้าพระยาเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวนาปี พอเข้าสู่ฤดูแล้งจะปรับตัวไปประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรซึ่งเป็นวิถีปกติ สำหรับพื้นที่ปลูกข้าวในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่จะมีผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำที่จะส่งผลถึงภาคส่วนอื่นๆ เช่น การอุปโภคบริโภค การรักษานิเวศน์ มีพื้นที่ปลูกข้าวทั้งในและนอกเขตชลประทานรวม 11.91 ล้านไร่ รอเก็บเกี่ยว (อยู่ในระยะช่วงอายุข้าว 90 - 120 วันซึ่งใช้น้ำน้อย) รวม 4.94ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 6.26ล้านไร่ (มีโอกาสปลูกต่อเนื่อง) ปลูกต่อเนื่อง 1.39 ล้านไร่ (จะเก็บเกี่ยวเดือน ธ.ค.58 - ม.ค. 59) มีความต้องการใช้น้ำจำนวน 382ล้าน ลบ.ม. จึงความเสี่ยงจะเสียหายสูงเนื่องจากน้ำจะไม่เพียงพอ ส่วนความก้าวหน้าการดำเนินงาน 8มาตรการ ภายใต้วงเงินงบประมาณ รวม 11,000 ล้านบาท ในห้วง 6 - 21 ตุลาคม 2558 (15 วัน) แบ่งเป็น 1. มาตรการส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน 1.1 โครงการตามแผนชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งด้านการเกษตร เกษตรกรเป้าหมาย 412,430 ราย ช่วงวันที่ 9-22 ต.ค. 58 เกษตรกรพิจารณาเลือกเมนู 4 ด้านได้แก่ พืชใช้น้ำน้อย เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว สัตว์ปีก กบ ปลาดุก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เริ่มดำเนินการฝึกอบรมและสนับสนุนปัจจัยการผลิต ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 58 อยู่ระหว่างขอความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณ 1.2 ลดค่าครองชีพโดยจำหน่ายสินค้าราคาเหมาะสม เป้าหมาย 400 ครั้ง เริ่มดำเนินการ 1 พ.ย. 58 2. มาตรการชะลอหรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ที่เกษตรกรมีภาระหนี้กับสถาบันการเงิน 2.1 การลดหรือยกเว้นการเก็บค่าเช่าที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินอยู่ระหว่างดำเนินการ 2.2 การให้สินเชื่อและการขยายระยะเวลาชำระหนี้ โดย - ธ.ก.ส. เสนอบอร์ดเพื่อพิจารณา เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 58 - ธ.ออมสิน เริ่มดำเนินการ 1 พ.ย. 58 2.3 การชดเชยดอกเบี้ยให้แก่กลุ่มเกษตรกรและสมาชิกสหกรณ์ อยู่ระหว่างเสนอขอความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณ 3. มาตรการจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร 3.1 จ้างงานชลประทาน เป้าหมาย 106,939 ราย แบ่งเป็น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 28,195 รายพื้นที่นอกลุ่มเจ้าพระยา 78,744 ราย มีการจ้างงานแล้ว 10,505 ราย (ลุ่มเจ้าพระยา 260 ราย พื้นที่นอกลุ่มเจ้าพระยา 9,502 ราย) คิดเป็นเงิน 121.36 ล้านบาท จ้างงานเร่งด่วน กระทรวงแรงงานได้จัดสรรงบประมาณให้จังหวัดแล้ว 65 ล้านบาท (เป้าหมาย 95 ล้านบาท พื้นที่นอกลุ่มเจ้าพระยา) คงเหลือ 30 ล้านบาท 4.มาตรการเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง จัดทำแผนชุมชน 77 จังหวัด 882 อำเภอ 6,816 ตำบล แล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย. 58สรุปความต้องการได้ 38,166 โครงการ งบประมาณ 38,071.06 ล้านบาท ทั้งนี้ ทีมประเทศไทย จะสำรวจความต้องการและแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้งทั้งประเทศ ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน เพื่อให้คณะกรรมการอำนวยการฯ เสนอครม.เพื่อพิจารณา 5. มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ สร้างการรับรู้โดยศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯระดับจังหวัด ใน 22 จังหวัด ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ช่วงวันที่ 9-22 ต,ค. 58 เป้าหมาย 201,646 ราย ผลสะสม (9-20ต.ค.) 104,924ราย (52%) ผลวันนี้ 17,895 ราย 6. มาตรการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน 6.1 การปฏิบัติการฝนหลวง วันที่ 19 ต.ค. 58 ขึ้นปฏิบัติการ 4 หน่วย ได้แก่ หน่วยฯจังหวัดเชียงใหม่ ตาก กาญจนบุรีและอ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีฝนตกในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ตาก (2.7) ลำพูน ลำปาง กาญจนบุรี และเพชรบุรี 6.2 การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล เป้าหมาย 5,997 แห่ง แบ่งเป็น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 2,896 แห่ง นอกลุ่มน้ำเจ้าพระยา 3,101 แห่ง อยู่ระหว่างกรมทรัพยากรน้ำบาดาล จัดทำรายละเอียดเพื่อขอทำการตกลงกับสำนักงบประมาณ 7. มาตรการเสริมสร้างสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นบริการภาครัฐ ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 8. มาตรการสนับสนุนอื่นๆ การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2556 ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือ แผนสินเชื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน ธ.ก.ส. เสนอบอร์ดเพื่อพิจารณา เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 58 ทั้งนี้ ภายในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้ง ปี 2558/59 เพื่อเร่งรัด ติดตามการดำเนินงานตามมาตรการทั้ง 8 ข้อ ให้เกษตรกรได้รับการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง ให้สามารถลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน ลดภาระการชำระหนี้ และสร้างรายได้จากการจ้างงาน สร้างอาชีพอื่นที่เหมาะสมกับภูมิสังคม สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและมีมูลค่าสูง อย่างไรก็ตาม นอกจากมาตรการที่ภาครัฐเร่งรัดดำเนินการเพื่อลดผลกระทบให้แก่พื้นที่ที่จะประสบปัญหาภัยแล้งแล้ว ก็ขอฝากเน้นย้ำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกข้าว หรือพืชที่ใช้น้ำมาก มาเป็นการเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อยอื่น ๆ ที่สร้างมูลค่าสูง หรือการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ และการประมงตามแหล่งน้ำที่ได้เตรียมไว้ จะช่วยลดความเสี่ยง ความเสียหายของพืชผล จากภาวะขาดแคลนน้ำในปี 2559 ได้ และอาจจะเป็นอาชีพใหม่ ๆ ที่มีรายได้มากขึ้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ