"Hello world ! พูดจาภาษาโปรแกรมเมอร์

ข่าวเทคโนโลยี Thursday March 3, 2016 21:39 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 มี.ค.--Thaiware "Hello world" คำง่ายๆ ที่คุ้นเคยกันดีในแวดวงของเหล่าโปรแกรมเมอร์ทั้งหลาย ในช่วงต้นของการเรียนเขียนโปรแกรมนั้น ไม่ว่าจะใช้ภาษาไหน คำว่า Hello world ก็มักเป็นคำยอดฮิตที่ถูกใช้ให้แสดงผลขึ้นบนตัวอย่างของโปรแกรมแรกที่เริ่มเขียนอยู่เสมอ เรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของนักเขียนโปรแกรมเลยทีเดียว นอกจากนั้นแล้วการที่จะเป็นนักเขียนโปรแกรมได้นั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่จำเป็นต้องเรียนรู้ก็คือภาษาต่างๆ ที่ใช้สื่อสาร ควบคุมและสั่งการกับระบบของคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกกันว่า "ภาษาคอมพิวเตอร์" นั่นเอง ซึ่งมีอยู่มากมายหลายภาษา ในแต่ละภาษาก็มีประวัติความเป็นมา และการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เราลองมาไล่ดูภาษาคอมพิวเตอร์ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบันกันเลยดีกว่า ว่าจะมีวิวัฒนาการแบบไหน และมีภาษาอะไรบ้าง เริ่มกันที่ ภาษา Assembly ที่ถือได้ว่าเป็นภาษาคอมตัวแรกที่ถือกำเนิดขึ้นบนโลก เกิดขึ้นในปี คศ 1940 เป็นภาษาที่มีความซับซ้อนเข้าใจยาก และเกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายในการใช้งาน ทำให้สามารถพัฒนาต่อไปได้ยากปี 1957 กำเนิด ภาษา Fortran ที่เป็นภาษาระดับสูงตัวแรก ถูกพัฒนา IBM และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพื่อให้สามารถเขียนและพัฒนาต่อไปได้ง่ายขึ้น ซึ่งในทุกวันนี้ก็ยังมีการใช้งานกันในระบบของซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ที่ใช้คำนวนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ปี 1959 เริ่มมีภาษา COBOL เป็นภาษาที่นิยมนำไปใช้ทางด้านธุรกิจ สามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ปี 1964 ภาษา Basic ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สอนวิชา การเขียนโปรแกรม ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังมีการสอนภาษานี้อยู่ ปี 1969 ภาษา C นับเป็นภาษาที่สร้างความฮือฮาให้กับวงการนักเขียนโปรแกรมเป็นอย่างมาก สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ถือเป็นภาษารากสุดทรงพลัง ต่อยอดมาจากภาษาก่อนหน้านี้ "B" เป็นภาษาที่ทรงพลังที่สุดตลอดกาล และเป็นที่นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมต่างๆ ปี 1970 ภาษา PASCAL เป็นภาษาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการศึกษา ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการสอนเขียนโปรแกรมโครงสร้าง (Structured programming) ปี 1974 ภาษา SQL เป็นภาษาที่ออกแบบมาเพื่อใช้จัดการกับฐานข้อมูลโดยเฉพาะ SQL เรียกได้ว่าเป็น ภาษามาตรฐานบนระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์และเป็นระบบเปิด ที่ยังคงได้รับความนิยมสูงสุดจนถึงปัจจุบัน ปี 1983 ภาษา C++ เป็นการนำ ภาษา C มาพัฒนาต่อยอดเพื่อให้สนับสนุนรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่หลากหลายมากกว่าเดิม ปี 1987 ภาษา Perl เป็นภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก เพื่อใช้งานกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ภาษาเพิร์ล นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย โครงสร้างของภาษาจึงไม่ซับซ้อน ปี 1991 ภาษา Python เรียนรู้ง่าย ความเร็วในการทำงานสูงมาก สามารถทำงานได้ทั้งบนระบบ Unix, Linux, Windows หรือแม้แต่ระบบ FreeBSD เป็นภาษาลักษณะ Open Source เหมือนอย่าง PHP และง่ายต่อการเรียนรู้ ปี 1993 ภาษา RUBY ออกแบบมาได้ธรรมชาติ ใครลองเขียนก็หลงรัก กล่าวกันว่า ภาษารูบีนั้นทำตามหลักการที่ทำให้ประหลาดใจน้อยที่สุด (principle of least surprise; POLS) ซึ่งหมายความว่า เป็นภาษาที่มีลักษณะสอดคล้องกับสัญชาตญาณ หรือเป็นไปตามสมมติฐานที่โปรแกรมเมอร์ได้คาดเอาไว้ ปี 1995 ภาษา PHP ทำงานได้เร็วมาก แถมยังเป็น Open source เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ สามารถเขียนได้หลากหลายโปรแกรมเช่นเดียวกับภาษาทั่วไป ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ปี 1995 ภาษา JAVA ทำงานได้บนอุปกรณ์เกือบทุกอย่าง ไม่ว่าเว็บ, โปรแกรม หรือบนอุปกรณ์อะไรก็ได้ คือภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส C++ โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมคล้ายกับภาษา Objective-C จุดเด่นอยู่ที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถใช้หลักการของ Object-Oriented Programming มาพัฒนาโปรแกรมของตนด้วย Java ได้ ปี 1995 ภาษา JAVASCRIPT เป็นภาษาที่เป็น Script ที่อยู่ในเว็บไซต์ (ใช่ร่วมกับ HTML) เพื่อให้เว็บไซต์ของเราดูมีการเคลื่อนไหว สามารถตอบสนองผู้ใช้งานได้มากขึ้น ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับ JAVA ปี 2005 ภาษา Ruby on rails เป็นโอเพนซอร์ส web application framework ที่พัฒนาด้วยภาษา Ruby สนับสนุนให้แอพพลิเคชั่นในโลกถูกพัฒนาด้วยโค้ดที่น้อยลงกว่าเฟรมเวิร์คอื่น และมีการปรับแต่งน้อยที่สุด เพื่อความง่ายต่อการประยุกต์ใช้ ปี 2014 ภาษา iOS/Swift เป็นภาษาใหม่ที่ Apple สร้างขึ้น โดยพัฒนามาจาก C++และ Objectice-C มีบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่งหันมาใช้กันแล้ว น่าจับตามองเป็นอย่างมาก ซึ่งแต่ละภาษานั้นก็มีความนิยมที่แตกต่างกัน คราวนี้ลองมาดูการ จัดอันดับของภาษาคอมยอดนิยมที่มีการจ้างงานและใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในปี 2016 นี้ กันบ้าง ภาษา SQL (มีอัตราการจ้างงานเฉลี่ยประมาณ 50,000 งาน/ต่อปี) ภาษา Java (มีอัตราการจ้างงานเฉลี่ยประมาณ 42,500 งาน/ต่อปี) ภาษา JavaScript (มีอัตราการจ้างงานเฉลี่ยประมาณ 40,000 งาน/ต่อปี) ภาษา C# (มีอัตราการจ้างงานเฉลี่ยประมาณ 25,000 งาน/ต่อปี) ภาษา Python (มีอัตราการจ้างงานเฉลี่ยประมาณ 17,500 งาน/ต่อปี) ภาษา C++ (มีอัตราการจ้างงานเฉลี่ยประมาณ 15,000 งาน/ต่อปี) ภาษา PHP (มีอัตราการจ้างงานเฉลี่ยประมาณ 10,000 งาน/ต่อปี) ภาษา iOS (มีอัตราการจ้างงานเฉลี่ยประมาณ 7,500 งาน/ต่อปี) ภาษา RUBY (มีอัตราการจ้างงานเฉลี่ยประมาณ 2,000 งาน/ต่อปี) เพื่อให้เข้าใจรายละเอียดได้ง่ายมากขึ้น ทางไทยแวร์จึงได้จัดทำ Infographic ฉบับที่ 31 "พูดจาภาษาโปรแกรมเมอร์" นี้ขึ้นมา ลองเข้ามาชมกันได้เลย http://newsletter.thaiware.com/images/infographic/2016/issue31.jpg

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ