เครือซิเมนต์ไทยแถลงผลการดำเนินงานไตรมาสแรกปี 44 ผลการดำเนินงานเครือซิเมนต์ไทยไตรมาสแรก ประจำปี 2544 ดีขึ้นเกินคาด

ข่าวทั่วไป Monday April 30, 2001 11:02 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 เม.ย.--เครือซีเมนต์ไทย
เนื่องจาก หลายกิจการ มียอดขายสูงขึ้น ส่งออกได้มากขึ้น การแข่งขันด้านราคาปูนซีเมนต์ มีความรุนแรง น้อยลงราคาปิโตรเคมี และกระดาษยังอยู่ในเกณฑ์ดี
นายชุมพล ณ ลำเลียง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า งบการเงินรวมก่อน สอบทานของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย และบริษัทย่อย ในไตรมาสแรก ประจำปี 2544 มีรายได้รวม 33,461 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีที่แล้ว จำนวน 30,748ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,713 ล้านบาท หรือร้อยละ 9 โดยยอดขายในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 และยอดขายต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ซึ่งยอดขายโดยรวมสูงขึ้น ในเกือบทุกกิจการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจปิโตรเคมี กระดาษ และวัสดุก่อสร้าง
เครือฯ มีกำไรจากการดำเนินงาน ก่อนรายการพิเศษในงวดนี้ 2,197 ล้านบาท ลดลง จากงวดก่อน 656 ล้านบาท เนื่องจากในงวดก่อนมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงกว่างวดนี้ 618 ล้านบาท หากไม่รวมกำไร จากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว กำไรจากการดำเนินงาน ของทั้งสองงวดจะใกล้เคียงกัน
เครือฯ มีกำไรสุทธิรวม 2,878 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 633 ล้านบาท หรือร้อยละ 28 จากงวดเดียวกัน ของปีก่อน เนื่องจากมีกำไร ในการขายหุ้นจาก การปรับโครงสร้างธุรกิจ
เครือฯ ได้ดำเนินการลดหนี้ต่างประเทศลงอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเปลี่ยน หนี้ต่างประเทศ เป็นหุ้นกู้ ในประเทศ และเพิ่มสัดส่วน การกู้ยืมเงินจากธนาคารในประเทศ รวมถึงการประกันความเสี่ยง หนี้ต่างประเทศ ไว้เกือบทั้งหมดแล้ว ดังนั้น การที่ค่าเงินบาทลดลงในช่วงที่ผ่านมา จึงไม่มี ผลกระทบต่อ ตัวเลขกำไรขาดทุน ของบริษัทฯ โดย ณ สิ้นไตรมาสแรก หนี้ต่างประเทศลดลง เหลือน้อยกว่าร้อยละ 2 ของหนี้ทั้งหมด เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2543 ซึ่งมีหนี้ต่างประเทศ ร้อยละ 16
ผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดใหญ่ได้แก่ ธุรกิจปูนซีเมนต์ กระดาษ และปิโตรเคมี ส่วนใหญ่มี ผลการดำเนินงาน อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ กล่าวคือ
ธุรกิจปูนซีเมนต์ มียอดขาย 6,128 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไร ก่อนหักภาษีเงินได้ ดอกเบี้ยจ่าย และค่าใช้จ่ายทางการเงิน ค่าเสื่อมราคา และรายจ่ายตัดบัญชี (EBITDA) ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อน แต่สูงกว่าไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพการ แข่งขันรุนแรงน้อยลง โดยผู้ผลิตส่วนใหญ่ หันมาปรับปรุงคุณภาพสินค้า และบริการมากขึ้น ขณะที่ความต้องการ ของตลาดในช่วงไตรมาสแรกปี 2544 ค่อนข้างใกล้เคียงกับ ไตรมาสแรกของปี 2543 ธุรกิจปิโตรเคมี มียอดขาย 10,469 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย EBITDA เพิ่มขึ้น ร้อยละ 19 กิจการปิโตรเคมีสามารถส่งออกได้มากขึ้น และราคา ยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจาก ผู้ผลิตเอททีลีนหลายราย ในอเมริกาได้ลดปริมาณการผลิตลง เพราะ มีต้นทุนวัตถุดิบ ก๊าซสูงขึ้นมาก จึงมีการนำเข้าสูงขึ้นในช่วงดังกล่าว ธุรกิจกระดาษ แม้ว่าสถานการณ์ราคาเยื่อกระดาษ ในตลาดโลก จะปรับลดลงจากปีก่อน แต่ผลการดำเนินงาน ของกิจการกระดาษในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2544 มียอดขาย 6,787 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกัน ของปีที่ผ่านมา และมี EBITDA เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7 ทั้งนี้ เนื่องจากราคากระดาษ ยังไม่ได้ปรับตัวลดลงมากนัก นอกจากนั้นกิจการ ได้มุ่งเน้น การปรับปรุงประสิทธิภาพ การผลิต และพัฒนาไปผลิตสินค้า ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น--จบ--
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ