นิด้าโพล : “สุข – ทุกข์ ของผู้สูงอายุไทย ปี 2559”

ข่าวทั่วไป Tuesday April 12, 2016 22:58 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 เม.ย.--นิด้าโพล เนื่องในวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี ตรงกับวันผู้สูงอายุ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" ร่วมกับ "ศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "สุข – ทุกข์ ของผู้สูงอายุไทย ปี 2559" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23 – 28 มีนาคม 2559 กรณีศึกษาจากผู้สูงอายุไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุไทยมีความสุข และมีความทุกข์ และพรที่ต้องการ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภาค สุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่า ความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความสุขของผู้สูงอายุไทยในด้านต่าง ๆ พบว่า ด้านที่ผู้สูงอายุไทยมีความสุขมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ในด้านที่ผู้สูงอายุมีความสุขมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก อันดับแรกคือ การมีจิตใจเบิกบาน สดชื่นแจ่มใส มองโลกในแง่ดี มีค่าเฉลี่ย 4.08 รองลงมา คือ การได้ปฏิบัติกิจกรรมตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ มีค่าเฉลี่ย 3.79 การมีลูกหลานอยู่ด้วยกัน ได้พูดคุยดูแลกันและกัน ได้อยู่กับครอบครัว มีค่าเฉลี่ย 3.64 การมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่ต้องไปหาหมอ มีค่าเฉลี่ย 3.58 การได้พบปะสังสรรค์ ทำกิจกรรมกับเพื่อนฝูง มีค่าเฉลี่ย 3.53 การไม่มีภาระด้านหนี้สินที่ต้องจ่ายให้ใคร/สถาบันการเงินใด มีค่าเฉลี่ย 3.50 และการสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม/ช่วยเหลือผู้อื่น/เห็นตัวเองมีคุณค่า มีค่าเฉลี่ย 3.50 ส่วนด้านที่ผู้สูงอายุมีความสุขในระดับปานกลาง ได้แก่ การมีงานทำ มีรายได้เลี้ยงตัวเอง มีค่าเฉลี่ย 3.17 และการมีเงินใช้/มีเงินเก็บ/เงินออม มีค่าเฉลี่ย 2.98 สำหรับความทุกข์ของผู้สูงอายุไทยในด้านต่าง ๆ พบว่า ด้านที่ผู้สูงอายุไทยมีความทุกข์มากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมาก ไปหาน้อย ในด้านที่ผู้สูงอายุมีความทุกข์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย อันดับแรกคือ การไม่มีเงินใช้/ไม่มีเงินออม/มีแต่ไม่พอใช้ มีค่าเฉลี่ย 2.14 รองลงมาคือ อยากทำงาน แต่ไม่มีงานทำ ทำให้ขาดรายได้มาเลี้ยงตนเอง มีค่าเฉลี่ย 1.99 การมีภาระหนี้สินที่ต้องจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ มีค่าเฉลี่ย 1.84 การไม่มีเพื่อนฝูง มีค่าเฉลี่ย 1.72 สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง/มีโรคประจำตัว/ต้องไปหาหมอ มีค่าเฉลี่ย 1.72 และการไม่มีลูกหลาน อยู่คนเดียว/มีลูกหลานแต่ลูกหลานไม่ให้ความสนใจ/ใส่ใจดูแล มีค่าเฉลี่ย 1.67 ส่วนด้านที่ผู้สูงอายุมีความทุกข์ในระดับน้อยที่สุด คือ ด้านจิตใจไม่เบิกบาน ไม่สดชื่นแจ่มใส หม่นหมอง ไม่มีคุณค่า มีค่าเฉลี่ย 1.42 ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงพรที่ผู้สูงอายุไทยต้องการ พบว่า ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.14 ระบุว่า ขอให้ตนเองมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง อายุยืน ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บใด ๆ หรือหายขาดจากการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ อยู่กับลูกหลานไปนาน ๆ สามารถพึ่งพาตนเองได้ รองลงมา ร้อยละ 18.01 ระบุว่า ขอให้ตนเอง ครอบครัว และคนไทยมีความสุข ความเจริญ สังคมสงบสุข คนไทยรักกัน ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า ร้อยละ 14.30 ระบุว่า ขอให้ไม่มีหนี้สิน ร่ำรวยเงินทอง มีเงินใช้ไม่ขาดมือ เบี้ยยังชีพสูงขึ้น และเศรษฐกิจดีขึ้น ร้อยละ 1.86 ระบุว่า มีโชคลาภ สมหวังทุกประการ ประสบความสำเร็จในชีวิต ร้อยละ 1.64 ระบุว่า กิจการค้าขายรุ่งเรือง มีความเจริญก้าวหน้า มีงานทำ ที่ดี ร้อยละ 1.20 ระบุว่า ขอให้ลูกหลานเป็นคนดี ประสบความสำเร็จในชีวิต เลี้ยงง่าย เป็นที่พึ่งพาของครอบครัว ร้อยละ 0.76 ระบุว่า ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ปราศจาก/แคล้วคลาดจากภยันตราย และพบเจอแต่สิ่งที่ดี ๆ และร้อยละ 0.55 ระบุว่า ขอให้มีเพื่อนเยอะ ๆ และมีคนคอยดูแลในชีวิต เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.80 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.52 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.80 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.72 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 52.88 พักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล ร้อยละ 45.52 พักอาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุ ตัวอย่าง ร้อยละ 51.84 เป็นเพศชาย ร้อยละ 48.08 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 66.15 ปี (S.D. = 5.51 ปี อายุต่ำสุด 60 ปี และสูงสุด 90 ปี) โดยร้อยละ 55.92 มีอายุ 60 – 65 ปี ร้อยละ 24.40 มีอายุ 66 – 70 ปี ร้อยละ 12.32 มีอายุ 71 – 75 ปี และร้อยละ 7.36 มีอายุ 75 ปี ขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 82.96 พักอาศัยอยู่บ้านเดี่ยว ร้อยละ 7.20 พักอาศัยอยู่ทาวน์เฮาส์ ร้อยละ 0.48 พักอาศัยอยู่ห้องคอนโด ร้อยละ 0.88 พักอาศัยอยู่ห้องอพาทเมนท์/แฟลต ร้อยละ 5.76 พักอาศัยอยู่ห้องแถว ร้อยละ 0.72 ระบุ อื่น ๆ ได้แก่ บ้านพักข้าราชการ วัด บ้านเช่า หอพักในที่ทำงาน กระท่อม และร้อยละ 2.00 ไม่ระบุประเภทที่อยู่อาศัย ตัวอย่าง ร้อยละ 68.64 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ร้อยละ 8.00 เป็นเจ้าของร่วม ร้อยละ 6.64 เป็นผู้เช่า ร้อยละ 14.56 เป็นผู้อยู่อาศัย และร้อยละ 2.16 ไม่ระบุกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ตัวอย่าง ร้อยละ 62.63 พักอาศัยอยู่กับคู่สมรส ร้อยละ 63.61 พักอาศัยอยู่กับลูกหลาน ร้อยละ 10.64 พักอาศัยอยู่กับลูกเขย/ลูกสะใภ้ ร้อยละ 2.03 พักอาศัยอยู่กับบิดา/มารดา ร้อยละ 4.31 พักอาศัยอยู่กับญาติ พี่ น้อง ร้อยละ 9.02 พักอาศัยอยู่คนเดียว ร้อยละ 0.49 พักอาศัยอยู่กับคนอื่น ๆ ได้แก่ เด็กที่ตนเองดูแลอยู่ นายจ้าง เพื่อน พี่เลี้ยง
แท็ก นิด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ