ลาวเจรจาสร้างรถไฟฟ้ากับจีนได้ดีกว่าไทย?

ข่าวอสังหา Wednesday January 6, 2016 12:23 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 เม.ย.--เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จากกรณีการเจราจาสร้างรถไฟฟ้าของลาวกับจีน ดูไม่เสียเปรียบเท่ากรณีประเทศไทย รัฐบาลไทยจึงควรพิจารณาให้ถ้วนถี่ แม้แต่กรณีอินโดนีเซียก็ยังเจรจาได้ดีกว่าไทย ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) สรุปว่า เงินลงทุนสร้างรถไฟความเร็วปานกลาง คือ 38,700 ล้านหยวน (6,040 ล้านเหรียญสหรัฐ 217,440 ล้านบาท สำหรับระยะทางประมาณ 427 กิโลเมตร รัฐบาลจีนออกเงิน 70% ของเงินลงทุน ส่วนลาวออกส่วนที่เหลือ และทั้งสองฝ่ายจะนำเงินมาประเดิมที่ 40% ของเงินลงทุนของแต่ละฝ่าย ในเบื้องต้นรัฐบาลลาวจะได้เงินกู้จากจีน 480 ล้านเหรียญสหรัฐ (17,280 ล้านบาท) เพื่อจ่ายเงินลงทุนในส่วนของลาว แสดงว่าลาวไม่ได้ออกเงินเองเลย สำหรับเขตทางรถไฟจะมีความกว้าง 50 เมตร ส่วนสถานีที่กลางกรุงเวียงจันทน์ จะมีขนาด 937.5 ไร่ และสถานีเล็กสุดมีขนาด 250 ไร่ (11 สถานี) รถไฟความเร็วสูงนี้ ใช้ขน "ผัก" หรือสินค้าเกษตรและอื่น ๆ เช่นที่เคยมีการถกเถียงในประเทศไทยเช่นกัน โดยเชื่อว่าจะทำให้ค่าขนส่งถูกลงเหลือเพียงหนึ่งในสี่จากค่าใช้จ่ายในปัจจุบันและใช้ความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสำหรับขบวนที่ขนผู้โดยสาร หากวิ่งที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็จะใช้เวลาจากชายแดนจีนถึงกรุงเวียงจันทน์ได้ในเลา 3 ชั่วโมง จาก 24 ชั่วโมงโดยทางรถในปัจจุบัน แต่วางแผนว่าจะใช้ความเร็วที่ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในทางเรียบ สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในตอนแรกจีนยื่นข้อเสนอที่ 3% ต่อปี อย่างไรก็ตามรัฐบาลลาวได้ต่อรองอัตราดอกเบี้ยลง แต่ไม่ได้เปิดเผย (สงสัยกลัวไทยจะรู้) อย่างไรก็ตามลาวมีความมั่นใจว่าจะสามารถใช้คืนหนี้ได้เพราะจะได้จีนจากการให้สัมปทานเหมืองแร่โปแตส 5 แห่ง โดยเชื่อว่าจะสามารถใช้หนี้คืนได้ภายใน 5 ปี ไม่ใช่ 30 ปีตามสัญญาเดิม ทั้งนี้ลาวคาดหวังว่าโครงการนี้จะทำให้เศรษฐกิจลาวเติบโตขึ้น 32% และจะมีผู้ใช้บริการ 4 ล้านคนในระยะเริ่มต้น และเติบโตเป็น 6.1 ล้านคนในช่วงกลาง และในระยะยาวจะมีผู้ใช้ถึง 8.1 ล้านคน ยิ่งกว่านั้นยังจะมีผู้ใช้บริการจากส่วนอื่นอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับไทย 1. โครงการของลาวใช้เงินต้นทุนกิโลเมตรละ 509 ล้านบาท ในขณะที่ไทยจะใช้เงิน 627 ล้านบาท ทั้งที่ลาวต้องผ่านป่าเขามากมาย ในกรณีอินโดนีเซียก็ใช้เงินน้อยกว่าคือ จากจาการ์ตาไปไปสุราบายา เป็นเงินเพียง 568 ล้านบาท (http://bit.ly/1JqLtlv) 2. เงินกู้ต่าง ๆ นั้น รัฐบาลลาวแทบไม่ได้ใช้เงินสดหรือเงินลงทุนในส่วนของตนเองเลย แต่ไทยต้องใช้เงินเป็นอันมาก จึงถือว่ามีความเสี่ยงสูง ตามข่าวที่ผ่ามา ในวันทำพิธีเริ่มต้นโครงการรถไฟไทย-จีน ที่สถานีรถไฟเชียงรากน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมา ระบุว่าใช้งบประมาณ 530,000 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้างประมาณ 400,000 ล้านบาท โดยจีนเสนอค่าแรงขั้นต่ำ 160 หยวนต่อวัน หรือคิดเป็นเงินไทย 800 บาทต่อวัน และเสนอให้ไทยสั่งนำเข้าวัสดุก่อสร้างจากจีนที่ราคาแพง ซึ่งสูงกว่าที่ไทยประเมินไว้ 400,000 ล้านบาท (http://bit.ly/1JqLtlv) ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงควรที่จะไตร่ตรองให้จงหนักก่อนลงนามในสัญญารถไฟกับจีน แหล่งข้อมูล: Railway could be built sooner than planned: Official ณ 3 มกราคม 2559http://www.vientianetimes.org.la/FreeContent/FreeConten_Railway.htm Laos And China Come to Terms on Loan Interest Rate For Railway Project ณ 5 มกราคม 2559 http://www.rfa.org/english/news/laos/laos-china-come-to-terms-on-loan-interest-rate-for-railway-project-01042016163552.html อ้างอิง: AREA แถลง ฉบับที่ 5/2559: วันพุธที่ 06 มกราคม 2559 ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ