เมียนมา: บทเรียนและแบบอย่างการปิดประเทศ

ข่าวอสังหา Thursday October 29, 2015 14:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 เม.ย.--เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2558 นายกฯ ประยุทธ์ ได้ปรารภว่าถ้าไม่มีความปรองดอง จะปิดประเทศ ปิดประเทศแล้วดีหรือไม่อย่างไร ลองดูเมียนมาเป็นตัวอย่าง ถ้าเปรียบเทียบไทยกับเมียนมาในวันนี้ จะพบว่าไทยมีขนาดประเทศเล็กกว่าคือ 510,890 ตารางกิโลเมตร เมียนมาใหญ่กว่า 28% แต่เมียนมามีประชากรเพียง 82% ของประชากรไทยที่ 67.7 ล้านคน ทำให้ไทยมีความหนาแน่นของประชากรสูงกว่าคือ 133 คนต่อตารางกิโลเมตร ในขณะที่เมียนมามีเพียง 85 คน ในอนาคตประชากรเมียนมาอาจไล่ทันไทยเพราะไทยมีการขยายตัวของประชากรเพียง 0.4% ในขณะที่เมียนมาเป็น 1% ในขณะนี้ไทยมีประชากรเมืองอยู่ 49% ในขณะที่เมียนมามีเพียง 34% เพราะคนส่วนใหญ่ยังอยู่ชนบท ในแง่เศรษฐกิจ รายได้ประชาชาติของไทยเป็นเงิน 987.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเป็น 4 เท่าของเมียนมา แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยใหญ่กว่า เมียนมาที่เคยรุ่งเรืองพอๆ กับไทย ก็ตกต่ำ แต่พอทหารเริ่มคลายอำนาจ ก็กลับมาเจริญใหม่ รายได้ประชาชาติของไทยมาจากภาคเกษตกรรมเพียง 12% ในขณะที่ของเมียนมาสูงถึง 375 ไทยพ้นจากประเทศเกษตรกรรมแล้ว แต่เมียนมายังอยู่ในกลุ่มประเทศเกษตรกรรม อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจเมียนมาเติบโตอย่างก้าวกระโดดโดยในปี 2557 ล่าสุดเติบโตถึง 8.5% ในขณะที่ไทยเป็นเพียง 0.7% และโดยรวมแล้วไทยมีประขากรที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยามจน 13% แต่คนเมียนมาหนึ่งในสามยังยากจนอยู่ สำหรับตัวเลขรายได้และค่าใช้จ่ายนั้น ในนครย่างกุ้งทุกวันนี้ ประชาชนมีค่าแรงขั้นต่ำชั่วโมงละ 12 บาท วันหนึ่งก็คงราว 100 บาท แต่หากจบปริญญาตรีก็ได้เงินเดือนราว 5,700 บาท หากรับราชการยังมีเงินพิเศษอีกจำนวนหนึ่งรวม 8,600 บาท หากเช่าอะพาร์ตเมนต์ขนาด 1 ห้องนอน จะมีค่าใช้จ่ายเป็นเงินเดือนละ 16,000 บาท แต่ห้องชุดมีราคาตารางเมตรละ 87,000 บาท ในขณะนี้ดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่อัตรา 12% ส่วนเงินฝากอยู่ที่ 8% อย่างไรก็ตามในราวปีกึ่งพุทธกาลหรือเมื่อเกือบ 60 ปีก่อน เมียนมาและนครย่างกุ้งคงมีความเจริญทัดเทียมกับไทยหรืออาจเจริญกว่าด้วยซ้ำไป อดีตเลขาธิการสหประชาชาติก็เป็นคนเมียนมา ความเจริญ การใช้ภาษาอังกฤษก็คงจะมีมากกว่าในไทย แต่ในภายหลังเมียนมากลายเป็นประเทศปิด ถึงขนาดเลิกเน้นการเรียนภาษาอังกฤษ เปลี่ยนมาขับรถด้านขวามือแทนซ้ายมือแบบอังกฤษ เป็นต้น มีนักพัฒนาที่ดินข้ามชาติชาวจีนสัญชาติเมียนมารายหนึ่งเล่าให้ผมฟังว่า เมื่อห้าสิบกว่าปีก่อนในสมัยคุณพ่อของท่าน ตัดสินใจอยู่นานว่าจะลงทุนในไทยหรือเมียนมาดี แต่สุดท้ายก็เลือกเมียนมา เพราะในสมัยนั้นดูดีกว่า แต่ในภายหลังเมียนมากลายเป็นประเทศปิด เขาจึงหันมาลงทุนในไทย นี่เท่ากับการตัดสินใจผิดพลาดเพราะการเมืองแท้ๆ จึงทำให้การณ์กลับตาลปัตรไปหมด ประเทศต่าง ๆ ก็แทรกแซง กีดกันทางการค้าต่าง ๆ นานา อย่างไรก็ตามในภายหลังที่เมียนมาเปิดประเทศ ให้มีการเลือกตั้งที่เสรีมากขึ้น นักลงทุนต่างก็วิ่งเข้าไปลงทุน มิตรประเทศก็เพิ่มพูน การท่องเที่ยวก็ยิ่งมีมากขึ้นตามลำดับ ประชาชนก็เริ่มกินดีอยู่ดีมากขึ้น ดังนั้นการปิดประเทศอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของชาติได้ ส่วนในการสร้างความปรองดองนั้น เป็นสิ่งที่ควรให้กำลังใจรัฐบาลให้ดำเนินการให้สำเร็จ โดยยึดหลัก "ยุติธรรมมี สามัคคีเกิด" นั่นเอง อ้างอิง: AREA แถลง ฉบับที่ 326/2558: วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม 2558 ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน
แท็ก ปรองดอง  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ