สสวท.ใช้หุ่นยนต์สร้างบรรยากาศการเรียนวิทยาศาสตร์กระตุ้นทักษะฟิสิกส์-ไอที-คณิตศาสตร์ในตัวเด็ก

ข่าวเทคโนโลยี Monday November 12, 2001 11:33 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 พ.ย.--สสวท.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดมิติใหม่ให้แก่การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยโครงการแข่งขันหุ่นยนต์นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เนื่องในโอกาสวันสถาปนา สสวท. ครบรอบ 30 ปี เป็นการนำร่องใช้หุ่นยนต์มาช่วยในการเสริมสร้างบรรยากาศวิชาวิทยาศาสตร์ พร้อมกับกระตุ้นทักษะด้านฟิสิกส์ ไอที และคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียน
นายพิศาล สร้อยธุหร่ำ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) แจ้งว่า สสวท. ได้จัดทำโครงการแข่งขันหุ่นยนต์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเนื่องในโอกาสวันสถาปนา สสวท. ครบรอบ 30 ปี เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์ สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศในยุคที่ต้องแข่งขันกับนานาประเทศท่ามกลางกระแสโลกยุควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทั้งนี้ รศ.ยืน ภู่วรรณ ที่ปรึกษาโครงการได้เปิดเผยว่า เป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นคืออยากให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสิ่งใหม่ๆ และประยุกต์เอาความรู้ของตัวเองไปสั่งให้หุ่นยนต์ทำตามความต้องการ ให้นักเรียนได้มองกลไกลต่างๆ อย่างเป็นระบบมากขึ้น ได้มีการเรียนรู้และแก้ปัญหาจากประสบการณ์จริง และสร้างบรรยากาศของเรียนรู้ที่สนุกสนาน เพราะนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเองจะเกิดความสนุกสนานท้าทาย ดูว่าหุ่นยนต์ของใครจะฉลาดว่ากัน เมื่อพบสิ่งกีดขวางจะถอยห่างจากสิ่งกีดขวางได้อย่างไร เป็นการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากขึ้น
"จึงเห็นว่าการเรียนไอทีหรือคอมพิวเตอร์สามารถแสดงความคิดอย่างเป็นรูปธรรมออกมาได้อยากแต่โครงการนี้เป็นการนำความรู้ด้านฟิสิกส์และไอทีของนักเรียนมาแสดงออกให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ผลพลอยได้ที่เกิดจากโครงการนี้มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ เช่น เรขาคณิต ตรีโกณมิติ หรือด้านฟิสิกส์ เพราะต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยวัดทางฟิสิกส์ทุกหน่วย ทั้งแสง สี ไฟฟ้า ระยะทาง ความเร็ว การเร่ง การหมุน อยากจะให้เห็นว่าโครงการนี้สามารถนำนักเรียนสู่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ เคมี และคณิตศาสตร์ได้โดยใช้หุ่นยนต์เป็นตัวล่อ" รศ.ยืนกล่าว
สำหรับ 7 โครงการร่วม ได้แก่
- โครงการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยจากสารชาลบูทามอล สารบอแรกซ์ ยาสัตว์ตกค้าง
และจุลินทรีย์อาหารเป็นพิษในเนื้อหมู หน่วยงานที่เป็นผู้ประสานงานหลัก คือ กรมปศุสัตว์
- โครงการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างจากสารกำจัดศัตรูพืชในผัก
ผู้ประสานงานหลักคือ กรมวิชาการเกษตร
- โครงการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยจากยาสัตว์ตกค้างและจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
อาหารเป็นพิษในเนื้อไก่ ผู้ประสานงานหลักคือ กรมควบคุมโรคติดต่อ
- โครงการแก้ไขปัญหาสารตกค้างจากยาต้านจุลชีพและความเสี่ยงอื่นๆ ในกุ้งเลี้ยง
ผู้ประสานงานหลักคือ กรมประมง
- โครงการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยจากสารกลุ่ม 3-เอ็มซีพีดี (3-MCPD) ทีเกิดจาก
กระบวนการผลิตซอสปรุงรสจากถั่วเหลือง ผู้ประสานงานหลักคือ สำนักงานคณะ
กรรมการอาหารและยา
- โครงการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหารที่ปรุงและจำหน่ายในร้านอาหาร
ผู้ประสานงานหลักคือ กรมอนามัย
- โครงการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหารที่จำหน่ายในตลาดสด ผู้ประสานงานหลัก
คือ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์--จบ--
-นห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ