สาธารณสุขจัดทำคู่มือเวชปฏิบัติการดูแลรักษาพิษจากสารตะกั่ว

ข่าวทั่วไป Monday October 22, 2001 15:05 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ต.ค.--สธ.
นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ตะกั่วเป็นโลหะหนักที่ถูกใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมแต่มีพิษต่อร่างกายจึงจำเป็นต่อผู้ที่ทำงานสัมผัสกับโลหะ ต้องตระหนักถึงอันตราย ตะกั่วสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทางคือ ทางปาก ทางการกิน ทางการหายใจ กรณีที่ได้รับสารตะกั่วในปริมาณสูงจนร่างกายขับออกได้ไม่หมดจะเกิดการสะสมอยู่ในร่างกาย หากมีสารตะกั่วสูงเกินระดับหนึ่งจะเกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ เช่น ระบบสมองและประสาท ระบบเลือด และอื่น ๆ โดยตะกั่วจะไปขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กและการสร้างโปรตีนในเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นและแตกง่าย ร่างการซีด อ่อนเพลีย บางรายมีผลกระทบต่อทางเดินอาหารทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง กรณีที่มีผลกระทบต่อระบบสมองและประสาท ทำให้สมองและประสาทถูกทำลายจะเกิดอาการควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเน้อ ข้อมือ-ข้อเท้าตก การทรงตัวไม่ดี ชา อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด ในเด็กจะมีผลโดยตรงทำให้ระดับสติปัญญาต่ำลง ดังนั้น เพื่อป้องกันความสับสนในการทำเวชปฏิบัติ กรมการแพทย์ จึงได้เป็นแกนนำในการจัดทำคู่มือ “แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสสารตะกั่ว” ซึ่งเป็นแนวทางในการดูแลประชาชนอย่างครบวงจร ซึ่งกรมการแพทย์ส่งให้สถานบริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทั่วประเทศภายในเดือนตุลาคมนี้ พร้อมทั้งบรรจุในเว็บไซต์ของกรมการแพทย์และกระทรวงสาธารณสุข
สำหรับผู้สนใจติดต่อขอได้ที่สำนักงานประสานเครือข่ายแนวทางเวชปฏิบัติ กรมการแพทย์ โทรศัพท์หมายเลข 0-2590-6273 หรือ 0-259-6287 หรือที่ www.dms.moph.go.th-- จบ--
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ