“AECS” มองหุ้นไทยผันผวนให้กรอบดัชนี 1,435-1,460 จุด แนะลงทุนหุ้นซื้อขาย PBV ต่ำกว่า 2 เท่า-ลุ้นผลงานเทิร์นอะราวด์

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday July 12, 2016 10:07 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 ก.ค.--มีเดีย แพลนเนอร์ คอนซัลแทนท์ บล. เออีซี (AECS) มองหุ้นไทยผันผวนระยะสั้น ให้กรอบดัชนี 1,435-1,460 จุด จับตาต่างชาติเทน้ำหนักลงทุนตลาดหุ้นเอเชีย รวมตลาดหุ้นไทย เหตุรับผลกระทบจากเหตุการณ์ Brexit ต่ำกว่ากลุ่ม G8 บวกผลตอบแทนในตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับที่น่าสนใจ แนะลงทุนหุ้นที่มีการซื้อขายด้วย PBV ต่ำกว่า 2 เท่า ผลงานมีโอกาสเทิร์นอะราวด์ นายเกรียงไกร ทำนุทัศน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) หรือ AECS เปิดเผยว่า ทิศทางตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ อาจมีการแกว่งตัวระยะสั้น โดยให้กรอบดัชนี 1,435-1,460 จุด และอาจมีการผันผวนหลังจากดัชนีมีการทำจุดสูงสุดใหม่ของปี แต่บริษัทยังมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทย จากการปรับลดลงของ Country Risk Premium จาก 8.8% ลงมา 7% และในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา บริษัทพบว่าสำนักข่าวต่างประเทศ เริ่มออกบทความว่าตลาดเกิดใหม่ น่าสนใจลงทุน หลังจากเหตุการณ์ Brexit และ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) ในกลุ่มประเทศเอเชีย รวมถึงไทย แม้อยู่ในระดับไม่สูง แต่ได้รับผลกระทบที่ต่ำกว่ากลุ่มประเทศ G8 บวกกับอัตราผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับที่น่าสนใจหลังหุ้น Big Cap ปรับลงในปี 2558 พบสัญญาณกลับมาทุนในกลุ่มสื่อสาร ธนาคาร ที่เป็นเริ่มน่าสนใจลงทุน ด้วยมูลค่าที่ถูกลง ส่วนปัจจัยที่น่าสนใจ และมีผลต่อการลงทุนในช่วงไตรมาส 3/2559 เช่น โครงการของกลุ่มพลังงาน,ปิโตรเคมี และพลังงานทดแทน ได้แก่ IRPC, GUNKUL และ EA , การประมูลโครงการปรับสายไฟฟ้าลงดิน,รถไฟฟ้าและ โรงไฟฟ้าชีวะมวล ได้แก่ CK, ILINK, TPCH, ARROW, กลุ่มบริษัทที่มีแผน Listed บริษัทย่อย ได้แก่BANPU, TPIPL รวมถึงการฟื้นตัวของยอดขายในกลุ่มที่อยู่อาศัย จากการเร่งเปิดโครงการ และการรับรู้รายได้จากการลงทุนในปี 2560 ได้แก่ ANAN, AP, SPULI ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล. เออีซี กล่าวเพิ่มว่า หุ้นที่มีการซื้อขายด้วย PBV ต่ำกว่า 2 เท่า ผลงานมีโอกาสเทิร์นอะราวด์ จากการศึกษาข้อมูลของบริษัทพบว่า หุ้นที่ซื้อขายในระดับ PBV ต่ำ ยังปรับขึ้นน้อยกว่าตลาด เริ่มเป็นเป้าหมายเข้าลงทุน ในขณะที่หุ้นที่เคยซื้อขายใกล้เคียงกับ 1 เท่า ของ PBV และปรับขึ้นมาในอัตราเร่ง ได้แก่ THAI, MCOT, CKP, IVL เป็นกลุ่มหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (ขึ้นไปแล้ว) ทั้งนี้ประเมินว่ายังมีทั้งหุ้น Big Cap และ Small Cap ที่ซื้อขายในระดับ PBV ต่ำ, Laggard SET และเริ่มมีปัจจัยหนุนให้เกิดการฟื้นตัว หุ้น Big Cap อาทิ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เช่น KBANK, SCB, KKP กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เช่น ANAN, SIRI, SPALI กลุ่มขนส่งได้แก่ กลุ่มสายการบิน NOK, BA, AAV และกลุ่มเดินเรือ PSL, TTA ซึ่งค่าระวางเรือมีความสัมพันธ์กับราคาถ่านหิน ขณะที่กลุ่ม Small Cap ที่เริ่มถูกปรับเพิ่มคำแนะนำ ได้แก่ JMART, SINGER

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ